Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14204
Title: | การศึกษาโอกาสและความจำเป็นในการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม : วิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์การเมือง |
Other Titles: | To study on opportunity and necessity of legal aid fund for industrial victims : political economy analysis |
Authors: | ณฐพร โตประยูร |
Advisors: | วรวิทย์ เจริญเลิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Voravidh.C@chula.ac.th |
Subjects: | อุตสาหกรรม -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย เศรษฐศาสตร์สถาบัน บริการสังคม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กองทุนสิ่งแวดล้อม ค่าธรรมเนียมสิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาถึงสภาพปัญหามลพิษจากภาคอุตสาหกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับคนงานและประชาชน ปัญหาในการเรียกร้องค่าทดแทนความเสียหายในกระบวนการยุติธรรม ข้อจำกัดของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ในเรื่องกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมถึงศึกษาถึงแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้ง “กองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม” มีระเบียบวิธีวิจัย 2 วิธีคือ การวิจัยเอกสาร และการศึกษาข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกรณีศึกษาปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรม คือ โรงผลิตไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ และโรงงานทอผ้ากรุงเทพ จำกัด พบว่า ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงรอบๆ โรงไฟฟ้าเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ปอดอักเสบเรื้อรัง อันมีผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คนงานโรงงานทอผ้าฯ ได้รับเอาฝุ่นฝ้ายเข้าไปในปอดและป่วยเป็นโรค “บิสซิโนซิส” (Byssinosis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ มีการหายใจติดขัด เหนื่อยหอบ ไอเรื้อรัง ประชาชนจากกรณีศึกษาทั้งสองกรณีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษอุตสาหกรรม ได้เรียกร้องค่าเสียหายทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเรียกร้องผ่านศาลยุติธรรม แต่มาตรการที่มีอยู่ก็ไม่สามารถเยียวยาบรรดาผู้ได้รับความเสียหายและผลกระทบได้ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องข้อจำกัดของกองทุนสิ่งแวดล้อม ที่มิได้มีวัตถุประสงค์ครอบคลุมถึงประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องหามาตรการมาแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยใช้มาตรการทางเศรษฐศาสตร์ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย โดยการจัดตั้งกองทุนทดแทนเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากปัญหามลพิษทางอุตสาหกรรม โดยมีต้นแบบมาจากกองทุนสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหามลพิษรวมถึงการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบและความเสียหาย |
Other Abstract: | To investigate pollution problem from industry and the impacts on workers and people, compensation problem for damage in judicial system, the limitation of the Environmental Promotion and Conservation Act : 1992, and the proper establishment of “The fund for the industrial pollution sufferers”. The study was conducted by documentary analysis and in-depth interview. The case study of industrial pollution, Mae moh electrical generating factory and Khungthep textile factory, found people living nearby electrical generating factory have got chronic lungs diseases caused by sulfer dioxide. The workers in textile factory who inhale cotton dusts get “Byssinosis” disease causing wheezing, shortness of breathing, tightness of the chest, and coughing. The victims of two cases study have sued for compensation from both government sector and through court, but the existing measure can not alleviate their problems. Moreover there is the problem of limitation on environmental fund which does not cover the industrial polluted sufferers. So the government should use the economic and legal measures to recover those sufferers by establishing the remuneration fund. This remuneration fund should resemble the successful environmental fund in Japan. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14204 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1942 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1942 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natapor_to.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.