Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13394
Title: บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียน : พหุกรณีศึกษา
Other Titles: Roles of teachers and parents in enhancing student's ethics : a multi-case study
Authors: สุสรรค์ ไชโยรักษ์
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Subjects: จิตวิทยาการศึกษา
ครู -- แง่ศีลธรรมจรรยา
บิดามารดาครู -- แง่ศีลธรรมจรรยา
นักเรียน -- แง่ศีลธรรมจรรยา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบบทบาท ครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมจริยธรรมให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่มุ่งส่งเสริมจริยธรรมกับในโรงเรียน ปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบจริยธรรมของนักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมจากบทบาทครูและผู้ปกครองในโรงเรียน ที่มุ่งส่งเสริมจริยธรรมและโรงเรียนปกติและ 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของครู และผู้ปกครองในการส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียน โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในลักษณะพหุกรณีศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนส่งเสริมจริยธรรม 1 โรงเรียน และโรงเรียนปกติ 1 โรงเรียน กรณีศึกษาครูแกนนำ 2 ท่าน กรณีศึกษาผู้ปกครอง 4 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับนักเรียนของกรณีศึกษาครูแกนนำ ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาท ของครูในการส่งเสริมจริยธรรม ประกอบด้วย 12 บทบาทคือ 1) ผู้เป็นแบบอย่างที่ดี 2) ผู้สร้างบรรยากาศ 3) ผู้สร้างกำลังใจ 4) ผู้จัดการเรียนรู้เพื่อฝึกการใช้ทักษะชีวิต 5) ผู้ฝึกนักเรียนให้มีความประพฤติชอบ 6) ผู้ฝึก นักเรียนให้แสวงหาความจริง 7) ผู้ฝึกนักเรียนให้เกิดความสงบในจิตใจ 8) ผู้ฝึกนักเรียนให้มีความรักความ เมตตา 9) ผู้ฝึกนักเรียนให้หลักอหิงสาในการดำเนินชีวิต 10) ผู้สอนด้วยประสบการณ์ผู้อื่น 11) ผู้มีความรัก ความเมตตา 12) ผู้ฝึกระเบียบวินัย และบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียน ประกอบด้วย 9 บทบาท คือ 1) ผู้ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย 2) ผู้สร้างบรรยากาศ 3) ผู้สร้างความรักความผูกพัน 4) ผู้เป็นแบบอย่างที่ดี 5) ผู้สร้างระเบียบวินัย 6) ผู้สอนวิธีคิด 7) ผู้สร้างความไว้วางใจ 8) ผู้สร้างกำลังใจ และ 9) ผู้ยับยั้งพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 2. บทบาทครูในโรงเรียนส่งเสริมจริยธรรมเหมือนบทบาทครูในโรงเรียน ปกติ 4 บทบาท คือ ผู้เป็นแบบอย่างที่ดี ผู้สร้างบรรยากาศ ผู้สร้างกำลังใจ และผู้จัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ การใช้ชีวิต บทบาทผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมจริยธรรมและโรงเรียนปกติมีบทบาทเหมือนกัน คือ การสร้างความรักความผูกพัน การเป็นแบบอย่างที่ดี และการสร้างระเบียบวินัย 3. นักเรียนในโรงเรียน ส่งเสริมจริยธรรม มีจริยธรรมระดับความต้องการเพื่อตัวเองร้อยละ 62.5 จริยธรรมระดับความต้องการ เพื่อคนใกล้ชิด ร้อยละ 25 และจริยธรรมระดับความต้องการเพื่อสังคม ร้อยละ 12.5 ส่วนนักเรียนในโรงเรียน ปกติมีจริยธรรมระดับความต้องการเพื่อตัวเอง ร้อยละ 75 และจริยธรรมระดับคนใกล้ชิด ร้อยละ 25 และไม่พบจริยธรรมระดับเพื่อสังคม 4. ปัจจัยที่สนับสุนบทบาทของครู คือ 1) การบริหารจัดการ 2) การตระหนักถึงการสร้างคนดี 3) การสร้างบรรยากาศ 4) บุคลิกและความสามารถเฉพาะตัวของครู 5) การจัดการการสอน 6) ความหลากหลายทางวัฒนธรรม 7) งบประมาณ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ 1) การขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี 2) ทัศนคติและการร่วมมือที่ดีของผู้ปกครอง 3) สื่อภายนอก 4) การขาดความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมจริยธรรมที่ทันต่อเหตุการณ์ ส่วนปัจจัยที่สนับสนุนบทบาทของผู้ปกครอง คือ 1) ลักษณะของอาชีพ 2) การเรียนรู้ประสบการณ์จากสังคม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ 1) การบริหารจัดการเวลา 2) กลุ่มเพื่อนนักเรียน
Other Abstract: The objectives of this research were: 1) to study the role of teachers and parents in enhancing ethics in students. 2) to compare the role of teachers and parents in enhancing students' ethics in the enhancing ethics school with the normal school 3) to compare ethics of students who received the enhancement ethics from the role of teachers and parents in the enhancing ethics school and normal school 4) to study the supportive factors and obstacle factors from teachers and parents in enhancing ethics in students. The qualitative methods in multi-case study was employed. One case study was the enhancing ethics school and the other was the normal school. Data were collected for a period of 5 months by documentary analysis, observation, interviews and focus group. The results of the research indicated: 1. The role of teachers in enhancing ethics consisted of 12 methods; 1) being good example 2) creating an atmosphere 3) inspiring 4) the quality of love and compassion 5) practice suitable students' behavior 6) practice students' discovery truth 7) practice students' peaceful mind 8) practice students' love and compassion 9) practice students' non-violence 10) teaching using the experience of others 11) being love and compassion 12) enhancing in discipline. The role of parents in enhancing ethics in students consisting of 9 methods; 1) enhancing the physical development 2) creating an atmosphere 3) creating loving relationship 4) being a good example 5) creating discipline 6) teaching analytical thinking 7) building up trust 8) inspiring 9) preventing negative behaviors 2. The role of teachers in enhancing ethics in the enhancing ethics school were similar to normal school in 4 role; 1) being good example 2) creating an atmosphere 3) inspiring 4) teaching using the experience of others. The role of parents of students in 2 schools is similar, that is building of loving relationship, setting up good examples and creating discipline. 3. Students in a school enhancing ethics have the ethics level 62.5% for self that requires self imprvement, 25% for the close up person and 12.5% for the society whereas in the normal school 75% for self improvements, 25% for close up person and none for the society. 4. The supportive factors forthe role of teachers were 1) management 2) commitment to create good people 3) creating an atmosphere 4) teacher's character and ability 5) instruction 6) variety of cultures 7) budget and the obstacle factors were 1) lack of good publicity 2) parents' attitude and participation 3) external media 4) lack of updated knowledge. The supportive factors for the role of parents were 1) the characteristics of occupation 2) learning from experience of the society and the obstacle factors were 1) time management 2) group of friends.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13394
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.558
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.558
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Susan_Ch.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.