Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11787
Title: การวิเคราะห์คู่มือการใช้ห้องสมุดของห้องสมุดมหาวิทยาลัย
Other Titles: An analysis of library handbooks of university library
Authors: อำพร ธารารัตนสกุล
Advisors: จ้อย นันทิวัชรินทร์, ม.ล.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- คู่มือ
ห้องสมุด -- วิธีใช้
ห้องสมุด -- คู่มือ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจและศึกษาคู่มือการใช้ห้องสมุดฉบับที่ใช้ในปี พ.ศ. 2528 ของห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยของรัฐ ในด้านการจัดทำ ประเภท รูปแบบและวิธีการเผยแพร่ 2) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา รูปแบบของคู่มือการใช้ห้องสมุดฉบับดังกล่าวด้วย วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับคู่มือการใช้ห้องสมุดจากเอกสารสิ่ง พิมพ์และจากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง นำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 เพื่อสอบถามวิธีการจัดทำ การเผยแพร่และการแก้ไขปรับปรุงคู่มือการใช้ห้องสมุดตลอดจนปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่างๆ ตามที่กล่าวมา ผู้ตอบแบบสอบถามชุดนี้ได้แก่ บรรณารักษ์ห้องสมุดกลางมหาวิทยาลัยของรัฐซึ่งมีจำนวน 28 แห่ง แห่งละ 1 คนรวม 28 คน แบบสอบถามชุดที่ 2 ใช้เพื่อสอบถามถึงเนื้อหาและรูปแบบที่เหมาะสมของคู่มือการใช้ห้องสมุด กลางมหาวิทยาลัย ตามความคิดเห็นของบรรณารักษ์ผู้จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดของห้องสมุด กลางมหาวิทยาลัย ที่จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด ซึ่งมีจำนวน 22 แห่งๆ ละ 1 คน รวม 22 คน (บรรณารักษ์กลุ่มนี้นับเป็นส่วนหนึ่งของบรรณารักษ์ผู้ตอบแบบสอบถามชุดที่ 1) และตามความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาการใช้ห้องสมุดเบื้องต้น ของมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนวิชาการใช้ห้องสมุดเป็นวิชาเอกจำนวน 9 แห่งๆ ละ 1 คนรวม 9 คน ผู้ตอบแบบสอบถามชุดนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 31 คน ผู้วิจัยได้นำความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามชุดที่สองนี้ มาสรุปเป็นเกณฑ์วิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหาของคู่มือการใช้ห้องสมุด แบบสอบถามทั้ง 2 ชุดนี้ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 59 ฉบับ ผู้วิจัยได้รับกลับคืนมาทั้งสิ้น 59 ฉบับ คิดเป็น 100% การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ (จำนวน 22 แห่ง จาก 28 แห่ง) จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด 2. ห้องสมุดส่วนใหญ่ (54.54%) จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดเองทุกขั้นตอน และถ้าในกรณีที่จัดทำร่วมกับหน่วยงานอื่น ห้องสมุดดำเนินการจัดเตรียมเนื้อหาเองทุกแห่ง แผนกที่รับผิดชอบในการจัดทำส่วนใหญ่คือแผนกบริการ (52.17%) และมักมีผู้รับผิดชอบจัดทำเพียงคนเดียว (59.09%) 3. แผนกที่รับผิดชอบในการเผยแพร่คู่มือการใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่คือแผนกบริการ (60.86%) และห้องสมุดส่วนใหญ่มีวิธีการเผยแพร่คู่มือการใช้ห้องสมุดมากกว่า 1 วิธี วิธีที่ใช้มากที่สุดได้แก่การแจกให้ผู้ใช้ในโอกาสที่มีการแนะนำการใช้ห้อง สุด (36.86%) 4. ปัญหาที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ประสบในการจัดทำคือบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่มีงาน ในหน้าที่อื่นๆ ทำให้มีเวลาจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดได้น้อยจึงจัดทำได้ไม่ดี เท่าที่ควร และบุคลากรในห้องสมุดน้อย ทำให้จัดทำได้ล่าช้า (ห้องสมุดประสบคิดเป็น 20% เท่ากัน) สำหรับปัญหาในการเผยแพร่คู่มือการใช้ห้องสมุดที่ห้องสมุดส่วนใหญ่ประสบ (33.33%) คือคู่มือการใช้ห้องสมุดมักไม่เพียงพอต่อการเผยแพร่ เพราะงบประมาณจำกัดจึงจัดทำได้น้อยและห้องสมุดบางแห่ง เผยแพร่คู่มือการใช้ห้องสมุดด้วยการให้ผู้ใช้หยิบไปด้วยตนเอง ซึ่งผู้ใช้มักหยิบไปครั้งละจำนวนมากทำให้ไม่เพียงพอต่อการเผยแพร่ นอกจากนี้ในการปรับปรุงแก้ไขคู่มือการใช้ห้องสมุด ห้องสมุดส่วนใหญ่ (39.40%) ประสบปัญหาในด้านส่วนที่จะแก้ไขไม่มาก แต่ต้องปรับปรุงทั้งเล่มอีกทั้งข้อมูล ในคู่มือการใช้ห้องสมุดเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ต้องปรับปรุงบ่อยซึ่งทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย ปัญหาดังกล่าวนี้ห้องสมุดประสบคิดเป็น21.21% 5. สรุปรวมประเภทและรูปแบบที่ควรจะเป็นตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามดังนี้ คือ เป็นคู่มือฯ ชุด มีรูปแบบจุลสาร ไม่ควรกำหนดขนาด มีภาพประกอบ ซึ่งอาจเป็นภาพการ์ตูนหรือลายเส้น ตัวอักษรที่ใช้ควรเป็นตัวพิมพ์ขนาดตัวธรรมดา ลักษณะภาษาที่ใช้เขียนควรเป็นภาษาแบบแผน 6. สรุปรวมเนื้อหาที่ควรกล่าวในคู่มือการใช้ห้องสมุดตามความคิดเห็นของผู้ตอบ แบบสอบถามเป็นดังนี้คือ จุลสาร ควรมีเนื้อหาดังนี้คือประวัติย่อของห้องสมุด แผนผังห้องสมุด ระบบการจัดหมู่ที่ใช้ วัน, เวลา เปิด-ปิดบริการ ผู้มีสิทธิใช้ห้องสมุด-ยืมสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่น ๆ การทำบัตรสมาชิกพร้อมเงื่อนไข ระยะเวลาที่ให้ยืม จำนวนที่ให้ยืม หมายเลขโทรศัพท์ของแผนก (งาน) ที่สำคัญสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่นที่ใช้บริการ วิธีการยืม-คืน อัตราค่าปรับ บัตรรายการชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างบัตรรายการพร้อมคำอธิบาย บริการต่างๆ ของห้องสมุด ระเบียบปฏิบัติเมื่อทำสิ่งพิมพ์-วัสดุอื่นๆ ชำรุดหรือสูญหาย บัตรดัชนี ตัวอย่างบัตรดัชนี พร้อมคำอธิบาย ที่ตั้ง แผนภูมิการบ่งสายงาน การจองสิ่งพิมพ์-วัสดุอื่นๆ คำเชิญชวนให้ขอความช่วยเหลือ และคำแนะนำจากบุคลากรห้องสมุดในการใช้บริการ การสำรองสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่นๆ ข้อควรปฏิบัติเมื่อเข้าใช้ห้องสมุด คำแนะนำหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าของผู้ใช้ วิธีใช้หนังสืออ้างอิงและคู่มือค้นสิ่งพิมพ์-วัสดุอื่นๆ เล่มสำคัญ รายชื่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการพร้อมหมายเลขโทรศัพท์ การจัดเรียงและค้นหาสิ่งพิมพ์ในชั้น รวม 28 หัวข้อ แผ่นปลิวหรือแผนปลิวชุด เนื้อหาที่ควรกล่าวในคู่มือการใช้ห้องสมุดรูปเล่มแบบนี้มีทั้งหมด 20 หัวข้อ หัวข้อเหล่านี้จะเหมือนกับหัวข้อที่ควรกล่าวในคู่มือการใช้ห้องสมุด รูปเล่มแบบจุลสารยกเว้นหัวข้อประวัติย่อของห้องสมุด สิ่งพิมพ์และวัสดุอื่นๆ ที่ให้บริการ บริการต่างๆ ของห้องสมุดระเบียบปฏิบัติเมื่อทำสิ่งพิมพ์ชำรุดหรือสูญหาย แผนภูมิการแบ่งสายงาน ตัวอย่างบัตรดัชนีพร้อมคำอธิบาย และวิธีใช้หนังสืออ้างอิงและคู่มือค้นสิ่งพิมพ์เล่มสำคัญ ที่ไม่ควรกล่าวในคู่มือฯ รูปเล่มแบบแผ่นปลิวหรือแผ่นปลิวชุดนี้ แผ่นพับ เนื้อหาที่ควรกล่าวในคู่มือรูปเล่มแบบนี้มีทั้งหมด 19 หัวข้อ หัวข้อเหล่านี้ จะเหมือนกับหัวข้อที่ควรกล่าวในคู่มือการใช้ห้องสมุดรูปเล่มแบบจุลสาร ยกเว้นหัวข้อประวัติย่อของห้องสมุด ตัวอย่างบัตรรายการพ้อมคำอธิบาย บัตรดัชนีพร้อมตัวอย่างบัตรและคำอธิบายแผนภูมิการแบ่งสายงาน การสำรองสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่นๆคำแนะนำหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้ และวิธีใช้หนังสืออ้างอิงและคู่มือค้นสิ่งพิมพ์ เล่มสำคัญ แผ่นคั่นหนังสือ ควรกล่าว เนื้อหาหัวข้อหมายเลขโทรศัพท์ของแผนก (งาน) ที่สำคัญ วัน เวลา เปิด-ปิดบริการ บริการต่างๆ ของห้องสมุด คำเชิญชวนให้ขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากบุคลากรในการใช้บริการและระบบการ จัดหมู่ที่ใช้ 7. ผลการวิเคราะห์รูปแบบของคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้ง 22 ฉบับ พบว่าคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้งหมดเป็นคู่มือฯ เดี่ยว และจัดทำในรูปเล่ม 3 แบบคือจุลสาร (40.91%) แผ่นพับ (50%) และแผ่นปลิวชุด (9.09%) ภาพประกอบที่ใช้ส่วนมากเป็นภาพลายเส้น (40%) ตัวอักษรที่ใช้ในคู่มือฯ เกือบทุกฉบับ (95.40%) เป็นตัวพิมพ์ขนาดตัวธรรมดา และลักษณะภาษาที่ใช้เขียนคู่มือฯ ทุกฉบับเป็นภาษาแบบแผนและเมื่อสรุปรวมรูปแบบของคู่มือการใช้ห้องสมุดทุก ลักษณะแล้วจะพบว่าไม่มีคู่มือการใช้ห้องสมุดฉบับใดมีลักษณะครบตามเกณฑ์ คู่มือการใช้ห้องสมุดฉบับที่มีลักษณะรูปแบบครบตามเกณฑ์ฯ สูงสุดเพียง 4 รายการ (จากเกณฑ์วิเคราะห์ 5 รายการ) ทั้งนี้ลักษณะที่คู่มือการใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ไม่ครบตามเกณฑ์ฯ ได้แก่ รูป เล่ม และภาพประกอบ 8. ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่าคู่มือการใช้ห้องสมุดรูปเล่มแบบจุลสารฉบับที่มีหัวข้อเนื้อหามากสุดมี เพียง 22 หัวข้อ คู่มือการใช้ห้องสมุดรูปเล่มแบบแผ่นปลิวชุดฉบับที่มีหัวข้อสูงสุดมีเพียง 9 หัวข้อและคู่มือการใช้ห้องสมุดรูปเล่มแบบแผ่นพับฉบับที่หัวข้อสูงสุดมีเพียง 14 หัวข้อ จะเห็นได้ว่าไม่มีคู่มือการใช้ห้องสมุดฉบับใดมีเนื้อหาครบตามเกณฑ์ฯ ที่สร้างขึ้นเลย ข้อเสนอแนะ 1. ห้องสมุดที่ไม่จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดควรจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด 2. เนื้อหาที่กล่าวในคู่มือการใช้ห้องสมุดที่เปลี่ยนแปลงเสมอ ๆ ควรนำมาจัดเรียงไว้ ใกล้กันและจัดพิมพ์ไว้ในส่วนที่แก้ไขง่าย ซึ่งถ้ามีการแก้ไขเนื้อหาในส่วนนี้อาจแก้ไข เฉพาะส่วนดังกล่าว ส่วนอื่นๆ ยังคงใช้ได้อยู่ ทำให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดทำใหม่มาก 3. ควรปรับปรุงวิธีการเผยแพร่คู่มือการใช้ที่จัดวางคู่มือฯ ไว้ตามจุดต่างๆ ในห้องสมุดและให้ผู้ใช้หยิบไปใช้เองนั้นให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยนำคู่มือการใช้ห้องสมุดไปจัดวางไว้ในบริเวณที่ใกล้จุดที่มีบุคลากร ปฏิบัติงานอยู่ ทั้งนี้อาจทำให้ผู้ใช้ไม่กล้าหยิบไปครั้งละหลายฉบับ 4. เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ทราบว่าห้องสมุดได้จัดทำคู่มือการใช้ห้อง สมุด เพื่อเผยแพร่ให้ผู้ใช้ให้มากขึ้น และควรปรับปรุงคู่มือการใช้ห้องสมุดให้เร้าความสนใจมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้อาจช่วยแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้ไม่สนใจคู่มือการใช้ห้องสมุดได้
Other Abstract: The objectives of this research were as follows: 1. To survey and study the library handbooks used in university libraries during the year 2528 B.E. concerning the process of production, the types and the distribution practice of library handbooks. 2. To analyze the contents and format of such library handbooks. Research procedures: The researcher gathered basic information comcerning library handbooks from documents and through interviews with relating personnel. Two sets of questionnaires were prepared. The first one investigated production procedures, distribution practice and improvement of library handbooks including the problem stemmed from each working process. These questionnaires were sent to one librarian each of 28 state university libraries. The second one deemed for proper format and contents which should be included in the library handbooks. The latter was sent to 22 librarians whose institutions produced library handbooks. (Some librarians in this group also answered the first questionnaires.) In addition, the second set of questionnaires were also sent to the instructors teaching the use of library course in 9 state universities, one for each. Therefore, the number of second questionnaires sent out were 31 copies. The answer from the second questionnaires were summarized to use as criteria to analyze format and content. The total 59 questionnaires sent our were returned (100%). The data were analyzed by percentage. Research results : The results of the research could be concluded as follows : 1. The majority (22 out of 28 university libraties) produced their own library handbooks. 2. Most university libraries (54.54%) did the whole process alone from preparation through production. The rest worked with other organization, but they still prepared the whole content themselves. About half (52.17%) assigned the user service section to be responsible for the production and mainly (59.09%), it was a one librarian job. 3. Library handbooks were mostly distributed by the user service section (60.86%). The distribution were practiced in several ways. The mostly used one (36.84%) was as presentation on library visits and orientation program. 4. The major problems in producing library handbooks was that responsible staff member had full hands. Consequently, time was not sufficient to produce expected best prossible library handbooks. Furthermore, there was a small working group in each library causing the prolonged production time. Another problem was that these was not enough library handbooks to distribute because of budget limitation. Some libraries place their handbooks for users to pick up and several were taken by many users at any one time. Improvement of the handbooks caused another problem of the need of change information in a small part but the revision had to be done as a whole, wasting both money and time. It was more so when the changes frequently took place. 5. Answer from the second set of questionaires, asking for opinions on content and format, could be concluded that library handbooks should be produced in pamphlet form, and with cartoons and line drawings illustrations. No prefered standard size was indicated. Normal size letters were mostly approved and the written form should be formal. 6. Contents which should be included in library handbooks were as follows: Pamphlet form should include a brief history of library, floor plan, classification system, library hours, elegibility of members in using and borrowing, membership applications, borrowing policy concerning period of time and number of materials in each loan, telephone number of significant sections, resources, charging and returning procedures, fine rates, various types of catalog cards with examples and explanation library services, regulations concerning lost materials or damaged materials, index cards with samples and explanation, location, organization chart, books and materials reserve process, invitatition to ask for staff help and advice, reserving procedures, regulations regarding the use of library, referral suggestion to more useful sources, list and reviews of improtant reference materials, list of service staff with telephone numbers, shelving and material searching. There are altogether 28 topics. Leaflet or sheet form should include 20 topics which were the same ones indicated above leaving out topics on brief history of library, resources, library services, regulations concerning lost materials or damaged materials, organization chart, samples of index cards with explanation and list and reviews of important reference materials. Folder form should encompass 19 topics excluding topics on brief history of library, examples of catalog cards with explanation, index cards with samples and explanations, reserving procedures, referral suggestion to more useful sources, list and reviews of important reference materials. Book mark form should include telephone numbers of significant sections, library hours, library services, invitation to ask for staff help, and classification system. 7. From analysis on the types of library handbooks, it was found that all were single handbooks and quite a quantity were produced in pamphlet form (40.91%), half in folder form (50%) and very few in sheet form (9.09%). The major type of illustrations was line drawings (40%). Almost all (95.40%) used normal sizeletter print. All library handbooks were written in formal language. Of all 22 handbooks used for analysis, it was found that none covered the whole indicated criteria on contents and format present in no. 5. According to the research, the best library handbook included four items out of five. The missing point of some library handbooks fall on types, forms, and illustration. 8. From analysis on the contents of library handbooks, it was found that the library handbook in pamphlet form included the maximum of 22 topics. The library handbook in sheet form included 9 topics in maximum. The library handbooks in folder form included 14 topics at the most. It was obvious that these actually produced handbooks were still lacking in many topics on content coverage. Recommendations : 1. Libraries which have never produced their own library handbooks should begin the production. 2. The contents which keep changing should be put together in order to be easily pulled out to improve only that part. 3. The distributing practice of allowing users to pick up library handbooks by themselves should change by relocating the place to be near the watchful eyes of library staff in order that the users will not dare to take many handbooks each time. 4. More public relations are needed to inform users of the production and distribution of library handbooks. Improve the production to arouse interest and draw more users who previously do not care for library handbooks.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11787
ISBN: 9745672564
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amporn.pdf14.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.