Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14352
Title: การศึกษาความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น
Other Titles: A study of carrying capacity of Khao Yai National Park eco-destination as perceived by tourists and local residents
Authors: นพวัชร์ แดงสระน้อย
Advisors: ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Prapat.L@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย
นักท่องเที่ยว
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ตามการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยได้นำไปหาค่าความน่าเชื้อถือได้ เท่ากับ .97 และในการศึกษา เชิงคุณภาพได้ใช้ แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคนในท้องถิ่น จำนวน 40 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า “ที” ในการเปรียบเทียบการรับรู้ จำแนกตามเพศ และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One way ANOVA) ในการเปรียบเทียบการรับรู้ของนักท่องเที่ยว จำแนกตามกลุ่มอายุ และกลุ่มอาชีพ เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้ทำการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีตูกี้ได้ผลการวิจัย ดังนี้ 1. นักท่องเที่ยวมีการรับรู้เกี่ยวกับความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โดยภาพรวม และจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยความสามารถ ในการรองรับนักท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านกิจกรรม และด้านสถานที่ ตามลำดับ 2. จากการทดสอบความแตกต่างการรับรู้ของนักท่องเที่ยวระหว่างกลุ่มเพศ กลุ่มอายุและกลุ่มอาชีพเกี่ยวกับความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คนในท้องถิ่นที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีสถานภาพโสด การศึกษาอนุปริญญา/ปริญญาตรี และมีอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ให้สัมภาษณ์ว่าปริมาณนักท่องเที่ยวในปัจจุบันภายในชุมชนมีความเหมาะสมดีแล้ว และให้สัมภาษณ์ว่าการท่องเที่ยวส่งผลเสียต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในบริเวณชุมชน/หมู่บ้านในระดับที่ไม่รุนแรง
Other Abstract: The purpose of this research was to study carrying capacity of KhaoYai national park as perceived by tourists and local residents. The researcher used 2 instruments: questionnaires and interviewing. The 400 tourists answered the questionnaire and 40 local residents were interviewed. The collected data were analyzed in terms of frequencies, percentages, means, standard deviations. The t-test and one way ANOVA were also employed to determine the significant difference. Tukey’s test was used to find which means were significant different from another. It was found that: 1. Most of tourists had perceived carrying capacity of Khao Yai national park in overall and in each aspects at more level. The carrying capacity of Khao Yai national park in Environmental aspect had the highest mean. The Activity aspect and Accommodation aspect were in order. 2. The carrying capacity of KhaoYai national park as perceived by tourists between males and females; among age groups and occupation groups were significant difference at the level of 0.05. 3. The local resident interviewing results revealed that volume of tourists in their community were in appropriate amount and the present tourism gave no negative impact on their local.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14352
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.537
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.537
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppawath_da.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.