Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14056
Title: แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง
Other Titles: Ecotourism development guidelines in Pra-Sae River Basin, Rayong province
Authors: อังคณา แก้วคำหา
Advisors: ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.Si@chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- ลุ่มน้ำประแสร์ (ระยอง)
อุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- ระยอง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของลุ่มน้ำประแสร์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นองค์ประกอบหรือปัจจัยในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 2) วิเคราะห์ศักยภาพ ปัญหา และผลกระทบของการท่องเที่ยวในพื้นที่ศึกษา เพื่อประเมินศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ศึกษา และแนวโน้มการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 3) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการพัฒนา 4) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน ขั้นตอนในการศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจภาคสนามและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิ เอกสารต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ร่วมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวและประชาชนในท้องถิ่นรวม 230 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ศึกษาในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงปัญหาในพื้นที่ที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อเสนอเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง จากการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำประแสร์มีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีศักยภาพในระดับสูง และมีความหลากหลาย พื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำมีอุทยานแห่งชาติเขาชะเมาที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำ ประสบปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าของสวนผลไม้และสวนยางพารา พื้นที่ตอนกลางของพื้นที่เป็นชุมชนใช้น้ำเพื่อการเกษตร และพื้นที่ตอนล่างเป็นบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยกรป่าชายหาดและป่าชายเลน ในด้านปัญหาการรุกล้ำจากการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้ง และการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ขาดทิศทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศของพื้นที่ โดยเสนอแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำประแสร์ 3 ด้าน คือ การพัฒนาด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมวัฒนธรรม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ทั้งภาคราชการ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่มน้ำประแสร์ เป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต และทำให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำประแสร์ต่อไป
Other Abstract: The objectives of this study were (1) to study the current situation of ecotourism in Pra-Sae River basin as a factor for further development, (2) to analyze potential, problems and impacts of the areas so as to assess a prospective ecotourism development (3) to study the local participation concerning in the ecotourism management including problems and obstacles of an cooperative development, and (4) to purpose guidelines on ecotourism development in relation to community’s way of life. The research included the study of primary data from the field surveys and interviews with people concerned of 230 questionnaires of interviewing tourists and local people to analyze the current situation of ecotourism, and secondary data.The study analyze the potential of ecotourism development for the studied areas, and problems so as to recommend guidelines on ecotourism development in Pra-Sae River basin. From the study, it has been found that the ecotourism in Pra-Sae River basin had a high potential to develop due to its diversity sceneries. However, the upper basin of Khao Chamoa National Park composing of healthy forest and rivers have been intruded by orchards and rubber tree planting while the middle part of the basin is the community area using water from rivers for agriculture and the lower part of the basin which is full of forest around the beach and mangrove forest was also intruded by a shrimp farm extension. In addition, there was no direction to conserve natural resources and ecology system in those areas. The guidelines on the development of the ecotourism in Pra-Sae River basin based on 3 aspects they are the physical development, the economic development and the social and cultural development with the target to achieve a sustainable ecotourism development. It is important to strengthen the collaboration between public and private sectors and local people should so as to develop the ecotourism in Pra-Sae River basin which can generate a long-term income from tourism for local community.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14056
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1936
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1936
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angcana_Ka.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.