Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14550
Title: | แนวทางการพัฒนาการจัดการกิจกรรมดูนก บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง |
Other Titles: | Developing the guidelines in birding activity management at Thale Noi non-hunting area, Phatthalung province |
Authors: | ณัฐวุฒิ สิทธิชัย |
Advisors: | ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Prapat.L@Chula.ac.th |
Subjects: | การดูนก -- ไทย -- พัทลุง นก การคุ้มครองนก -- ไทย -- พัทลุง เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย (พัทลุง) |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการกิจกรรมดูนกบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มตัวอย่างอันประกอบด้วย กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มเจ้าหน้าที่ กลุ่มประชาชนในท้องถิ่น และกลุ่มผู้ประกอบการ รวมทั้งสิ้น 451 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยผู้วิจัยได้นำไปเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีของตูกี้ หลังจากนั้นนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ทางสถิติประชุมกลุ่มเพื่อยืนยันผลการวิจัยและเพิ่มเติมรายละเอียดของเหตุผล ผลการวิจัยพบว่า การจัดการกิจกรรมดูนกบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยจังหวัดพัทลุงมีแนวทางการพัฒนาในประเด็นที่สำคัญคือ นักท่องเที่ยวควรเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับดูนกให้พร้อม ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในแหล่งท่องเที่ยวและสนับสนุนสินค้าของคนในท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ควรจัดให้มีการฝึกอบรมการเป็นวิทยากรนำดูนกให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในท้องถิ่น จัดการประกวดภาพถ่ายนกในทะเลน้อย ปรับปรุงท่าเทียบเรือให้มั่นคงปลอดภัยนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นลงเรือได้สะดวก ทำป้ายประกาศเตือนในบริเวณที่มีพืชหรือสัตว์ที่เป็นอันตราย ปลูกต้นไม้ท้องถิ่นสำหรับเป็นแหล่งทำรังวางไข่ของนก ทำป้ายให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนก และจัดทำเว็บไซต์เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการดูนก ประชาชนในท้องถิ่นควรต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตร แจ้งข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่เมื่อพบเห็นการล่านก ผู้ประกอบการควรมีความซื่อสัตย์ต่อผู้บริการ ปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักท่องเที่ยว และหมั่นดูแลรักษาเรือและเสื้อชูชีพให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยพร้อมใช้งาน ซึ่งแนวทางการพัฒนาการจัดการกิจกรรมดูนกบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง ดังกล่าวได้รับการยืนยันเห็นชอบจากผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มทุกประการ จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนา พบว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่ และกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความคิดเห็น แตกต่างกับกลุ่มผู้ประกอบการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to develop the guidelines in birding activity management at Thale Noi non-hunting area, Phatthalung Province and to compare the opinions among sample groups: tourists, officials, local residents and entrepreneurs. The instrument used in this research was questionnaires. They were sent to gathered from 451 samples. The data were then analyzed by means of frequencies, percentages, means, standard deviations, one-way analysis of variance, and post hoc test of mean differences by Turkey method. After that, the analyzed results were brought to the focus group procedure for approving and accepting by all meeting attendants. The results, then, were presented by means of tables and essays. It was found that: Significant guidelines for birding activity management in Thale Noi non-hunting area, Phatthalung Province were: Tourists should prepare in advance their birding equipments and help to keep the environment clean at all times. They should also support products from local citizens. Officials should train birding guides for entrepreneurs and local citizens and conduct occasional Thale Noi bird photography competitions. Officials should also renovate quays for tourists in order to get on and off the boat safely and conveniently, set up warnings in places where plants and animals are reported to be dangerous, plant local trees for birds to nest and lay eggs, display knowledge-in –a-nutshell placards for better understanding of birds, and create a website to advertise and encourage birding activity. Local residents should welcome all tourists with warm hospitality and report officials immediately of any seen bird hunting. Entrepreneurs should have integrity with their service consumers, act as good examples for tourists, and maintain good and safe conditions of their boats, and life vests at the ready. There was statistically significant difference among officials’ and tourists’ and tourists’ opinions from that of entrepreneurs’ at the level of .05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14550 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.144 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.144 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuttavod_si.pdf | 2.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.