Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14511
Title: | การพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบผสานสัมพันธ์ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ |
Other Titles: | Development of Rajanagarindra Rajabhat University's pre-service teacher professional units based on the co-operative approach |
Authors: | ศันสนีย์ จันทร์สถิตย์พร |
Advisors: | ปทีป เมธาคุณวุฒิ พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pateep.M@Chula.ac.th Pansak.P@chula.ac.th |
Subjects: | การประเมินความต้องการจำเป็น ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา ประสบการณ์ครู ครู -- การฝึกอบรม |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบผสานสัมพันธ์ จากการประเมินความต้องการจำเป็นตามมาตรฐานตัวบ่งชี้ ที่ได้รับการคัดเลือกด้วยเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างมี 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องในหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ จาก 4 ภูมิภาค จำนวน 520 คน สำหรับสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา 9 คน สำหรับการสัมภาษณ์ กลุ่มที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 30 คน สำหรับคัดเลือกมาตรฐานตัวบ่งชี้ ทั้ง 2 กลุ่มใช้ในเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง และกลุ่มที่ 4 ผู้บริหาร อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง อาจารย์จากหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 210 คน สำหรับประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบผสานสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิตและสถิติทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคัดเลือกตัวบ่งชี้ใช้ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัยระหว่าง ควอร์ไทล์ ความถี่และร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาแบบผสานสัมพันธ์ด้วยสูตร Modified needs priorities index สังเคราะห์วิธีพัฒนาแบบผสานสัมพันธ์จาก 4 แนวคิดคือ ปฏิรูปการศึกษา พัฒนาทั้งโรงเรียน วิจัยและพัฒนาและการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นผลการคัดเลือกตัวบ่งชี้มาตรฐาน ของหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ 112 ตัวบ่งชี้ใน 23 มาตรฐาน คือมาตรฐานด้านครู 7 มาตรฐาน 38 ตัวบ่งชี้ ด้านผู้บริหาร 2 มาตรฐาน 12 ตัวบ่งชี้ ด้านกระบวนการ 6 มาตรฐาน 30 ตัวบ่งชี้ และด้านผู้เรียน 8 มาตรฐาน 32 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความต้องการจำเป็น ในการพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พบว่ามาตรฐานด้านผู้เรียนมีความต้องการจำเป็นควรได้รับการพัฒนาก่อน รองลงมาได้แก่มาตรฐานด้านกระบวนการและมาตรฐานด้านครู แผนพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบผสมผสานสัมพันธ์ สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ได้จัดทำและทดลองใช้โครงการ 1 โครงการของแผนพัฒนามาตรฐานด้านผู้เรียน โดยวิธีผสานสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษา องค์กรศาสนา ชุมชน และผู้ปกครอง การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ และแบบทดสอบ พบว่าผู้เรียนในโครงการอบรมมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์. |
Other Abstract: | To develop Rajabhat Rajanagarindra university preservice teacher professional units based on the co-operative aproach according to the needs analysis derived from standard indicaors which were selected by modified delphi technique. There were 4 sample groups 1) 520 participants, i.e. administrators, teachers, students, and related personnel working in the Rajabhat University's Preservice Teacher Professional Unit from 4 regions giving their opinions towards the classroom management; 2) 9 academic experts for interviewing; 3) 30 experts, who were in the process of the modified delphi technique for selecting standard indicators; and 4) 210 participants, i.e. administrators, supervisor teachers, teachers, prospective teachers, who provided the necessary needs for developing preservice teacher professional units based on the co-operative approach. The sample's opinions towards classroom management were analyzed by using the frequency, mean, standard deviation and analysis of variance. These results were used for indicator selection by using the mode, median, and inter-quartile. The modified needs priorities index was employed to synthesize the development based on the co-operative approach. These were education reform, whole school development, school based research and school-based development. The findings showed that 112 indicators from 23 standards were selected as standard indicators. They consisted of 7 teacher standards with 39 indicators, 2 administrator standards with 11 indicators, 6 process standards with 30 indicators, and 8 learner standards with 33 indicators. The results indicated that learner standards, the process standards, and the teacher standards were to be prioritized respectively. Then the Rajabhat Rajanagarindra university preservice teacher professional units based on the co-operative approach according to the needs analysis derived from the standard indicators were developed with one example project based on the co-operation between schools, religions institutions, communities and parents. The project was evaluated by students observation, interviews and testing. It was revealed that the students' abilities in critical thingking and synthesis were developed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14511 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.542 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.542 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sansanee.pdf | 4.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.