Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12811
Title: | ปัญหาการใช้มาตรการคุ้มครองสิทธิเด็กจากความรุนแรงในครอบครัว |
Other Titles: | The problems of protecting children rights form domestic violence |
Authors: | ต่อพงษ์ พงษ์เสรี |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | มัทยา จิตติรัตน์ สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Mattaya.J@Chula.ac.th |
Subjects: | การทารุณเด็ก สิทธิเด็ก เด็ก -- การสงเคราะห์ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ครอบครัวที่ดีจะมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาสมาชิกในครอบครัว ให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมและเศรษฐกิจได้เปลียนแปลงไป ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ ประชากรตกอยู่ในความเครียด วิถีการดำเนินชีวิตของสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความมั่งคงในสถาบันครอบครัว ทำให้ครอบครัวไม่สามารถรักษาบทบาทหน้าที่ดั้งเดิมเอาไว้ได้ เมื่อสภาพปัญหาครอบครัวเกิดขึ้น ผู้ที่ได้รับเคราะห์กรรมมากที่สุดก็คือ เด็กที่ถูกละเมิดสิทธิโดยบิดามารดา หรือบุคคลที่อยู่ภายในครอบครัว จากการศึกษาวิจัยมาตรการคุ้มครองสิทธิเด็กจากความรุนแรง ในครอบครัวในต่างประเทศ พบว่ามาตรการในต่างประเทศได้ให้ความสำคัญในการฟื้นฟูสภาพครอบครัว โดยพยายามที่จะใช้กระบวนการทางอาญา เว้นแต่เป็นกรณีที่ร้ายแรง โดยมีมาตรการคุ้มครองในลักษณะต่างๆ เช่น การขับไล่ผู้ทำร้าย การจำกัดสิทธิการติดต่อกับเด็ก ตลอดจนการส่งให้ผู้ทำร้ายเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูสภาพผู้กระทำผิด เพื่อให้สามารถกลับมาอยู่ร่วมกับเด็กได้อย่างมีความสุข แต่มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นทางแพ่งหรือทางอาญา เป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นในเรื่องของการลงโทษผู้ทำร้ายเด็กเท่านั้น แต่มิได้มีกฎหมายใดๆ ที่จะเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหาครอบครัวอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงควรมีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองเด็ก ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาครอบครัว ในลักษณะที่เข้าไปช่วยเหลือให้ความเยี่ยวยา แก่ครอบครัวที่ประสบปัญหาในลักษณะที่เป็น Community treatment โดยมีองค์กรของรัฐเป็น Focal point ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือให้ความสะดวกในการประสานงาน เพื่อให้การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเข้าสู่ระบบสากลและมีประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | Family unit is one of the most important social status towards all nations, good family therefore, has the major role in improving and developing all of family's members for optimum results: Physicals as well as minds. In Thailand, social and economic development has changed dramatically according to the economic crisis. This crisis creates more stress among family's members than before, current ways of life has effected severely towards their family's stability and hence, are not able to pursue their formal family's roles. After facing this tragedy crisis, children will be directly assulted by their own parents or any member in the family. From previously research has shown that the problems of protecting children rights from domestic violence in other countries has been recognized for improving families status, by not placing criminal process through this case but rather implement children protection by propelling the offenders, eliminating contact with the children, and sending the offenders for further treatment except for severe cases only. This will, however, make the returning of family reunion become effectively. But in Thailand, both civil and criminal laws will emphasize on punishing the offenders only, no other law that aims to solving children right to domestic violence seriously. Hence, specificly implementing the protection of children rights from domestic violence law will lessen the family's problems in term of community treatment by having governmental organization as the focal point in assisting and cooperating for reconstructing children in order to be able to come back to normal life efficiently again. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12811 |
ISBN: | 9746377051 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
topong_po_front.pdf | 319.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
topong_po_ch1.pdf | 328.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
topong_po_ch2.pdf | 977.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
topong_po_ch3.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
topong_So_ch4.pdf | 707.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
topong_po_ch5.pdf | 575.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
topong_po_back.pdf | 255.27 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.