Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13280
Title: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบบูรณาการพหุมิติ ของประสิทธิผลของคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษา
Other Titles: Development of a multi-dimensional and integrated causal model of faculty effectiveness in higher education institutions
Authors: ฤตินันท์ สมุทร์ทัย
Advisors: สุกัญญา โฆวิไลกูล
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sukanya.K@Chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: ประสิทธิผลองค์การ
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบบูรณาการพหุมิติ ของประสิทธิผลของคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษา โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร และตัวแปรสังเกตได้ 17 ตัวแปร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ คณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 211 คณะวิชา สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสำหรับคณบดี อาจารย์ และนักศึกษา เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความสอดคล้องระหว่างความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิระหว่าง 0.71-1.00 โดยทุกชุดได้ผ่านการทดลองใช้ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Conbach's alpha coefficient reliability) ตั้งแต่ 0.56-0.96 วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะการแจกแจงของตัวแปร และการทดสอบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของตัวแปรด้วย โปรแกรม SPSS v.12 ตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงแบบบูรณาการเชิงสาเหตุพหุมิติ ของประสิทธิผลของคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.72 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบบูรณาการพหุมิติของประสิทธิผลของคณะวิชา ในสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (ค่าไค-สแควร์ = 72.959 องศาอิสระ = 80, ค่า P = 0.727, GFI = 0.961, AGFI = 0.926) โมเดลการวัดประสิทธิผลแบบบูรณาการพหุมิติของคณะวิชา ประกอบด้วย 7 มิติ คือ ความพึงพอใจในการศึกษาและการพัฒนานักศึกษาเป็นรายบุคคล การพัฒนาด้านวิชาการของนักศึกษา การพัฒนาวิชาชีพให้กับนักศึกษา ความพึงพอใจในการจ้างงานของคณาจารย์และผู้บริหาร ความสามารถในการจัดหาทรัพยากร การพัฒนาวิชาชีพและคุณภาพที่ของคณาจารย์ และการเป็นระบบเปิดและปฏิสัมพันธ์กับชุมชน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของคณะวิชามากตามลำดับคือ นโยบายและการบริหารจัดการ ลักษณะของคณะวิชา ลักษณะของบุคคลในคณะวิชา และสภาพแวดล้อมภายในคณะวิชา โดยตัวแปรอิสระในโมเดล สามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของคณะวิชาได้ 71%
Other Abstract: To develop and validate the multi-dimensional and integrated casual model of faculty effectiveness in higher education institutions. This model, consisted of 5 latent variables and 17 observed variables. The sample consisted of 211 faculties from state universities and state autonomous universities, Rajahbat Universities, and private Universities, derived by stratified random sampling technique. The research instruments were questionnaires for deans, faculties, and students developed by the researcher. The validity of the instrument was verified by experts, having IOC value ranging from 0.71-1.00, and reliability of Cronbach's alpha coefficient ranging from 0.56-0.96. Basic statistics were performed to analyze the sample's background. The variables' distribution, and the analysis of variance were employed to compare means through SPSS version 12. LISREL program version 8.72 was employed to validate the model. The research results indicated that the model was valid and well fitted to the empirical data. (chi-square = 71.959, df = 80, P = 0.727, GFI = 0.961, AGFI = 0.926). The multi-dimensional measurement model of faculty effectiveness 7 indicated dimension of student education satisfaction and student personal development, student academic development, student career development, faculty and administrator employment satisfaction, professional development and quality of faculty, ability to acquire resources, and system openness and community interaction with factor loading ranging from 0.723-0.853. The factors strongly influencing faculty effectiveness were policy and administration, faculty characteristics, faculty personnel characteristics, and faculty internal environment. The predictors accounted for 71% of the variance in the effectiveness.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13280
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1421
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1421
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ruetinan.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.