Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12399
Title: | สแปมเมลกับการรุกล้ำสิทธิความเป็นส่วนตัว และพฤติกรรมการป้องกันตัวจากสแปมเมลของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย |
Other Titles: | Spam mail : invasion of privacy and preventive behavior from spam mail of internet users in Thailand |
Authors: | วิมพ์วิภา ชัยอุ่น |
Advisors: | พิรงรอง รามสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pirongrong.R@chula.ac.th |
Subjects: | สแปม (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สิทธิส่วนบุคคล ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีการรับรู้เกี่ยวกับสแปมเมล พฤติกรรมการป้องกันตัวจากสแปมเมล และพฤติกรรมตอบกลับจากการรุกล้ำสิทธิความเป็นส่วนตัวจากสแปมเมล อย่างไร นอกจากนี้ยังต้องการตอบคำถามว่าลักษณะทางสังคมประชากรของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต การรับรู้การรุกล้ำสิทธิส่วนตัว ปริมาณการรับได้สแปมเมล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตัวจากสแปม และพฤติกรรมตอบกลับจากสแปมเมลหรือไม่ และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสแปมในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพฯและ ปริมณฑล จำนวน 400 ชุด และการสัมภาษณ์เจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้เรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว ความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัว มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันตัวจากสแปมเมล เพศชายจะมีพฤติกรรมการตอบกลับสแปมเมลมากกว่าเพศหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาสแปมเป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับการใช้ อินเทอร์เน็ต และรู้สึกเบื่อ รำคาญ เมื่อได้รับสแปมเมล โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเลือกใช้วิธีการป้องกันตัวเองจากสแปม โดยวิธีการไม่ตอบกลับสแปมเมลมากที่สุด สำหรับแนวทางการจัดการที่เหมาะสมกับสแปมเมล กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า การป้องกันตัวเองเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และต้องการให้หน่วยงานรัฐบาลออกกฎกติกา มารยาท ในการส่งเสริมการตลาดทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผลการสัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับปัญหาสแปมเมลพบว่า แนวโน้มการใช้สแปมเมลเป็นเครื่องมือก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตมีเพิ่มสูง ขึ้น และมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐว่า ควรมีการผลักดันให้แก้ปัญหาสแปมเมล ด้วยการออกกฎหมายเพื่อกำหนดการส่งสแปมเมล |
Other Abstract: | To study the perception of privacy invasion by spam mail, preventive and responsive behavior from spam mail. It also explored how preventive and responsive behavior from spam mail was affected by socio-economic status, the perception of privacy invasion, and quantity of received spam mail. The findings from questionnaires of 400 internet users in Bangkok and its surrounding provinces, as well as from in-depth interview, are discussed in this paper in details. The analysis showed that the internet users with high privacy perception would have a positive correlation to preventive behavior. Men were more responsive behavior than women at the 0.05 level of significance. Most internet users perceived spam as an unpleasant or annoying and to be a big problem. Therefore, most of internet users would avoid responding to the spam mail, in order to best avoid any further spam receiving in the future. As a measure for spam management, the internet users believed that self-defense was the best way to protect themselves from spam mail and would like the government to provide the regulations to be enforced upon the electronic mail marketing. The in-depth interview, conducted on technologists revealed that the cyber-crime by spamming technique will be increased and the government agency should provide the spam law to apply to restrictions on spam mail. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12399 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1847 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1847 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wimwipa_ch.pdf | 5.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.