Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12948
Title: คติการสร้างเรือนมงคลสูตรของกลุ่มสกุลช่างเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
Other Titles: Principles of Mangkala Sutra house at Koh Yo Muang district Songkla province
Authors: ชัยวัฒน์ แก้วนุรัชดาสร
Advisors: วันชัย มงคลประดิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสร้างบ้าน -- คติชาวบ้าน
ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง -- คติชาวบ้าน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: คติมงคลสูตรซึ่งพบในชุมชนเกาะยอนั้นเป็นคติความเชื่ออันได้รับอิทธิพลมาจากการผสมผสานของศาสนาอันหลากหลาย ผนวกกับคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวเกาะยอ และภูมิปัญญาของชาวเกาะยอที่สามารถยึดถือเป็นหลักการในการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดความสุข ความสมบูรณ์ทางจิตใจ ที่สำคัญคือสามารถนำมาประยุกต์พัฒนาศาสตร์นั้น ผสมผสานกับศาสตร์ทางช่างในการสร้างพื้นที่อันมีความเหมาะสมในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปตามคติมงคลสูตรซึ่งสถานที่นั้นก็มีชื่อเรียกว่า เรือนมงคลสูตรนั่นเอง เรือนมงคลสูตรเป็นสถานที่อันเป็นสัญลักษณ์ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณหรือมณฑลในตัวเองแล้วอีกทั้งยังมีความสำคัญในการเป็นสถานที่สัพพายะในการทำให้จิตของผู้ครองเรือนเข้าถึงภาวะบริสุทธิ์ความสัมพันธ์อีกประการหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นลักษณะเฉพาะของสถานที่หรือเรือนมงคลสูตรนั้นๆ ก็คือ มาตราสูตรที่มาจากคติมงคลสูตร มงคลสูตรหมายถึง แผนภูมิทางจักรวาลวิทยาซึ่งมีความหมายเกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณของมนุษย์เป็นหลักการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาวะทางธรรมชาติ เพื่อให้ชีวิตมีความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณในทางที่ดี ในกระแสความสมบูรณ์ดังกล่าวเป็นการประสานพลัง สถิตกับพลังเคลื่อนไหว พลังชีวิตมงคลชายกับพลังชีวิตมงคลหญิง ซึ่งในมงคลสูตรกล่าวถึงในแง่ของ ชีวิตกับความคิด เมื่อผูกความสัมพันธ์นี้กับคติทางศาสนาก็คือ กรุณากับปัญญา ซึ่งแนวคิดทางจิตวิญญาณเหล่านี้มีการถ่ายทอดรูปแบบความเข้าใจในความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณหรือมณฑลให้ปรากฎเป็นรูปธรรมคือ เรือนมงคลสูตร มาตราสูตรในทางมงคลสูตรหมายถึง สัดส่วนมงคลอันเกิดจากสัดส่วนร่างกายของเจ้าของเรือน ดังนั้นสัดส่วนเรือนมงคลสูตรแต่ละเรือนจึงมีลักษณะเฉพาะ โดยมาตราสูตรถ่ายทอดความหมายจากมงคลสูตร (นามธรรมที่กล่าวถึงมณฑลทางจิตวิญญาณ) สู่สถานที่อันมีความเหมาะสมในการดำเนินชีวิตสู่ความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณของบุคคลนั้นๆ
Other Abstract: Mangkala Sutra at Koh Yo community is a belief generated by a combination of many religions, Kho Yo residents’ traditional beliefs and their indigenous knowledge. They consider the principles in Mangkala Sutra as a way of living which will bring physical and mental happiness. More importantly, these principles can be combined with construction principles so that they can build their houses according to Mangkala Sutra. A Mangkala Sutra house is a place symbolizing a healthy spiritual mind and is a place for its owner to gain access to the purity of mind. Another distinctive feature of this place is that it follows Mangkala Sutra measurements. Mangkala Sutra is a science of the universe related to the human being’s healthy spiritual mind. With this, a human can live peacefully and perfectly with nature. To achieve a healthy spiritual mind, a static force and a moving force have to be combined including the combination of the good male life force and the good female life force. The principles of Mangkala Sutra cover life and ideas which can be compared with kindness and wisdom in a religious belief. These principles are materialized into a Mangkala Sutra house. Mangkala Sutra measurements are good proportions following the house owner’s proportions. As a result, each house is different from another. Mangkala Sutra measurements are based on the principles of Mangkala Sutra and are represented by a house which is a perfect place for its owner to seek a healthy spiritual mind.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12948
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.916
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.916
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwat.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.