Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12005
Title: | การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงวิชาเอกพลศึกษา พุทธศักราช 2529 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2534) กรมพลศึกษา |
Other Titles: | An evaluation of the Higher Certificate of Physical Education Curriculum B.E. 2529 (Revised Edition B.E. 2534), the Physical Education Department |
Authors: | อัญชลี บรรจงศิริ |
Advisors: | ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การประเมินหลักสูตร พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิชาเอกพลศึกษา พุทธศักราช 2529 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2534) กรมพลศึกษา โดยศึกษาตามกรอบการประเมินของแบบจำลองซิป (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมิน ซึ่งมีจำนวน 5 ฉบับ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้บังคับบังคับบัญชาหรืออาจารย์ที่ปรึกษาของผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งสิ้น 1,049 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละข้อด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC๋ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ การประเมินบริบท พบว่า จุดมุ่งหมายของหลักสูตรทุกข้อมีความชัดเจนของภาษาที่ใช้ สามารถปฏิบัติได้จริง มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและมีความเป็นเอกลักษณ์ในวิชาชีพอยู่ในระดับมากโครงสร้างของหลักสูตรด้านจำนวนหน่วยกิตรวม หน่วยกิตหมวดวิชา หน่วยกิตกลุ่มวิชา หน่วยกิตรายวิชาส่วนใหญ่มีความเหมาะสมดี เนื้อหารายวิชาในหลักสูตรมีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและของผู้เรียนและมีประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพอยู่ในระดับมาก มีความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชาอยู่ในระดับน้อย ส่วนเกณฑ์การวัดและประเมินผลส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยเบื้องต้นด้านอาจารย์และนักศึกษา พบว่า การประเมินด้านอาจารย์และนักศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีความเพียงพออยู่ในระดับน้อย แต่มีคุณภาพและความสะดวกในการใช้บริการอยู่ในระดับมาก ด้านกระบวนการ พบว่า กระบวนการบริหารส่วนใหญ่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นการนิเทศและติดตามผลการจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นนักศึกษามีโอกาสประเมินผลการสอนของอาจารย์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อย ด้านผลผลิต พบว่า ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะทางวิชาชีพ ตรงตามที่กำหนดไว้ในจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก |
Other Abstract: | The purpose of this research was to evaluate the Higher Certificate of Physical Education Curriculum B.E. 2529 (Revised Edition B.E. 2534), The Physical Education Department. The CIPP Model was employed as a conceptual framework for this study. The research instruments utilized for data collection were five questionnaires. The information was provided by administrators, instructors, students, graduates and their superiors or advisor, total number 1,049. Data were analyzed by the program SPSS/PC๋. The percentage, arithmetic mean and standard deviation for each topic were computed. Research findings showed as follows : Regarding context evaluation the results indicated that each curriculum objective was clearly stated, practicable, provided in accordance with social needs and unique in professional physical education. The curriculum structure was found to be appropriate. The subject contents were also provided in accordance with social needs and students'needs ; and were necessary ot career implementation at the high level. There were some contents overlapping at the low level. The criteria of measurement and evaluation were highly appropriate. In put evaluation showed that the instructors and students readiness were found to be highly appropriate. The suffcient of instructional materials was at the low level, but the quality and the convenience in utilization of the materials were at the high level. In the process evaluation, it was found that most administration process was appropriate at the high level except supervision and follow-up in teaching-learning process were appropriate at the low level. The instructional process was appropriate at the high level. Most measurement and evaluation were appropriate at the high level cxcept the opportunity for students to evaluate teachers'teaching was rated to be approoriate at the low level. In terms of product evaluation, the graduates were rated both general and career qualifications as mentioned in curriculum objectives at the high level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12005 |
ISBN: | 9746362771 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Aunchalee_Ba_front.pdf | 768.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aunchalee_Ba_ch1.pdf | 729.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aunchalee_Ba_ch2.pdf | 953.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aunchalee_Ba_ch3.pdf | 732.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aunchalee_Ba_ch4.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Aunchalee_Ba_ch5.pdf | 784.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Aunchalee_Ba_back.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.