Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12317
Title: ปัจจัยทางการสื่อสารการตลาดที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคฟาสต์ฟู้ดของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Marketing communication factors affecting teenagers' fast food consumption in Bangkok Metropolis
Authors: ปองพรรณ พนมสารนรินทร์
Advisors: วิฏราธร จิรประวัติ, ม.ล.
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vittratorn.C@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารทางการตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
จิตวิทยาวัยรุ่น
ฟาสต์ฟูด
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นไทยในการบริโภคฟาสต์ฟู้ด และศึกษาปัจจัยทางการสื่อสารการตลาดที่ก่อให้เกิดการบริโภคฟาสต์ฟู้ด ระเบียบวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วัยรุ่นชายหญิงในกรุงเทพมหานคร อายุ 13-21 ปี จำนวน 400 คน โดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หรือ 1 องค์ประกอบในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นชายหญิงนิยมบริโภคฟาสต์ฟู้ดประเภทไก่ทอดมากที่สุดโดยวัยรุ่นชายให้เหตุผลว่า อาหารอร่อย ขณะที่วัยรุ่นหญิงใช้ร้านฟาสต์ฟู้ดเป็นสถานที่นัดพบเป็นเหตุผลหลักในการบริโภคฟาสต์ฟู้ด สิ่งที่น่าสังเกต คือ กลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทำให้วัยรุ่นบริโภคฟาสต์ฟู้ดได้พอสมควรแต่โฆษณากลับไม่ค่อยมีอิทธิพลกับวัยรุ่นเท่าใดนัก วัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมบริโภคเฟรนช์ฟรายร่วมกับไก่ทอดและเบอร์เกอร์ นอกจากนี้วัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมสั่งแบบชุดประหยัด บริโภคฟาสต์ฟู้ดเป็นอาหารว่าง ใช้เวลาในการบริโภค 30 นาที-1 ชั่วโมง และบริโภคฟาสต์ฟู้ด 2-4 ครั้งต่อเดือน จากการศึกษาพบว่าวัยรุ่นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับฟาสต์ฟู้ดในด้านคุณภาพอาหาร รสชาติอาหาร ความสะอาด ความรวดเร็วในการให้บริการ ความสุภาพของพนักงาน การส่งเสริมการขาย และความทันสมัยอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ความคิดเห็นในด้านความเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนไทยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเคยเปิดรับโฆษณาฟาสต์ฟู้ดโดยเปิดรับจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด นอกจากนี้ปัจจัยด้านรสชาติอาหาร ทำเลที่ตั้ง การโฆษณา และชื่อเสียงของร้านมีผลอย่างมากในการที่จะทำให้วัยรุ่นบริโภคฟาสต์ฟู้ด ขณะที่ปัจจัยด้านราคา การส่งเสริมการขาย การตกแต่งร้าน และมารยาทของพนักงานมีผลปานกลางในการที่จะทำให้วัยรุ่นบริโภคฟาสต์ฟู้ด
Other Abstract: The objectives of this research are to study teenagers' fast food consumption behavior and marketing communication factors that affect their consumption behaviors. Questionnaires were used to collect data from 400 teenagers, both male and female with 13-21 years of age. Data were analyzed by using percentage, mean, t-test and one-way ANOVA. Results indicate that teenagers like fried-chicken most. While male teenagers eat fast food because of its good taste, female teenagers use fast food restaurant to meet their friends for the main reason. Reference group has an impact on teenagers' fast food consumption for a moderate extent whereas advertising has only low impact on teenagers' fast food consumption. They also like to eat frenchfries with fried-chicken and with burger. Moreover, they order set meal and eat fast food as snack. Most of them eat fast food for 30 minutes to 1 hour and eat it 2-4 times per month. This research also found that their attitudes toward its quality, taste, hygienic, speed of service, politeness of staff, sales promotion and modernity are favorable whereas their attitudes toward appropriateness with Thai' lifestyle is moderate. Most samples exposed fast food advertising from television. Furthermore, its taste, location, advertising and reputation of fast food restaurants have greater impact on teenagers to eat fast food than its price, sales promotion, decoration and politeness of employees.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12317
ISBN: 9743317155
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongphan_Ph_front.pdf880.47 kBAdobe PDFView/Open
Pongphan_Ph_ch1.pdf366.87 kBAdobe PDFView/Open
Pongphan_Ph_ch2.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Pongphan_Ph_ch3.pdf432.61 kBAdobe PDFView/Open
Pongphan_Ph_ch4.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Pongphan_Ph_ch5.pdf672.93 kBAdobe PDFView/Open
Pongphan_Ph_back.pdf436.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.