Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13102
Title: | การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Participation in community-based ecotourism management : a case study of Kiriwong Community, Lansaka District, Nakhon Si Thammarat |
Authors: | กิ่งแก้ว บัวเพชร |
Advisors: | สุริยา วีรวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Suriya.V@Chula.ac.th |
Subjects: | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- การมีส่วนร่วมของประชาชน ท้องถิ่นนิยม คีรีวง (นครศรีธรรมราช) |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ปัจจัยที่ทำให้การจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนประสบผลสำเร็จ และเสนอแนะแนวทางการจัดการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่ทำให้ชุมชนจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant observation) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informant interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Group interview) ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนคีรีวงเป็นพื้นที่ที่มีการใข้ทรัพยากรธรรมชาติในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนมี 3 ระยคือ ระยะเริ่มต้นจัดการท่องเที่ยว (ก่อน พ.ศ. 2539-2542) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2542-2545) และระยะปัจจุบัน (พ.ศ. 2542-2549) แต่ละระยะประกอยด้วยขั้นตอนการมีส่วนร่าม 4 ขั้นตอนคือ การวางแบบแผน(Planning) การปฏิบัติตามแผน (Implementation) การติดตามและการประเมินผล (Monitoring and evaluation) และการรับผลประโยชน์ (Benefit sharing) ขั้นตอนการมีส่วนร่วมนั้นมีความแตกต่างกันคือ ระยะเริ่มต้น ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชน (มูลนิธิโกมลคีมทองและมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม) ในด้านแนวคิดการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ได้เรียนรู้แนวทางจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการการท่องเที่ยว จัดตั้งชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวงมาบริหารจัดการท่องเที่ยวของชุมชน และให้ชาวบ้านร่วมเป็นสมาชิก ระยะที่ 2 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ชาวบ้านร่วมปฏิบัติตามแผนงานแต่การวางแผนและการติดตามผลเป็นหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐโดยตรง นอกจากนี้มีสถาบันการศึกษามาให้ความรู้ภาษาอังกฤษกับสมาชิกชมรมและชาวบ้าน ให้สื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้ และทำวิจัยมาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ร่วมกับนักวิจัยชุมชนในระยะปัจจุบัน ทำให้มีการปรับกระบวนการทำงานและพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง ได้แก่ ทุนทางธรรมชาติ ทุนมนุษย์ ทุนสังคมและวัฒนธรรม ทุนทางกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน และทุนการเงิน ปัจจัยภายในที่เป็นจุดอ่อน ได้แก่ การจัดแบ่งการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในชุมชน ความขัดแย้งในการทำงานของคณะกรรมการ การบริหารจัดการชมรม และ 2) ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ แผนและนโยบายในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและเทคโนโลยี ปัจจัยภายนอกที่เป็นภัยคุกคาม ได้แก่ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ปัญหาจากนักท่องเที่ยว ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกทำให้การจัดการการท่องเที่ยวของชุมชนในแต่ละระยะมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้มีศักยภาพที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ขมรมการท่องเที่ยวสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทำงานได้ดี แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อให้ชุมชนจัดการท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง อาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุน สามารถถ่ายทอดความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่ชาวบ้านในชุมชนและนักท่องเที่ยวได้ |
Other Abstract: | To study the participation process in the management of the community-based ecotourism, to study the internal and external factors affecting community-based ecotourism and to propose the guidelines for sustainable community-based ecotourism. The research uses qualitative method, data collection through participant observation, key informant interview and group interview. The study shows that Kiriwong community is an area with community-based ecotourism management. The process of community-based ecotourism management has three phases. The first phase began in 1996-1999, the second phase started in 1999-2002, and the present phase is from 2002-2006. Each phase comprises of four participation steps which are planning, implementation, monitoring and evaluation, and benefit sharing. The details in each phase are as follow; the first phase was supported by private sectors which are Komol-Keemthong Foundation and Thai Volunteer Service to initiate the ideas of community-based ecotourism management. In this phase the community has learnt the process of communities with successful ecotourism management and set Kiriwong ecotourism club to manage tourism in the community members. The second phase was supported by goverment sector to develop ecotourism management plan. In this phase the community members have taken part in implementation while planning and evaluation were responsible by goverment officers. In addition there were educational institutes teaching English to club members and people in the community to be able to communicate with foreign tourists and doing researches in community-based ecotourism standards with community researchers in the current phase. This helps modify the working processes and development the ecotourism management to become more efficient. The internal factors and extenal factors affecting community-based ecotourism management are 1) internal factors - which can be strength - are natural resources, human, social and cultural, physical and infrastructure and financial resources factors. Internal factors - which can be weakness - are land uses, commitee' conflict and Tourism club' management and 2) external factors - which can be opportunities of threats - are plan and policy in tourist development, ecotourism trend, goverment, non-goverment organizations and technology. External factors - which can be threats are promotion publicity, problems from tourist. Both internal and external factors induce modifications in each phase of the development and lead to more effective ecotourism management. Tourism club can will solve problems incurred. The guidelines for sustainable community-based ecotourism management should recruit involvement from people in the community at all level as well as support from both public and private sectors to pass on the knowledge of ecotourism management and natural resource conservation to people in the community and to the tourists. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พัฒนามนุษย์และสังคม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13102 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1521 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1521 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kingkaew_Bu.pdf | 3.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.