Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13820
Title: แนวทางการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เมืองเก่าลพบุรีอย่างยั่งยืน
Other Titles: Sustainable management guidelines for historical tourism in Lopburi old town
Authors: ทศพล ชื่นอุปการนันท์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suwattana.T@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- ลพบุรี
ลพบุรี -- ประวัติ
ลพบุรี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ลพบุรี -- โบราณสถาน
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เสนอแนะแนวทางการจัดการที่เหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เมืองเก่าลพบุรีอย่างยั่งยืน เนื่องจากเมืองลพบุรีนั้นเป็นเมืองปประวัติศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากเขมรราวตวรรษที่ 10 - 13 ซึ่ง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยได้สะท้อนถึงการผสมผสานที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ คุณค่า และวัฒนาธรรม และยังคงเหลือหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด และจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งก่อสร้างทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ทางบวกและทางลบ ดังนั้นการพัฒนาและป้องกันผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่จึงสมควรพิจารณาการวางแผนและจัดการอย่างเร่งด่วน มีวิธีศึกษาโดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในการศึกษาสถานการณ์การท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยการสำรวจภาคสนาม การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ข้อมูลการบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นำเทคนิค SWOT Analysis มาใช้เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสำคัญในระดับสูงเป็นกลุ่มที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมมากกว่า โดยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นิยมรู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น พระปรางค์สามยอด พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ศาลพระกาฬ ในด้านปัญหาที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ ด้านการบบริการการท่องเที่ยวและเกิดผลกระทบสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ในด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานท้องถิ่น ได้แก่การขาดการบริหารจัดการที่ดี การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบไม่ชัดเจน ปัญหาด้านงบประมาณ การขาดการประสานงานและปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้นแนวทางการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เมืองเก่าลพบุรีอย่างยั่งยืน สามารถแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง คือ 1) แนวทางการจัดการด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยการ บูรณะ ปรับปรุงเพื่อคงรักษาสภาพไว้ให้ดีที่สุด 2) แนวทางการส่งเสริมกรตลาดและบริการโดยการประชาสัมพันธ์ รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามาส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาทั้งในภาครัฐและเอกชน 4) แนวทางการจัดการโครงสร้างพื้นฐานและบริการท่องเที่ยว จัดระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปโภคแก่นักท่องเที่ยว พร้อมระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเพื่อเชื่อมโยงกับแหล่งพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นๆ จากแนวทางการพัฒนาดังกล่าวจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยว เอกลักษณ์ และคุณค่าของเมืองเก่าลพบุรีไว้เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนัก ความหวงแหน ต่อทรัพยากรที่ตนมีอยู่เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Other Abstract: To give appropriately management guidelines for historical tourism in Lopburi old town. Maung Loburi was one of the important ancient towns of the Khmers from the 10th-13th century. Most of the architecture of several period reflects the mixture of identity, value, and cultural, which made the old town as one of tourism place attention in Lopburi Province. As the socio-economic and built environment change, it has been affected to area with positive and negative impacts. Thus, developing and protecting of tourism resources should be immediately planned and managed. Methods of research study were primary and secondary data to obtain tourism situations in area by surveying, interviewing, and questionnaire about tourism impact, tourism development and tourism management in study area. Finally the technique of Strength , Weakness (SWOT Analysis) technique was used to analyse of these data for providing sustainable management guidelines. The result of research was found that most of tourists visited only popular and important tourism place such as Phra Prang Sam Yot, Narai Ratchaniwet Palace, and San Phra Kan. The main problems in tourism sites were services and physical impact, while the ones of local management were lack of associated among organizations and governments, budget support, and public participation. Therefore, the management guidelines for historical tourism in Lopburi old town can be divided into four dimensions as following; 1) tourism and environment management by focusing on tourism development with renovation and improvement that retained the same old characteristic style, 2) services and marketing by promoting tourism information, 3) public participation by encouraging people to participation in tourism development process with public-private sectors, 4) facilities and infrastructures management by focusing the accessibility of tourists and efficient transportation to be linkage with other tourism sites. These guidelines will preserve tourism sites and identity value of Lopburi and town to raise people awareness for their resources to be sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13820
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.131
ISBN: 9741421729
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.131
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tosaphol_Ch.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.