Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11892
Title: การพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานในพื้นที่เขตสาธร
Other Titles: The network development for bicyclization in Sathorn District
Authors: อัจฉรา ตันติวิทยาพิทักษ์
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kiat.C@Chula.ac.th
Subjects: จักรยาน
ช่องเดินรถจักรยาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การเดินทาง
สาธร (กรุงเทพฯ)
โครงข่ายทางจักรยานในพื้นที่สาธร
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาการเดินทางด้วยจักรยานเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการจราจรขนส่งในการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นรูปแบบหนึ่งของการเดินทางแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่เนื่องจากเป็นการเดินทางที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ความน่าอยู่ และความมีชีวิตของเมือง นอกจากนี้ยังเป็นทางเลือกในการเดินทางในเมืองให้กับผู้ที่รักจะเดินทางด้วยจักรยานและประชาชนผู้มีรายได้น้อย เขตสาธรเป็นย่านพักอาศัยใจกลางเมืองด้านใต้ที่มีการตั้งถิ่นฐานมาช้านาน ปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ติดกับย่านศูนย์พาณิชยกรรมของเมือง (Central Business District หรือ CBD) มีโครงข่ายหลักที่สามารถเชื่อมต่อกับส่วนต่างๆของเมืองได้สะดวก แต่ภายในพื้นที่ยังมีโครงข่ายการจราจรที่จะต้องพัฒนาอีกมาก มีการใช้ที่ดินแบบผสมของกิจกรรมขนาดเล็กที่มีลักษณะพลวัตร จากการศึกษาพบว่าการพัฒนาการเดินทางด้วยจักรยานในเขตสาธร เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาการเดินทางของผู้พักอาศัยในพื้นที่ และเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาเขตสาธรให้เป็นย่านพักอาศัยใจกลางเมืองที่น่าอยู่ การอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนในพื้นที่จะอยู่ที่การแก้ปัญหาการเดินทางภายในพื้นที่ (Local Transportation) ด้วยจักรยานให้กับกลุ่มนักเรียน ผู้มีรายได้น้อย และแม่บ้าน ซึ่งในปัจจุบันมีสัดส่วนของการเดินทางระยะใกล้ที่มีการใช้บริการขนส่งสาธารณะและการเดินเท้าในสัดส่วนที่สูง ส่วนการใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะ (Bike and Ride) และการใช้จักรยานในการเดินทางระยะใกล้ของกลุ่มอาชีพที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง คาดว่าจะมีบทบาทมากขึ้นตามมาในอนาคต ความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายทางจักรยาน เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาการเดินทางด้วยจักรยาน เมื่อศึกษาสภาพทางกายภาพอย่างละเอียดของพื้นที่และโครงข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบัน พบว่า มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาโครงข่ายทางจักรยานที่ปลอดภัยระดับหนึ่ง พร้อมกับที่จอดรถที่มีความเป็นไปได้ และการกระจายอย่างเหมาะสม โดยโครงข่ายดังกล่าวมีความสอดคล้องกับลักษณะการเดินทางในพื้นที่เขตสาธรของผู้พักอาศัย โดยจะมีผลกระทบต่อการเดินทางรูปแบบอื่นบ้าง ซึ่งน่าจะปรับตัวเข้ากันได้ในที่สุด โครงข่ายที่เสนอแนะที่จะนำมาพัฒนาเป็นทางจักรยาน ได้แก่ โครงข่ายคู-คลอง ทางเท้าริมถนน และถนนซอยบางเส้นทางที่สามารถปรับปรุงด้านกายภาพ เช่น การจัดระบบเดินรถทางเดียว การใช้พื้นที่ผิวจราจรให้เต็มประสิทธิภาพของถนนซอยที่ใช้จอดรถอย่างไม่เป็นระเบียบและการใช้ประโยชน์ของซอยตันที่เชื่อมกับตรอกแคบๆที่คนใช้เดินได้เท่านั้น เป็นต้น
Other Abstract: The development to bicycle transportation is a part of transportation planning to achieve a sustainable development. It is not only a particular mode of tranportation, but also one of the urban development strategies to create a livable community since it contributes to the good and lively environment of the city. It is also an urban transportation alternative for the one who prefers to travel by bicycle and especially for a low-income group. Sathorn District located in the southern CBD of Bangkok, having been settled as a nice residential for a long time, has now many problems of traffic and environment. Because of the advantages of location, there are main transportation network connecting this district to the CBD and other major areas of Bangkok. However, its internal transportation network still requires more improvement. Apart from residential significant, it has also a mixed land use with a large number of dynamic small scale activities. The study, therefore, indicates that the transportation development of bicycle in Sathorn District could be one of the solutions to the traffic and environmental problems, including development strategy to redevelop Sathorn District to become a lively residential city area as well. To facilitate the travel of its residents, the local transportation should be considerate. Bicycle should be promoted among students, housewives and low-income group whose short trips mainly rely on public transportation and walking. On the other hand, the bike and ride-the integration of bicycle into the mass transit, and the bicycle use for a short trip by a medium to high income group could play a more important role in the future. The possibility to develop bike lane network is an essential element to promote bicycling. The study of the area's physical characteristics and existing transportation network in detail shows that there is a potential to develop a bicycle network at a certain safety level which is in accordance with the trip characteristics of the area. Also, bicycle parking facilities and locations could be suitably distributed. The bicycle use might have certain effects on other modes, but they should have priority second from pedestrian. The developed bicycle network consists of bikeways along canals, on walkways, and Sois. There should also be physical and traffic regulation improvements such as a one-way traffic, improvement of parking areas on the road surface and narrow pedestrian network.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11892
ISBN: 9746374643
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Autchara_Ta_front.pdf806.32 kBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_ch1.pdf718.5 kBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_ch2.pdf840.44 kBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_ch3.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_ch6.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Autchara_Ta_back.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.