Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1282
Title: การแทรกสอดคลื่นพาห์ที่ถูกกดสำหรับระบบดีเอส-ซีดีเอ็มเอ
Other Titles: Suppressed carrier interferometry for DS-CDMA system
Authors: ตรีรัตน เมตต์การุณ์จิต, 2518-
Advisors: ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasit.P@chula.ac.th
Subjects: การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัส
คลื่นวิทยุ
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพน์ฉบับนี้ ได้วิเคราะห์หาค่าสหสัมพันธ์ข้ามระหว่างรหัสแผ่แบบ Hadamard กับแบบ การแทรกสอดของคลื่นพาห์ (Carrier Interferometry : CI) ในโดเมนเวลา เพื่อที่จะนำไปปรับปรุงสมรรถนะของระบบ ซีไอ/ดีเอส-ซีดีเอ็มเอ (CI/DS-CDMA) ในข่ายเชื่อมโยงไปหน้า (forward link) ภายใต้ช่องสัญญาณเฟดดิง (fading channel) ในแง่ของความซับซ้อน และจำนวนผู้ใช้งานในระบบที่มีผลต่อคุณภาพของการบริการที่แบ่งเป็นชั้นบริการ (Class of Service) เนื่องจากผู้ใช้แต่ละรายมีจำนวน ไดเวอร์ซิตีเชิงความถี่ไม่เท่ากัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้นำเสนอวิธีการปรับรูปคลื่นของชิปแบบใหม่ที่เรียกว่า "การแทรกสอดคลื่นพาห์ที่ถูกกด (Suppressed Carrier - Interferometry : SC-I)" และได้ออกแบบระบบ DS-CDMA ที่ใช้การปรับรูปคลื่นของชิปแบบ SC-I ทั้งวงจรภาคส่งที่เลือกรหัสแผ่ และวงจรภาครับ จากผลการวิจัย พบว่าระบบ SC-I/DS-CDMA ที่ได้นำเสนอสามารถปรับให้ผู้ใช้แต่ละรายในระบบมีสมรรถนะในแง่ของอัตราความผิดพลาดบิตใกล้เคียงกัน และระบบที่นำเสนอมีสมรรถนะที่ดีกว่าระบบ CI/DS-CDMA มากในการส่งคลื่นสัญญานผ่านช่องสัญญาณเฟดดิง ทั้งในกรณีที่เครื่องรับมีการซิงโครไนซ์สมบูรณ์ กรณีที่เกิดเฟสจิตเตอร์ (phase jitter) และกรณีที่ได้รับออฟเซตเชิงความถี่ (frequency offset) โดยระบบ SC-I/DS-CDMA ต้องการค่าอัตราส่วนกำลังของสัญญาณต่อกำลังของสัญญาณรบกวน (signal to noise ratio) น้อยกว่าระบบ CI/DS-CDMA ประมาณ 5 dB เมื่ออัตราความผิดพลาดบิตของทั้งสองระบบเท่ากับ นอกจากนี้ระบบ SC-I/DS-CDMA ที่ได้นำเสนอสามารถลดความซับซ้อนที่ภาครับและภาคส่ง ในขั้นตอนของการแปลง ฟูริเยร์แบบเร็ว (Fast Fourier Transform : FFT) และสามารถลดจำนวนค่าถ่วงน้ำหนัก (weight) ลงได้ครึ่งหนึ่ง สำหรับระบบที่ให้ การรวมกันเชิงความถี่แบบค่าผิดพลาดเฉลี่ยกำลังสองต่ำที่สุด (Minimum Mean Square Error Combining : MMSEC) ที่ภาครับของระบบ
Other Abstract: This thesis analyzed the cross correlation between the Hadamard spreading code and carrier interferometry in time domain for improving performance of Carrier Interferometry DS-CDMA (CI/DS-CDMA) system. Performance of the system is based on complexity and number of users which affect the quality of service (QoS) in each class of service. A novel suppressed carrier interferometry chip shaping was proposed and applied in DS-CDMA system for both transmitter, which has spreading code selection, and receiver. It is found from the resarch results that the proposed SC-I/DS-CDMA system can equally effect QoS of each user. In this thesis the receiver considers three cases, firstly, the case of perfect synchronization, secondly, the case with phase jitter and thirdly the case with frequency offset. For signal transmission in fading channel, based on bit error probability, the proposed SC-I/DS-CDMA gives much higher performance than CI/DS-CDMA system. By fixing bit error rate at , signal-to-noise ratio required by theproposed SC-I/DS-CDMA system is less than that required by CI/DS-CDMA system for 5 dB. In addition, the proposed SC-I/DS-CDMA can reduce the complexity at the transmitter and receiver in FFT stage. Moreover, it can reduce the number of weight functions used by MMSEC frequency combining receiver, for 50%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1282
ISBN: 9741719965
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Triratana.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.