Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13506
Title: | เศรษฐศาสตร์การเมืองกับการจัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | A Political economic analysis of waste dispose and transport in Nonthaburi Province |
Authors: | ธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์ |
Advisors: | พุทธกาล รัชธร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Buddhagarn.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การกำจัดขยะ -- ไทย -- นนทบุรี การกำจัดขยะ -- การว่าจ้างให้ผู้อื่นทำงานแทน นโยบายสาธารณะ เศรษฐศาสตร์การเมือง |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อิทธิพลการเมืองของผู้นำระดับท้องถิ่น จังหวัด และประเทศในการวางรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย รวมทั้งศึกษารูปแบบที่เหมาะสม ความคงอยู่และความเป็นไปได้ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลนครนนทบุรีมีการบริหารการจัดการขยะโดยเทศบาลเป็นผู้ดำเนินการเอง แล้วนำไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่าร้านหนึ่ง ที่มีการทำสัญญาด้วยวาจากับทางเทศบาล ซึ่งมีความสัมพันธ์ในลักษณะของระบบอุปถัมภ์ โดยมีส่วนเอื้อประโยชน์ให้กับพนักงานของเทศบาลที่ได้รับประกันคุณภาพชีวิต ซึ่งบริการด้านประกันคุณภาพชีวิตเป็นส่วนที่รัฐไม่ได้จัดสวัสดิการไว้ให้ ต้องเสนอเป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนกับการที่พนักงานเก็บขยะนำขยะที่เป็นของเสียไปจำหน่ายให้เพียงเจ้าเดียว การที่ร้านค้ารับซื้อของเก่าทำประกันชีวิตให้พนักงานเก็บขยะ กวาดขยะเทศบาลนั้นเป็นการประหยัดรายจ่ายด้านสวัสดิการของพนักงานเทศบาล ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนต่อภาครัฐและภาคธุรกิจในการบริหารจัดการขยะ พบว่า มีลักษณะของระบบอุปถัมภ์ และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในลักษณะเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ในขณะที่รัฐมีหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดกติกาการแข่งขัน แต่กลุ่มภาคธุรกิจดังกล่าวก็มีความสัมพันธ์กับรัฐในด้านของการสนับสนุนหรือช่วยเหลือ ในเรื่องสวัสดิการต่อลูกจ้างของภาครัฐ ซึ่งในหลักการรัฐต้องมีหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลควบคุมกติกา ในการดำเนินไปในลักษณะของการแข่งขันอย่างเป็นเสรีและเป็นธรรม |
Other Abstract: | This research has the objectives of studies of the stake holder characteristics’ political influence of local and provincial as well as national leaders in management planning of garbage management in Nonthaburi Area. This result of studies shows that Nonthaburi metropolitan has carried out the garbage management by them before selling the garbage to the only material -recycling trader by oral contract with the metropolitan. The trader has been in good relationship or under the patronage of metropolitan. In return for these, the metropolitan’s officials (garbage collectors) have been offered their health insurance funded by that material recycling trader. These mutual benefits help to reduce the welfare fund of the metropolitan. The relationship between national benefits and business in the garbage management can be explained in terms of conflict of interests. The phenomenon is therefore prone to sharing benefits mutually. It can be seen that while the state has regulatory functions, the business groups can enjoy privileged benefits due to the fact that they have spent some money in support of the government’s activities. The conflict of interests happens and exists because policy maker probably receive some benefits in return. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13506 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1725 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1725 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teerawong_sa.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.