Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14354
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์-
dc.contributor.authorเสาวภา หลิมวิจิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-01-04T12:27:31Z-
dc.date.available2011-01-04T12:27:31Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14354-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในด้านการกำหนดความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงความรู้ และการใช้ความรู้ รวมถึงปัญหาในการจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารห้องสมุดที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ หัวหน้าห้องสมุด หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบสูงสุดในสำนักหอสมุด หรือหอสมุดกลางของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ รวมทั้งสิ้น 75 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 71 ชุด (ร้อยละ 94.76) ผลการวิจัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่กำหนดให้บุคลากรต้องมีความรู้ด้านการบริหารงานห้องสมุด และความรู้ด้านเทคโนโลยีสารนิเทศ ห้องสมุดส่วนใหญ่มีการสร้างความรู้จากการฝึกอบรม และแสวงหาความรู้จากการศึกษาดูงาน มีการจัดเก็บความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์โดยจัดเก็บใส่แฟ้ม และรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยจัดเก็บบนเว็บไซต์ห้องสมุด และมีการใช้ความรู้ในการพัฒนาบุคลากร พัฒนางานห้องสมุด และพัฒนาองค์กร สำหรับปัญหาในการจัดการความรู้พบว่า ห้องสมุดประสบปัญหาทุกด้านในระดับปานกลางและระดับน้อย โดยปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรไม่มีเวลาในการจัดการความรู้en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study knowledge management processes, in terms of, knowledge Identification, knowledge creation and acquisition, knowledge storage, knowledge access and knowledge utilization. 2) to investigate problems in knowledge management in state academic libraries. This study was a survey research in which data was collected from questionnaires distributed to 75 state academic library directors. There were 71 questionaires returned (94.76 %). The results indicate that most state academic libraries require that staff having knowledge on library administration and information technology. The majority of state academic libraries create knowledge through training programmes, and acquire knowledge through visiting other libraries. Knowledge in those libraries is stored in printed form by document filing, and in electronics form on the library websites. The knowledge is utilized for staff, work and organization development. The problems in knowledge management faced by most libraries are at moderate and less level. The problem having the highest arithmetic mean is library staff do not have time in knowledge management.en
dc.format.extent1383168 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2038-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en
dc.subjectห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาen
dc.titleการจัดการความรู้ในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐen
dc.title.alternativeKnowledge management in state academic librariesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPimrumpai.P@Chula.ac.th, pimrumpai.p@car.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2038-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowaph_li.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.