Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12647
Title: การจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ไม่ใช่วารสารในห้องสมุด สาขาการแพทย์มหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Titles: Nonperiodical serials management in medical libraries of state universities
Authors: ทิพวรรณ อินทมหันต์
Advisors: พรรณพิมล กุลบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Panpimon.K@Chula.ac.th
Subjects: ห้องสมุดแพทย์
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง -- การจัดการ
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซีดี-รอม
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ไม่ใช่วารสารในห้องสมุด สาขาการแพทย์ มหาวิทยาลัยของรัฐ จำนวน 32 แห่ง ในด้านงานบริหาร งานเทคนิค และงานบริการรวมทั้งปัญหาในการจัดการสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ไม่ใช่วารสาร ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดสาขาการแพทย์ มหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้ง 32 แห่ง มีรายชื่อสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องฯ จำนวน 1,533 ชื่อ ชื่อที่มีตรงกันมากที่สุด 20 แห่ง คือ Current Medical Diagnosis & Treatment ในด้านงานบริหาร พบว่า ห้องสมุดจำนวน 15 แห่ง ไม่มีการแบ่งหน่วยงานภายในห้องสมุด ห้องสมุดทุกแห่งมีบุคลากรผู้รับผิดชอบการปฏิบัติงานสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องฯ จำนวน 2-21 คน และไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการสั่งซื้อสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องฯ โดยเฉพาะ แต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรวมกับหนังสือ สำหรับด้านงานเทคนิค พบว่า ห้องสมุดส่วนใหญ่ดำเนินการกับสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องฯ ทุกประเภทเช่นเดียวกับหนังสือ ทั้งในเรื่องการสั่งซื้อ การลงทะเบียน การจัดทำเครื่องมือช่วยค้น และการจัดเก็บส่วนด้านงานบริการ ห้องสมุดส่วนใหญ่จัดให้บริการแก่สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องฯ เป็นบริการเช่นเดียวกับหนังสือ ได้แก่ บริการยืม-คืน บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการรายชื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับใหม่ และบริการถ่ายเอกสาร นอกจากนี้ยังพบว่า ห้องสมุดประสบปัญหาด้านงานบริหารในระดับที่สูงกว่าปัญหาด้านงานบริการและงานเทคนิค
Other Abstract: The purpose of this research was to study the nonperiodical serials management in 32 medical libraries of state universities regarding administration, technical works and service including problems of nonperiodical serials management. The research results reveal that 32 mediacal libraries of state universities have 1,533 titles of serials. The most overlapped title in 20 libraries is Current Medical Diagnosis & Treatment. Regarding administration, 15 libraries do not have any divisions or departments. The personnel responsible for serials works in each library range from 2-21. All libraries do not receive separate budget allocation for serials. It is included with the budget for books. For technical services, most libraries manage serials similarly to books in the areas of acquisition, registration, search tools and collection arrangement. The user services include serials circulation, reference, lists of newly received publications, and photocopying. The problem that most libraries confront is the administration which is at level higher than the user service and technical services.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12647
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.223
ISBN: 9743342893
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.223
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thipawan_In_front.pdf488.8 kBAdobe PDFView/Open
Thipawan_In_ch1.pdf488.74 kBAdobe PDFView/Open
Thipawan_In_ch2.pdf723.48 kBAdobe PDFView/Open
Thipawan_In_ch3.pdf382.25 kBAdobe PDFView/Open
Thipawan_In_ch4.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open
Thipawan_In_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Thipawan_In_back.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.