Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12620
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำลี ทองธิว-
dc.contributor.authorณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialญี่ปุ่น-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2010-05-07T02:07:13Z-
dc.date.available2010-05-07T02:07:13Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743328297-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12620-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น และเพื่อนำเสนอวิธีการสอนภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 383 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่นจำนวน 179 คน และครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครจำนวน 12 คน ครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะประเทศญี่ปุ่น จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจแบบการเรียนภาษาอังกฤษฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาญี่ปุ่น แบบสังเกตวิธีการสอนภาษาอังกฤษ และตารางวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนกับวิธีการสอนภาษาอังกฤษวิธีต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า 1. จากแบบการเรียนภาษาอังกฤษ 5 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านการรับรู้ภาษา และด้านวัฒนธรรมรวม 50 ข้อ พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่นมีแบบการเรียนเหมือนกัน 23 ข้อ มีแบบการเรียนที่ต่างกันโดยเป็นแบบการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครอย่างเดียว 12 ข้อ ได้แก่ ฉันชอบเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนที่จัดโต๊ะเก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่างมีระบบระเบียบ ฉันเชื่อฟังและตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน ฉันชอบเรียนในห้องเรียนที่ทุกคนทำกิจกรรมการเรียนอย่างเป็นระเบียบ ฉันชอบครูภาษาอังกฤษที่เข้าสอนตรงเวลา ฉันชอบเรียนและฝึกใช้ภาษาแบบทักษะสัมพันธ์ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ฉันทำงานหรือทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายตามลำดับความสำคัญ ก่อน-หลัง ฉันจะวางแผนในการทำงานเพื่อทำงานที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันตามกำหนด ฉันสามารถทำกิจกรรมทางภาษา และเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีในห้องเรียนที่มีบรรยากาศเย็นสบาย ฉันชอบการเรียนที่ให้ฉันฝึกฝนการใช้ภาษาด้วยการทำแบบฝึกหัด ฉันชอบเรียนและฝึกใช้ภาษาแบบแยกทักษะ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ฉันทำงานและทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะสนใจหรือไม่ก็ตาม ฉันทำงานและกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายเสร็จทันตามกำหนดเสมอ โดยไม่ต้องให้ใครมาคอยเตือน และเป็นแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น อย่างเดียว 3 ข้อ ได้แก่ ฉันชอบทำกิจกรรมทางภาษาที่มีการให้รางวัล ฉันสามารถทำกิจกรรมทางภาษาและเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ดีในห้องเรียนที่มีบรรยากาศอุ่นสบาย ฉันชอบเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนที่จัดโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อย่างยืดหยุ่น และสะดวกในการทำกิจกรรม 2. วิธีการสอนภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้แก่ วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปล วิธีการสอนแบบเงียบ วิธีการสอนตามเอกัดภาพ วิธีการสอนตามทฤษฎีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ และวิธีการสอนแบบตรง วิธีการสอนภาษาอังกฤษที่เหมาะสมกับแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอเกะ ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ วิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ วิธีการสอนแบบเงียบ วิธีการสอนแบบตรงen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and compare English learning styles between grade five students from schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration and students from schools under the Fukuoka Prefecture, Japan and to present English teaching methods compatible with the teaching of grade five students both schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration and schools under the Fukuoka Prefecture, Japan. The research instruments included English Learning Styles Inventory in Thai and Japanese versions, an English Teaching Method Observation Form and an Analysis form for checking the relevancy between English learning styles and English teaching methods. The samples were (1) 383 Thai students and 179 Japanese students. (2) 12 Thai teachers and 7 Japanese teachers. The findings were as follows: 1. Among the five catagories of English learning styles: Environmental aspect, Emotional aspect, Sociological aspect, Language perception and Cultural aspect at the total of fifty items, it was found that there were 23 same English Learning styles of grade five students from schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration and grade five students From schools under the Fukuoka Prefecture, Japan. There were 12 typical English learning styles of Thai students. The students indicated they like learning English in the room where the desks, chairs and other equipments are intidy order; believe and pay attention to what the teacher teaches; prefer learning in the class where every one sits in order; like to learn with teacher who is punctual; like to learn and practice all the English skills one skill at a time; work on all the assignment step by step; always set up a plan when being assigned; can learn English well in a cool classroom; like practicing English through written exercises; like to learn and practicing listening speaking writing and reading skills, one skill at a time; finish all the assignments though they are not interested in; always finish my work and other assignments on time without being reminded. They were 3 typical English learning styles of Japanese students indicated they like paticipating in learning when a teacher gives reward; can learn English well in a warm classroom; like learning English in the room where the desks, chairs, and other equipments are flexible and avilable at hand. 2. English teaching methods appropriate to teach grade five students in schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration were the Grammar Translation Method, the Silent Way Method, the Individualized Instruction Method, the Cognitive Code Learning Theory Method and the Direct Method. The English teaching methods appropriate to teach grade five students in schools under the Fukukoka Prefecture, Japan were the Community Language Learning Method, the Silent Way Method and the Direct Method.en
dc.format.extent842489 bytes-
dc.format.extent823115 bytes-
dc.format.extent1417768 bytes-
dc.format.extent837225 bytes-
dc.format.extent1016600 bytes-
dc.format.extent1185760 bytes-
dc.format.extent1488641 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- ญี่ปุ่น -- ฟูกูโอกะen
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตเมืองฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่นen
dc.title.alternativeA comparative study on prathom suksa five students' learning styles in english language between schools under the jurisdiction of the Bangkok metropolitan administration and schools under the Fukuoka prefecture, Japanen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSumlee.T@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Natthawut_Ki_front.pdf822.74 kBAdobe PDFView/Open
Natthawut_Ki_ch1.pdf803.82 kBAdobe PDFView/Open
Natthawut_Ki_ch2.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Natthawut_Ki_ch3.pdf817.6 kBAdobe PDFView/Open
Natthawut_Ki_ch4.pdf992.77 kBAdobe PDFView/Open
Natthawut_Ki_ch5.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Natthawut_Ki_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.