Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12225
Title: การใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรม ในพื้นที่ขยายตัวของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Land utilization and economic change in agricultural sector in the Bangkok Extended Metropolitan Region a case study of Phra Nakhon Si Ayutthaya
Authors: ยุทธศักดิ์ จิตสำรวย
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Daranee.T@Chula.ac.th
Subjects: การใช้ที่ดิน -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
การเกิดเป็นเมือง
เกษตรกรรม -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภาคเกษตรกรรม ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของภาคเกษตรกรรมในจังหวัดพระนครศรี อยุธยา ซึ่งถือเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ การสำรวจพื้นที่และการสัมภาษณ์ครัวเรือนเกษตร เพื่อให้ได้ข้อมูลในระดับจังหวัดและอำเภอ ที่จะนำมาวิเคราะห์และกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนา การใช้ประโยชน์ที่ดินทางภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่ที่มีความเจริญและความเป็นเมืองมากกว่าพื้นที่ทางด้านตะวันตก เนื่องจากมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่า มีการเกิดขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ พื้นที่นอกภาคเกษตรและชุมชนที่หลากหลายกว่า ในขณะที่การสนับสนุนในด้านโครงสร้างทางการเกษตร มีน้อยกว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและเศรษฐกิจของจังหวัด ที่สำคัญคือ (1) เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน จากพื้นที่ภาคเกษตรมาสู่พื้นที่นอกภาคเกษตร และมีการปะปนกันของการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตร เกิดการลดลงของพื้นที่เกษตรกรรม (2) รายได้จากการทำงานนอกภาคเกษตรของครัวเรือนเกษตรกลายเป็นรายได้หลักของครัว เรือน แทนรายได้จากการทำงานในภาคเกษตร เนื่องจากจำนวนสมาชิกในครัวเรือนทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้ครัวเรือนมีระดับของรายได้เพิ่มสูงขึ้น (3) มีการใช้ประโยชน์ที่ดินนอกภาคเกษตรมากขึ้น เพราะความได้เปรียบในด้านที่ตั้ง เส้นทางคมนาคม และราคาที่ดิน การเปลี่ยนแปลงนี้กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย และอำเภอวังน้อย แนวทางในการพัฒนาจังหวัดจึงกำหนดเขตพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ให้เป็นเขตการใช้ที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ในอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และบางส่วนของอำเภอวังน้อย โดยมีแนวทางในสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ และควบคุมการใช้พื้นที่อย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันก็กำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่ในอำเภอเสนา อำเภอบางซ้าย อำเภอลาดบัวหลวง และบางส่วนของอำเภอวังน้อย โดยมีแนวทางในการป้องกันการรุกล้ำของพื้นที่นอกภาคเกษตร โดยเฉพาะการเกิดขึ้นของโรงงาน อุตสาหกรรมเพื่อคงความเป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรของประเทศเอาไว้
Other Abstract: To investigate economic as well as land utilization changes in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province in the Bangkok Extended Metropotilan Region. Survey of secondary data, structured interview administered to agricultural households, and field survey are utilized to gain data and information at provincial and district levels for the analysis and determine land utilization development guidelines inside and outside the agricultural sector. Research results, indicates that the east side of Chao Phraya River is more urbanized than the west, resulting from better infrastrcture that promotes diversify of economic activities and non-agricultural land uses. At the provincial level, 3 main concerns are occuring (1) Change of land utilization from agricultural activities to non-agricultural activities ; there are combination of activities in land utilization, as well as decreasing of land utilization for agricultural function ; (2) Change of main household income from agricultural to non-agricultural since more members of the household choose to work in factories ; so income of household is higher ; (3) Increasing land utilization for non-agricultural activities due to locational advantage, transportation network, and land price. These changes have occurred in many parts of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province especially on the east side of Chao Phraya River, e.g, Amphoe Bang Pa-in, Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya, Amphoe Uthai, and Amphoe Wang Noi. It is recommended in this study that provincial development guideline should concentrate on land utilization in both agricultural and industrial sector. Land with high development potential, mostly in Amphoe Bang Pa-in, Amphoe Phra Nakhon Si Ayutthaya, and Amphoe Wang Noi should be designated as industrial zone ; while land suitable for agriculture, mostly Amphoe Sena, Amphoe Bang Sai and Amphoe Lat Bua Luang should be reserved for agriculture use only, to avoid encroachment of other non-agricultural activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12225
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.319
ISBN: 9741717474
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.319
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuddhasakti.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.