Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1449
Title: การใช้เทคนิคการปรับแก้เชิงคลื่นสัมพัทธ์เพื่อตรวจหาความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ขนาดใหญ่โดยการนำช่วงคลื่นมาลบกัน
Other Titles: Relative radiometric normalization technique for change detection in large area by image differencing
Authors: วัลลภา สามฉิมโฉม, 2517-
Advisors: อิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Itthi.T@Chula.ac.th
Subjects: ภาพถ่ายทางอากาศ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำข้อมูลภาพดาวเทียมขนาดเต็มภาพมาตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดิน โดยใช้เทคนิคการปรับแก้เชิงคลื่นสัมพัทธ์เพื่อตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินในพื้นที่ขนาดใหญ่โดยการนำเอาช่วงคลื่นมาลบกันรวมทั้งวิเคราะห์หาขอบเขตการเปลี่ยนแปลงประเภทของสิ่งปกคลุมดินที่เหมาะสมในแต่ละแบนด์ (Optimum Threshold) ข้อมูลภาพดาวเทียมแลนด์แซท 5 ทีเอ็ม ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยเป็นข้อมูลภาพที่บันทึกในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2533 และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ 2543 นำข้อมูลภาพดาวเทียมที่บันทึกในปี พ.ศ. 2543 มาผ่านกระบวนการปรับแก้เชิงคลื่นสัมพัทธ์ และนำข้อมูลภาพดาวเทียมที่บันทึกในปี พ.ศ. 2533 มาลบออกจากข้อมูลภาพดาวเทียมที่ผ่านกระบวนการปรับแก้เชิงคลื่นแล้ว ทำให้ได้ข้อมูลภาพผลต่างและนำไปวิเคราะห์หาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินที่เกิดขึ้นโดยกำหนดตำแหน่งที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของสิ่งปกคลุมดินเกิดขึ้นจำนวน 867 จุด ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา ผลการตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของประเภทของสิ่งปกคลุมดินในพื้นที่ขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาจากค่าความถูกต้องทั้งหมด (Overall Accuracy) ในแต่ละแบนด์ พบว่า มีค่าความถูกต้องทั้งหมดอยู่ในช่วงร้อยละ 82.81-89.73 ยกเว้นในแบนด์ที่ 4 ที่มีค่าความถูกต้องทั้งหมดเป็นร้อยละ 71.16 แต่สำหรับค่าความถูกต้องของการตรวจหาความเปลี่ยนแปลงประเภทของสิ่งปกคลุมดินในแต่ละแบนด์จะพิจารณาจากค่าความถูกต้องแต่ละประเภท (Producer's Accuracy) โดยพบว่าในการเปลี่ยนแปลงประเภทของสิ่งปกคลุมดินทั้ง 12 กลุ่มของการเปลี่ยนแปลง มีค่าความถูกต้องแต่ละประเภทอยู่ในช่วงร้อยละ 84.62-100 เมื่อพิจารณาจากค่าความถูกต้องทั้งสองประเภทแล้ว สรุปได้ว่า การตรวจหาความเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมดินโดยใช้ข้อมูลภาพดาวเทียม ที่ผ่านกระบวนการปรับแก้เชิงคลื่นสัมพันธ์แล้ว ให้ผลการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินดีกว่า เมื่อเทียบกับการใช้ข้อมูลภาพดาวเทียมที่ไม่ผ่านกระบวนการปรับแก้เชิงคลื่น
Other Abstract: The objective of this research is to study the relative radiometric normalization technique for change detection in large area by image differencing. The suitability of change in ground reflectance for each band is identified and analyzed. The study uses 2 LANDSAT 5 TM images covering 7 provinces in the Eastern Thailand, acquired on December 26th,1990 and November 3rd, 2000. The relative radiometric normalization technique is performed to the image 2000. Then the image 1990 is used to subtract from image 2000 in the image differencing process. The image differencing result is then analyzed to identify the change detection of ground reflectance. The total number of changing checkpoints is 867 points spread all over the study area. The result of change detection in large area by image differencing when considering overall accuracy in each band yields the accuracy of 82.81-89.73 %, except for band 4 with the accuracy of 71.16%. When considering the two accuracies, it can be concluded that the correction of satellite image by relative radiometric normalization technique gives better result than the image without relative radiometric correction.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1449
ISBN: 9741753225
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wallapa.pdf17.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.