Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12923
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมภาคการผลิต : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมอาหาร
Other Titles: Determinants for success of production sector of small and medium enterprises : a case study of food industry
Authors: นราธร ปานดี
Advisors: ชลัยพร อมรวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Chalaiporn.A@chula.ac.th
Subjects: ธุรกิจขนาดกลาง
ธุรกิจขนาดย่อม
อุตสาหกรรมอาหาร
ความสำเร็จทางธุรกิจ
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต ในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร โดยวิธีการศึกษาจะทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับกรมการค้าภายใน จำนวน 32 บริษัท ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและกลุ่มของธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จ และอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminant analysis) ในการพิจารณาตัวแปรแนวทางในการปฏิบัติงานที่สามารถใช้จำแนกธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และธุรกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จได้ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อการประสบความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมภาคการผลิตในส่วนของอุตสาหกรรมอาหาร มีทั้งสิ้น 6 ปัจจัยด้วยกัน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ การวางแผนด้านการเงินล่วงหน้า การคิดค้นและปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างสม่ำเสมอ การปรับปรุงวิธีการดำเนินงานสม่ำเสมอ เพื่อลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การโฆษณาเพื่อนำเสนอสินค้าหรือเผยแพร่ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการคัดสรรบุคลากรที่มีรูปแบบที่ชัดเจน และมีการติดตามผลการใช้ผลิตภัณฑ์จากลูกค้าสม่ำเสมอ ตามลำดับ นอกจากนี้ในการวิเคราะห์ได้มีการสร้างสมการพยากรณ์การประสบความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งเมื่อนำสมการดังกล่าวมาหาจุดวิกฤติซึ่งเป็นค่าที่ใช้ในการจำแนกประเภทของธุรกิจ ได้ค่าเท่ากับ -1.907 ซึ่งหมายความว่าธุรกิจใดที่ดัชนีการประสบความสำเร็จมีค่าสูงกว่า -1.907 แสดงว่าธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ และหากธุรกิจใดที่ดัชนีการประสบความสำเร็จมีค่าต่ำกว่า -1.907 แสดงว่าธุรกิจนั้นไม่ประสบความสำเร็จ จากการศึกษาพบว่า สมการพยากรณ์การประสบความสำเร็จดังกล่าวมีความแม่นยำในการพยากรณ์อยู่ในระดับสูง (100%)
Other Abstract: To study the determinants for success of production division of small and medium enterprises in food industry. The method of the study consists of two sample groups, from thirty two companies registered and Department of Internal Trade, which are successful businesses and unsuccessful businesses. The method applies the discriminant analysis to consider their procedures which, therefore, are able to classify successful or unsuccessful businesses. From the study, it is found that the procedures which determine the success of production sector of small and medium food industry enterprises consist of 6 factors ordered by their importance. 1. Financial planning. 2. Research and development to increase its production performance. 3. Regular improvement in procedures in order to minimize possible mistake in the future. 4. Products variety and promotion in new products and media advertising. 5 Certain process of personnel recruitment. 6 Survey of customer satisfaction. Besides that, the analysis also contains a predicting equation for the business success. The critical point of the equation, -1.907, will determine the success of the business. The business which shows a score of equation greater than the critical point will meet its success, otherwise unsuccess. And from the study, the equation is found to be highly accurate (100%)
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12923
ISBN: 9741420676
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narathorn_Pa.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.