Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12573
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Other Titles: | Factors influencing Pondok school to keep its traditional system in southern provinces of Thailand |
Authors: | นันทกาญจน์ เบ็ญเด็มอะหลี |
Advisors: | อารง สุทธาศาสน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ศาสนาอิสลาม -- ไทย (ภาคใต้) ปอเนาะ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม สำหรับกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนปอเนาะระบบเก่า, กลุ่มนักเรียน, และกลุ่มโต๊ะครูหรือเจ้าของโรงเรียน จำนวน 300 คน สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ใช้วิธีการหาค่าจำนวน (Frequency) หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการคงสภาพระบบเก่าของโรงเรียนปอเนาะในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นส่วนใหญ่พบว่า ความต้องการที่จะสืบทอดศาสนาอิสลาม เป็นเหตุสำคัญยิ่ง ที่มีผลต่อการคงสภาพของโรงเรียนปอเนาะไม่ว่าจะเป็นในระดับความต้องการของกลุ่มผู้ปกครอง ความต้องการของกลุ่มผู้เรียนระบบการศึกษาในโรงเรียนปอเนาะระบบเก่า และวิธีการเรียน การสอนระบบเก่า ซึ่งล้วนแล้วมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ ต้องการสืบทอดศาสนาอิสลาม เป็นเหตุสำคัญที่มีผลทำให้โรงเรียนปอเนาะคงสภาพไว้ในปัจจุบันเพราะถือได้ว่าเป็นหน้าที่พิเศษในการสืบทอดศาสนาอิสลามของชาวมุสลิมทุกคนทั่วโลก ที่จะต้องปฏิบัติเผยแผ่ต่อไป เพื่อชนรุ่นหลังของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยทางด้านศาสนาในการสืบทอดศาสนาอิสลามเป็นเหตุสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับความต้องการของกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มผู้เรียนที่ยังคงเรียกร้องต่อการเข้ามาศึกษาในโรงเรียนปอเนาะระบบเก่าซึ่งส่งผลทำให้กลุ่มโรงเรียนปอเนาะระบบเก่าในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้มีการคงสภาพไว้ได้มากกว่าปัจจัยทางด้านอื่นๆ เพราะในสังคมชาวไทยมุสลิมนั้นมีความเคร่งครัดในศาสนามาก จึงทำให้ความต้องการในด้านต่างๆ ต้องสอดคล้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมทางด้านศาสนามากขึ้นเท่านั้น และการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนปอเนาะ นับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่ชนรุ่นหลังของชาวไทยมุสลิม ในส่วนทางด้านการศึกษาของการเรียนศาสนานั้นเรียกว่าเป็นสถาบันทางด้านศาสนาอย่างหนึ่งต่อการสืบทอดศาสนาอิสลามต่อไป ซึ่งการศึกษาเป็นแกนกลางที่สำคัญยิ่งสำหรับพลเมืองในประเทศต่อการพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ ให้มีความเจริญก้าวหน้าและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมและอารยธรรมของสังคม |
Other Abstract: | The intention of this research is to study the factors influencing Pondok school to keep its traditional system in southern provinces of Thailand. The instrument of collection of the data for this research is questionnair. The sample of the population are 300 persons; the parents of the students of Pondok traditional system school, students and islamic teachers or the owners of Pondok school. The method of analysis of the statistical data is by way of frequency, mean, standard deviation and the average proportion of the set up standard. The result of this research was found that, the most significant factors influencing Pondok school to keep its traditional system in southern provinces of Thailand, is the need of islamic inheritance. This affected the directional status of Pondok school, which is not only for the need of students' parents, but also for the wishes of the students, who would like to study and also teaching in traditional system. At present, it is the special duty and mission for all Muslim over the world to carry on Islam of the next young generation, which profess Islam. The conclusion of this research was that, the important factor of islamic inheritance is from the students' parents demanding to send their children to study at Pondok school to keep its traditional system, this effect pondok schools to keep their traditional system in southern provinces of Thailand, more than other reasons of factors. Then the needs in addition Islam should be related to faith and culture, and to study the from of Pondok school. This culture will carry on to the young Thai muslim of the next generation, the study of Islamic religion is also the supple mentation of the Islamic intact. This study is the main point or basic of the development and the progress of culture and civilization in society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12573 |
ISBN: | 9743342818 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nantakan_Be_front.pdf | 524.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantakan_Be_ch1.pdf | 3.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantakan_Be_ch2.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantakan_Be_ch3.pdf | 489.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantakan_Be_ch4.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantakan_Be_ch5.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nantakan_Be_back.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.