Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13898
Title: | A corpus-based study of commonly used Chinese idioms and their pedagogical design : a case study of Thai university students |
Other Titles: | การศึกษาและออกแบบการสอนสำนวนจีนที่ใช้โดยทั่วไปจากคลังข้อมูลทางภาษา : กรณีศึกษาของนักศึกษาไทย |
Authors: | Theerawat Theerapojjanee |
Advisors: | Suree Choonharuangdej |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Arts |
Advisor's Email: | No information provided |
Subjects: | Thailand -- Students Instructional systems -- Design Chinese language -- Idioms Chinese language -- Usage |
Issue Date: | 2006 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | ชาวจีนโดยทั่วไปจะนิยมใช้สำนวนจีนในงานเขียนต่างๆ เนื่องจากความสามารถในการใช้สำนวนจีนถือเป็น ลักษณะหนึ่งที่แสดงออกถึงความสามารถทางภาษาจีนและการเขียนบทความแต่จากการสังเกตพบว่า นักศึกษาไทยเอกวิชาภาษาจีนซึ่งไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทมักจะไม่นิยมใช้ สำนวนจีนในงานเขียนภาษาจีนของตน อันเป็นเหตุให้งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุของปัญหา ดังกล่าว รวมถึงแนวทางแก้ไข โดยจะศึกษาสำนวนจีนที่มีความถี่การใช้สูงสุด 100 สำนวนแรก จากคลัง ข้อมูลภาษาที่สร้างขึ้นจากข้อมูลข่าว 5 ประเภทซึ่งรวบรวมไว้ในช่วงวันที่ 1-31 มีนาคม 2549 จากเว็บไซต์ สำนักข่าวซินหัว และเหลียนเหอซินเหวินหว่างเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการเปรียบเทียบกับสำนวนจีน ที่ใช้ศึกษาในรายวิชาบังคับภาษาจีนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างศึกษาของงานวิจัย นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ศึกษาหน้าที่ทางไวยกรณ์และ ความหมายเชิง อรรถศาสตร์ของทั้ง 100 สำนวน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประกอบการออกแบบการสอนในส่วนท้ายของ วิทยานิพนธ์ รวมทั้งได้ออกแบบสอบถามเพื่อสำรวจปัจจัยความน่าจะเป็นต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของ ปัญหาข้างต้น ผลที่ได้จากการศึกษาพบว่า สำนวนที่ใช้สอนส่วนใหญ่ไม่ใช่สำนวนที่มีความถี่การใช้สูงและ จากการทดสอบความเป็นอิสระระหว่างการใช้สำนวนจีนกับระดับความรู้ภาษาจีนของนักศึกษารที่ระดับ นัยสำคัญ 0.05 พบว่าการที่ศึกษาไม่นิยมใช้ภาษาจีนไม่เกี่ยวกับระดับความรู้ภาษาจีนของนักศึกษา ปัจจัยที่เป็นไปได้ที่ทำให้นักศึกษาไม่นิยมใช้สำนวนจีนจากผลสำรวจคือ 1) เนื้อหาที่ใช้สอน 2) อิทธิพล ของภาษาแม่ 3) กิจกรรมการเรียนการสอน และ4) ความสนใจในการเข้าถึงสิ่งแวดล้อมทางภาษาจีน ดังนั้นแนวทางแก้ไขคือ ผู้สอนควรเลือกสอนสำนวนที่มีความถี่การใช้สูงก่อน และพยายามฝึกฝนผู้เรียน ให้ใช้สำนวนจนเกิดความเคยชิน อีกทั้งพยายามเน้นให้ผู้เรียน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ สำนวนจีน รวมถึงคอยช่วยเหลือและส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้ได้เข้าถึง และเรียนรู้สำนวนจีนจากสิ่งแวดล้อม ทางภาษาจีน ทั้งนี้ผลของการออกแบบการสอนสำนวนจีนแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนโดยสรุปดังนี้ 1) สอนให้รู้จัก 2)ฝึกให้ใช้เป็น และ3)ทำให้เคยชิน |
Description: | Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2006 |
Degree Name: | Master of Arts |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Chinese |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13898 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1790 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1790 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
theerawat.pdf | 2.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.