Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13488
Title: | ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Bit torrent |
Other Titles: | Legal problem related to bit torrent technology |
Authors: | อริศรา ศันสนีย์วิทยกุล |
Advisors: | อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Eathipol.S@Chula.ac.th |
Subjects: | พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 การละเมิดลิขสิทธิ์ อินเตอร์เน็ต -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Bit torrent โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ความคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์จากการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว จากการวิจัยพบว่า แม้ว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะสามารถปรับใช้หรือตีความขยายในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการใช้เทคโนโลยี Bit torrent ได้ แต่ยังไม่ครอบคลุมไปถึงความรับผิดของเจ้าของเว็บไซต์ (Tracker) ที่เปิดให้บริการเทคโนโลยีดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความรับผิดละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงเห็นได้ว่ากฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่อาจครอบคลุมไปถึงประเด็นปัญหาใหม่ ที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น จึงควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 บางประการ เพื่อให้มีความชัดเจนแก่การปรับใช้กฎหมายให้เหมาะสมต่อไป ประเด็นปัญหาเรื่องการการรับ-ส่งข้อมูลที่เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือมีลักษณะอันลามก และปัญหาการรับ-ส่งข้อมูลที่มีไวรัส โดยการใช้เทคโนโลยี Bit torrent ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ผู้นำเข้าสู่ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว และการกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เป็นความผิด ประเด็นปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลในกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยการใช้เทคโนโลยี Bit torrent ที่มีความเกี่ยวพันกับต่างประเทศ ซึ่งจะต้องพิจารณาก่อนว่าศาลไทยมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีหรือไม่ อย่างไร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 นอกจากนี้ ประเด็นปัญหาเรื่องการให้ความคุ้มครองผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตความรับผิดและหน้าที่รับผิดชอบของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จึงอาจทำให้ต้องรับผิดเกินขอบเขตหน้าที่ที่ควรจะต้องรับผิดชอบต่อเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงควรมีหลักกฎหมายดังกล่าวเพื่อความชัดเจนและเป็นการคุ้มครองผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) |
Other Abstract: | To study legal problem related to Bit Torrent technology, especially the protection of copyright material from the use of bit torrent technology. According to this research, the Copyright Act, B.E. 2537 can be adjusted or interpreted to cover the Bit Torrent piracy cases. However, without the determination of direct or indirect liability for piracy, this law does not extend to the liability of the tracker providing such service. Moreover, since it is clearly that the Copyright Act does not cover new legal issues that have become more complex, this law should be partially amended and clarified for suitable application of law. In the issue of transmission and receiving insulting or obscene information and information that contains virus through bit torrent, the Computer Crime Act, B.E. 2550 identifies the act of person who imports such information to a computer system or commits any act that causes the computer system of other person fails to operate normally as an illegal act. Moreover, in the issue of jurisdiction problem in the case of Bit Torrent internet piracy related to foreign country, it should be considered whether Thai court has jurisdiction over the case or not and how the court adjudicates the case according to the Civil Procedure Code, the Criminal Procedure Code and the Act for the Establishment of and Procedure for Intellectual Property and International Trade Court, B.E. 2539. Finally, in the issue of internet service provider (ISP) protection, since Thailand does not have the law that delimits liability and responsibility of the ISP, the ISP may face problem of being overly liable to the copyright owner. Consequently, establishing the rule of law in such case is needed to clarify existing law and protect the ISP. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13488 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1718 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1718 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arisara_su.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.