Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12827
Title: | สถานภาพของเทปบันทึกเสียงสำหรับเด็กและพฤติกรรมการซื้อของผู้ปกครอง |
Other Titles: | The status of music tape cassette for children and parents' purchasing behaviour |
Authors: | นฤมล เตชะนานาเลิศ |
Advisors: | พัชนี เชยจรรยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patchanee.C@chula.ac.th |
Subjects: | เพลงสำหรับเด็ก ธุรกิจเทปเพลง พฤติกรรมผู้บริโภค การเปิดรับข่าวสาร เทปเพลง เอดูเทนเมนต์ |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา 1) สถานภาพของเทปบันทึกเสียงสำหรับเด็กทั้งในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากบริษัทผู้ผลิตเทปบันทึกเสียงสำหรับเด็กจำนวน 6 บริษัท และ 2) ปัจจัยทางการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อของผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้การวิจัยแบบสำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) สันนิษฐานกันว่าธุรกิจเทปบันทึกเสียงสำหรับเด็กน่าจะเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีก่อน หรือประมาณ พ.ศ. 2524 สภาพการแข่งขันยังมีค่อนข้างน้อย โดยแรงจูงใจที่หันมาทำธุรกิจนี้ก็คือ "ใจรัก" และ "อุดมการณ์" ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญก็คือปัญหาทางด้านการตลาด การแบ่งประเภทของเทปฯ ใช้เกณฑ์ในเรื่องของ "อายุของเด็ก" เป็นหลัก และยังใช้เกณฑ์ดังกล่าวในการกำหนดเนื้อหา และการนำเสนออีกด้วย นอกจากนี้กลยุทธ์ "สาระบันเทิง" ก็ยังเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตสื่อประเภทนี้ สำหรับแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจเทปฯ เด็กนั้น จะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถและความรับผิดชอบต่องานด้านเด็กอย่างแท้จริง โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางธุรกิจเป็นสำคัญ รวมถึงการได้รับความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็เป็นสิ่งจำเป็น 2) ผลจากการวิจัยแบบสำรวจ สามารถสรุปได้ดังนี้ 2.1 ผู้ปกครองใช้ช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ในการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับปานกลาง โดยโทรทัศน์ถูกใช้ในระดับมาก 2.2 ผู้ปกครองได้รับอิทธิพลจากสื่อบุคคลและสื่อมวลชนที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเทปฯ เด็กอยู่ในระดับปานกลางโดยสื่อประเภท บุตรหลาน ตนเอง และโทรทัศน์ มีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก 2.3 หลักหรือวิธีที่ผู้ปกครองใช้ในการพิจารณาคัดเลือกในระดับมาก ได้แก่ เลือกเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เลือกเนื้อหาที่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการจะสอน เลือกให้เหมาะกับโอกาส/กิจกรรมที่ใช้ เลือกที่เด็กชอบและร้องขอ 2.4 ผู้ปกครองที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน จะใช้ช่องทางการสื่อสารในการแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจซื้อเทปบันทึกเสียงสำหรับเด็กแตกต่างกัน 2.5 ผู้ปกครองที่มีลักษณะทางประชากรต่างกัน จะได้รับอิทธิพลจากช่องทางการสื่อสารประเภทสื่อบุคคลและสื่อมวลชนที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเทปบันทึกเสียงสำหรับเด็กแตกต่างกัน |
Other Abstract: | The purpose of this study is to :1) investigate the commercial status of music tape cassette for children in the past, present and the future trend. In-dept interview was applied to collect data for the first objective from 6 tape cassette for children producing companies. 2) The study of communication factors affecting parents' purchasing behavior. Field survey was used to collect data for the second objective from 400 parents resided in Bangkok. The results of this study are as follows: 1) It was recognized that this business started in 1971. At present, the business is in the lesser competitive climate as the business cannot make good profit. The producer's only motivation to produce cassette-tape for children is love and care for children. The major problem of doing this business concerned the marketing. Tape cassette for children were classified by age of the children. The major marketing strategy to survice is the utilization of "edutainment" in message and cooperation from related parties. 2) The results of survey research can be concluded as follows: 2.1 Parents use televisions to get information prior to buying decision. 2.2 Parents are medially influenced by personal media and mass media in buying decision. However, their own children and television are highly influenced. 2.3 Parents' criteria of buying are appropriateness to children's age and child development ; content desird to teach children ; good fit for the time and activity ; and upon children request. 2.4 parents' with different demographic characteristics use different channel of communication in seeking information. 2.5 Parents' with different demography characteristics were affected by mass media and personal contact differently regarding purchasing decision. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12827 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.125 |
ISBN: | 9743342915 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.125 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narumon_Te_front.pdf | 728.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narumon_Te_ch1.pdf | 713.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narumon_Te_ch2.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Narumon_Te_ch3.pdf | 465.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Narumon_Te_ch4.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Narumon_Te_ch5.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Narumon_Te_back.pdf | 988.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.