Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14272
Title: | ผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล |
Other Titles: | Effects of science experiences by using the inquiry cycle on science process skills of kindergarteners |
Authors: | ชนัญญา ไทยนิวัฒน์วิไล |
Advisors: | วรวรรณ เหมชะญาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Worawan.H@Chula.ac.th |
Subjects: | วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน การศึกษาขั้นอนุบาล |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล 4 ทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการวัด และทักษะการสื่อความหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาลวัดโคกสะท้อนจำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์โดยวิธีวัฏจักรการสืบสอบหาความรู้ จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์แบบปกติจำนวน 32 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าร้อยละ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study effects of science experiences by using the inquiry cycle on four science process skills of kindergarteners regarding observation, classification, measurement, and communication. The samples were 64 kindergarteners at the age of five to six years in Watkoksatorn School. The samples were divided into two groups; 32 each for the experimental group receiving science experiences by using the inquiry cycle and the control group receiving conventional science activities. Research duration was 12 weeks. The research instrument was the test of science process skills of kindergarteners. The data was analyzed using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and percentage with SPSS program. The research results was that after the field, the scores on science process skills of the experimental group were significantly higher than those of the control group at the .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาปฐมวัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14272 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.607 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.607 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chananya_th.pdf | 1.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.