Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12717
Title: | การพัฒนาเทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางอณูชีววิทยาเพื่อพิสูจน์ตัวอ่อนระยะที่ 3 ของพยาธิ Brugia pahangi |
Other Titles: | The Development of a molecular diagnostic technique to identify the third larval stage of brugia pahangi |
Authors: | ศิวะพร กล่ำคล้าย |
Advisors: | นารีรัตน์ วิเศษกุล โกสุม จันทร์ศิริ สุดจิตต์ จุ่งพิวัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nareerat.V@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล Sudchit.C@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาธิฟิลาเรีย ฟิลาริเอซิส ยุงพาหะนำโรค สุนัข -- โรค แมว -- โรค |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Brugia pahangi เป็นหนึ่งในพยาธิฟิลาเรียที่ก่อให้เกิดโรค Lymphatic filariasis มีสุนัขเป็นโฮสต์แท้และแมวเป็นตัวกักเก็บโรค การระบาดของพยาธิชนิดนี้พบได้ในประชากรสุนัขและแมวของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดภาคใต้ ที่มีการระบาดของโรคเท้าช้างในคนร่วมด้วย B. pahangi มียุงชนิดต่างๆ เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ ยุง Aedes spp. ยุง Armigeres spp. และยุง Mansonia spp. เนื่องจากตัวอ่อนระยะที่ 3 (L3) เป็นตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิฟิลาเรียชนิดนี้ และมีลักษณะคล้ายคลึงกับพยาธิ Brugia malayi (ที่ก่อโรคในคน) และ Dirofilaria immitis (ที่ก่อโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข) ดังนั้น เมื่อพบ L3 ของพยาธิฟิลาเรียเหล่านี้ใช้ยุงชนิดเดียวกันเป็นพาหะ จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดตัวอ่อนของพยาธิฟิลาเรียในยุง การศึกษาครั้งนี้ทำการเปรียบเทียบระยะพัฒนาและลักษณะรูปร่างของตัวอ่อน L1, L2 และ L3 ของพยาธิ B. pahangi และ D. immitis ด้วยการย้อมเอ็นไซม์ acid phosphatase พบตัวอ่อนพยาธิ B. pahangi ที่จัดว่าเป็น L1 ในวันที่ 1-5 หลังยุงได้รับไมโครฟิลาเรีย พบ L2 ในวันที่ 6-11 และ L3 ในวันที่ 12 เป็นต้นไป ในขณะที่พบ L1 ของ D. immitis ในวันที่ 5-9 พบ L2 ในวันที่ 10-14 และพบ L3 ตั้งแต่วันที่ 15 หลังได้รับเชื้อ งานวิจัยนี้ได้นำเทคนิค Reverse Transcription-PCR (RT-PCR) มาใช้ในการตรวจหาทรานสคริปของยีนโทรโปนินและโทรโปไมโอซิน ที่แสดงออกจำเพาะต่อระยะตัวอ่อนของพยาธิ B. pahangi ที่พัฒนาอยู่ในยุง Aedes aegypti (Thailand strain) ที่เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ และทดสอบความไวเพื่อตรวจหาทรานสคริปใน L 3 จำนวน 60 ตัว (เก็บตัวอ่อนในวันที่ 14 หลังจากยุงติดพยาธิ) พบผลิตภัณฑ์ RT-PCR (ขนาด 226 bp) ที่แสดงถึงการแสดงออกของยีนโทรโปไมโอซินที่มีมากกว่า การแสดงออกของยีนโทรโปนิน (221 bp) การศึกษานี้ ยังพบทรานสคริปของยีนโทรโปนินใน B. pahangi ในวันที่ 7-10 ซึ่งเป็นระยะ L2 และทรานสคริปของยีนโทรโปไมโอซิน ในวันที่ 7-8 และ 11-12 ซึ่งเป็นระยะ L2 ระยะปลาย และ L3 ระยะต้น ตามลำดับ แต่การทดสอบครั้งนี้พบปฏิกิริยาข้ามของไพรเมอร์กับดีเอ็นเอของ B. malayi ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า เทคนิค RT-PCR ถึงแม้จะมีปฏิกิริยาข้ามกับ L2 และ L3ของ B. pahangi ก็ตาม แต่ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นของการตรวจหาโทรโปไมโอซินของ L2 และ L3 (วันที่ 8-12 หลังได้รับเชื้อ) ได้ |
Other Abstract: | Brugia pahangi is one of the filarial worms causing lymphatic filariasis in various mammals. For instance, dogs served as the final host for B. pahangi while cats were classified as a reservoir host. There were at least 3 species of filarial worms known to the veterinary and medical importance; B. pahangi, B. malayi and D. immitis. These species were transmitted by similar mosquitoes species; Aedes spp., Armigeres spp. and Mansonia spp.. When carried by the same mosquito species, these worms could not be differentiated easily by any means. In this study, the larval morphology and developmental stages using acid phosphatase staining technique of B. pahangi could slightly be separated from D. immitis. The studies of the larval developmental stages and morphological differentiation showed that L1 of B. pahangi could be found in mosquitoes at day 1 to 5 post infection (DPI). L2 was found in mosquitoes at 6-11 DPI and L3 was at 12-15 DPI. While L1 of D. immitis had an early development on 5-9 DPI, L2 was 10-14 DPI and L3 was on 15-20 DPI. The molecular technique of Reverse Transcription-PCR (RT-PCT) was developed to specifically identity L3 of B. pahangi using gene specific primers of Troponin and Tropomyosin. The RT-PCR primers were able to amplify the transcripts of the expressed Troponin (221 bp) and Tropomyosin (226 bp) derived from 60 larvae. The RT-PCR specific reaction revealed that Tropomyosin had expressed more than Troponin during the larval stage L3, at 14 DPI. Troponin expressed at the stage of L2 (7-10 DPI) while Tropomyosin expressed at 2 intervals, the middle L2 (7-8 DPI) and the early stage of L3 (11-12 DPI). However, there was a cross reaction occurred to B. malayi DNA (700 bp). It is concluded that the RT-PCR technique was able to determine the development of L2 and L3 of B. pahangi in mosquitoes. The expression of Tropomyosin and Troponin could be a preliminary approach as a specific marker to identify B. pahangi larval development in mosquitoes. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12717 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
siwaporn.pdf | 2.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.