Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13867
Title: Feeding ecology of spotted scat scatophagus argus, linnaeus in mangrove forests Pak Phanang estuary, Nakhon Si Thammarat Province
Other Titles: นิเวศวิทยาการกินอาหารของปลาตะกรับ Scatophagus argus, linnaeus ในบริเวณป่าชายเลนลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
Authors: Supichaya Wongchinawit
Advisors: Nittharatana Paphavasit
Achariya Sailasuta
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: nitthar@sc.chula.ac.th
Achariya.Sa@Chula.ac.th
Subjects: Scatophagus argus -- Feeding and feeds
Mangrove forests -- Thailand -- Nakhon Si Thammarat
Pak Phanang
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Feeding ecology of spotted scat Scatophagus argus, Linnaeus in mangrove forests Pak Phanang Estuary, Nakhon Si Thammarat Province is used as the assessment on the role of mangrove forest as food source for fish. Feeding strategies in different stages in relation to feeding structure morphology, development of alimentary tracts and associated digestive organs and assimilation efficiency are determined. The trophic role of Scatophagus argus in mangrove food webs was demonstrated. Niche partitioning in spotted scat, Scatophagus argus and adult tade mullet, Liza planiceps sharing the same food resources was also demonstrated. The role of mangrove plantations in Pak Phanang Estuary supported the availability of food source, nursery ground and habitat for spotted scat as true resident species. The study showed the increase in organic detritus in term of forest biomass as the mangrove plantations aged. The gastropods, nematodes and insect larvae also found as dominant benthos. Diatom and cyanobacteria were most dominant microphytoplankton. Zooplankton diversity dominated by copepod, mollusk larvae, cirripedia nauplii, zoea of brachyuran, rotifers and shrimp larvae. These provided rich food sources for spotted scat. Diatoms and cyanobacteria were the most common dietary components in each stage. Spotted scat showed broad diets, being omnivore and opportunistic feeder. Spotted scat showed ontogenetic niche shift with larval stage predominantly fed in the surface water and in water column. Juveniles were the transition stages feeding in the water column and bottom substrates. Adults were adapted to feed on bottom substrates. Protozoa, benthos and detritus showed different ratio in diet of each stage. Due to the flexibility in spotted scat feeding, this fish was classified as secondary consumers in the Pak Phanang mangrove food webs sharing the same trophic levels with zooplankton feeders and benthic feeders. Histological study of alimentary system of spotted scat revealed the variations according to ages and feeding habits. In large fish, smaller and numerous teeth were found. The fundic portion has gastric glands increasing markedly with ages which secrete gastric juices for digestion. The pyloric caeca appeared to be the important sites for lipid digestion allowing optimized absorption. The villi on the intestinal walls increased markedly in the duodenum as the main absorptive site. The bile duct from the liver and gall bladder together with enzymes from the pancreas are all sent into the duodenum portion. Morphological and histological studies of the alimentary system correlated to the relative importance of components in diets of each stage and ontogenetic niche shift. Spotted scat in each stage showed the feeding ecology following optimal foraging theory. Optimal prey size suitable to mouth gape that maximizes food consumed per unit capture, were choosen. Acquisition of diets also based on the nutritional quality and energy as revealed from the assimilation efficiency study. Niche partitioning between spotted scat and tade mullet were shown by differences in feeding morphology and behavior, alimentary system and seasonal shifts in relative importance of different components in diets. The study confirmed tade mullet were herbivore. Niche overlap in food items, mainly microphytoplankton and detritus, were evidenced in spotted scat and tade mullet diets. From this study, the role of mangrove reforestation in Pak Phanang Estuary is important in providing food sources and habitats for spotted scat. This fish showed flexibility in term of feeding and physiological tolerances which allow survivals in estuarine environment in Pak Phanang Estuary. This fish is the good indicator for monitoring changes in mangrove and environmental condition. Thus the spotted scat culture should be promoted as supplementary income for coastal communities. Releasing spotted scat fry into the estuary along as a part of the mangrove reforestation program are recommended to sustain the fishery in the area.
Other Abstract: ศึกษาความสำคัญของป่าชายเลนต่อประชาคมปลาตะกรับในแง่เป็นแหล่งอาหาร โดยศึกษารูปแบบลักษณะการกินอาหารและพัฒนาการของระบบทางเดินอาหารรวมทั้งประสิทธิภาพการย่อยและดูดซึมอาหารของปลาตะกรับ เพื่อทราบถึงบทบาทของปลาตะกรับในการถ่ายทอดพลังงานในป่าชายเลน นอกจากนี้ยังศึกษาการแบ่งสรรทรัพยากรในกลุ่มประชากรปลาตะกรับกับปลากระบอก ที่มีลักษณะการกินอาหารคล้ายคลึงกัน ผลการศึกษาพบปลาตะกรับอาศัยป่าชายเลนปลูกบริเวณอ่าวปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างถาวร เป็นทั้งแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลและที่อยู่อาศัย โดยเมื่อป่าชายเลนมีอายุมากขึ้นทำให้ปริมาณอินทรีย์สารในมวลชีวภาพในส่วนต่างๆ ของพันธุ์ไม้สูงขึ้น และปริมาณสัตว์หน้าดินพบหอยฝาเดียว หนอนตัวกลม และตัวอ่อนแมลงเป็นกลุ่มเด่น ส่วนแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอมและไซยาโนแบคทีเรียพบเป็นกลุ่มเด่นในบริเวณนี้ เช่นเดียวกับแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นได้แก่ โคพีพอด ตัวอ่อนหอย ตัวอ่อนเพรียง ตัวอ่อนปู โรติเฟอร์ และตัวอ่อนกุ้ง สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของปลาตะกรับ องค์ประกอบอาหารกลุ่มเด่นที่พบในกระเพาะอาหารของปลาทุกช่วงอายุคือ เพนเนตไดอะตอมและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน จากองค์ประกอบอาหารทั้งหมดที่พบในกระเพาะอาหารแสดงให้เห็นว่า ปลาตะกรับจัดอยู่ในกลุ่มที่กินทั้งพืชและสัตว์ ปลาตะกรับแสดงลักษณะการปรับตัวที่ดีมากในการเลือกกินอาหารในสภาพแวดล้อมที่มีการแปรผันสูง ปลาตะกรับมีการเปลี่ยนลักษณะการกินอาหารในแต่ละช่วงอายุ โดยระยะลูกปลาจะหาอาหารกินบริเวณผิวน้ำและกลางน้ำ ระยะวัยรุ่นหาอาหารกินบริเวณกลางน้ำและเริ่มหาอาหารที่บริเวณพื้น ขณะที่ระยะโตเต็มวัยกินอาหารที่บริเวณพื้น นอกจากนี้ปลาตะกรับยังมีการเปลี่ยนชนิดอาหารที่กินตามปริมาณอาหารโดยไม่เฉพาะเจาะจง โดยมีปริมาณของโปรโตซัว สัตว์ทะเลหน้าดินและอินทรีย์สารในกระเพาะอาหารมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ดังนั้นจากลักษณะการปรับตัวทางด้านการกินอาหารทำให้บทบาทของปลาตะกรับในสายใยอาหารระบบนิเวศป่าชายเลนอ่าวปากพนังอยู่ในลำดับขั้นเดียวกับกลุ่มปลาที่กินสัตว์ทะเลหน้าดิน กลุ่มปลาที่กินแพลงก์ตอนสัตว์ และกลุ่มปลาที่กินซากอินทรีย์สาร จากการศึกษาลักษณะทางเนื้อเยื่อวิทยาของระบบทางเดินอาหารของปลาตะกรับ พบลักษณะทางเนื้อเยื่อวิทยาระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงอายุ เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น ฟันจะมีขนาดเล็กลง จำนวนของซี่ฟันเพิ่มขึ้น กระเพาะอาหารส่วนกลางเป็นบริเวณที่ทำหน้าที่ย่อยอาหารและมีต่อมขับน้ำย่อยมากที่สุด จำนวนต่อมขับน้ำย่อยเพิ่มขึ้นไปตามช่วงอายุ ไส้ติ่งทำหน้าที่ช่วยผลิตน้ำย่อยย่อยไขมันและดูดซึมอาหาร จำนวนไส้ติ่งเพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงอายุ ทำให้อาหารหลายชนิดที่กินถูกย่อยได้มากขึ้น ขณะที่ลำไส้ส่วนต้นเป็นบริเวณที่มีพื้นที่ดูดซึมอาหารสูงสุด และพื้นที่ดูดซึมอาหารเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุด้วย บริเวณลำไส้ส่วนต้นมีน้ำย่อยที่สร้างมาจากตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี น้ำย่อยถูกส่งมาทางท่อน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ผลจากการศึกษาสัณฐานวิทยาและลักษณะเนื้อเยื่อวิทยาของระบบทางเดินอาหารแสดงให้เห็นว่า สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะการกินอาหารและอาหารที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงอายุ การเลือกกินอาหารของปลาตะกรับเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ Optimal Foraging Theory ปลาตะกรับแต่ละช่วงอายุเลือกกินชนิดอาหารที่มีปริมาณมาก ขนาดของอาหารเหมาะสมกับความกว้างของช่องปาก ลักษณะของฟันและซี่กรองเหงือก และความยาวของลำไส้ที่เพิ่มขึ้น อาหารที่เลือกกินเมื่อย่อยแล้วได้รับปริมาณโปรตีนและไขมันสูง รวมทั้งพลังงานสุทธิที่ได้รับสูงเช่นเดียวกัน เพื่อสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแบ่งสรรทรัพยากรอาหารระหว่างปลาตะกรับและปลากระบอก แสดงความแตกต่างระหว่างลักษณะทางสัณฐานวิทยาของระบบทางเดินอาหาร และมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารอย่างชัดเจน โดยปลาตะกรับเป็นกลุ่มปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์ ขณะที่ปลากระบอกเป็นกลุ่มปลาที่กินพืช ปลาทั้งสองชนิดมีไดอะตอมและอินทรีย์สารเป็นองค์ประกอบอาหารหลักที่ซ้อนทับกัน จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนในบริเวณอ่าวปากพนัง ในการเป็นแหล่งอาหารและแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาตะกรับ ปลาตะกรับมีการปรับตัวที่ดีมากในการเลือกกินอาหารและทางสรีรวิทยา ทำให้สามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่มีการแปรผันสูงในอ่าวปากพนัง เราสามารถใช้ปลาตะกรับเป็นดัชนีที่บ่งชี้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้เลี้ยงปลาตะกรับเป็นอาชีพเสริมสำหรับชุมชน และปล่อยคืนปลาตะกรับลงสู่อ่าวปากพนังควบคู่กับการปลูกและฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อเพิ่มผลผลิตประมงอย่างยั่งยืน
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Marine Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13867
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2067
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2067
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supichaya_Wo.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.