Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13440
Title: ความรักในทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต
Other Titles: Love in Sanskrit poetics
Authors: ปาจรีย์ ณ นคร
Advisors: ประพจน์ อัศววิรุฬหการ
ทัศนีย์ สินสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Prapod.A@Chula.ac.th
Tasanee.Si@Chula.ac.th
Subjects: ความรักในวรรณคดี
วรรณคดีสันสกฤต
กวีนิพนธ์สันสกฤต
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความรักในทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤต รวมทั้งศึกษาความเหมือนและความต่างของความรักในทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤตกับความรักในวรรณคดีสันสกฤต โดยศึกษาข้อมูลเรื่องทฤษฎีความรักจากวรรณคดีสันสกฤตประเภทตำรา 3 เล่มคือ นาฏยศาสตร์ ทศรูปกะ และสาหิตยทรรปณะ และศึกษาเรื่องความรักในวรรณคดีสันสกฤตประเภทขัณฑกาพย์ 3 เรื่องคือ อมรุศตกะของกวีอมรุ ศฤคารศตกะของภรรตฤหริ และเจารปัญจาศิกาของพิลหณะ นาฏยศาสตร์กล่าวถึงความรักระหว่างชายหญิงว่าเป็นศฤงคารรสซึ่งเป็นหนึ่งในรสทั้งแปด การเกิดขึ้นของรสเกี่ยวข้องกับภาวะต่างๆหลายขั้นตอนคือ สถายิภาวะ (ความรู้สึกถาวรและดำรงอยู่นาน) อนุภาวะ (ผลของความรู้สึกที่มีมาก่อน) สาตตวิกภาวะ (ความรู้สึกที่แท้จริง ซึ่งทำให้มีการแสดงออกโดยทันทีและโดยไม่ตั้งใจ) และวยภิจาริภาวะ (ความรู้สึกที่เกิดขึ้นและหายไปในระยะที่ไม่แน่นอน) ทฤษฎีรสในนาฏยศาสตร์นี้ได้รับการยอมรับจากนักคิดชาวอินเดียในสมัยต่อมา และกลายเป็นทฤษฎีหนึ่งในทศรูปกะและสาหิตยทรรปณะ โดยมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ความรักหรือศฤงคารรส แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สัมโภคะ (ความรักที่สมหวัง) และวิประลัมภะ (ความรักที่ต้องพลัดพรากจากกัน) โดยทศรูปกะได้เพิ่มเติมไว้อีกหนึ่งประเภทคือ อโยคะ ซึ่งแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกับวิประลัมภะเลย ในส่วนของขัณฑกาพย์ทั้ง 3 เรื่องที่อ้างมา เป็นบทลำนำที่เขียนขึ้นด้วยภาษาสันสกฤต ประดับด้วยอลังการต่างๆ และตามรอยทฤษฎีของนาฏยศาสตร์ ขัณฑกาพย์ทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นคำประพันธ์ที่บรรยายความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะเมื่อคู่รักต้องพลัดพรากจากกัน ส่วนเจารปัญจาศิกาก็แสดงให้เห็นถึงความทรงจำและความคิดถึงกัน ซึ่งเป็นอนุภาวะตลอดทั้งเรื่อง
Other Abstract: To study the Sanskrit theory of love, especially the similarities and the difference between theoretical love on the one hand, and love as a sentimental bond between a loving couple in Sanskrit lyrical kavyas on the other. For studying love as a technical term, three texts are selected, namely, Natyasastra, Dasarupaka and Sahityadarpana, while the popular sense of love in Sanskrit lyric poetry is studied from three Khaandakavyas, namely, Amarusataka, Srngarasataka and Caurapancasika. The Natyasastra calls love, the feeling of two mutually enamoured persons of opposite sex, by the theoretical name Erotic Sentiment (Srngara Rasa). There are altogether eight kinds (or four related pairs) of Sentiments. The formation of any Rasa or Sentiment involves many other fellings in several stages, such as Sthayi-Bhava (permanent or enduring felling), Anubhava (consequence of previous felling), Sattvika-Bhava (fleeting feeling during the period of uncertainty). The theory put forth by the Natyasastra is accepted by later Indian thinkers, and gives rise to the Sentiment Theory in the Dasarupaka and the Sahityadarpana with minor variations. Love or Srngara Rasa, as a prominent sentiment, is divided by Natyasatra into two kinds, namely, love in union (Sambhoga) and love in separation (Vipralambha). Dasarupaka adds another kind called Ayoga, which is little more than Vipralambha. Other theoreticians divide Love in Separation into four kinds, namely, Abhilasa, Mana, Pravasa and Karuna. The three Khandakavyas quoted above are written in beautiful Sanskrit, well adorned with Alankaras, and follows the Sentiment theory of the Natyasastra. They are effective in their realistic description of the feeling of love, especially when the two lovers are separated (Vipralambha). Caurapancasika shows shows very strongly the Smrti or Recollection which is a phase of the Anubhava throughout the poems.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาบาลีและสันสกฤต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13440
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1707
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1707
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pajaree_na.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.