Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14721
Title: | คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม |
Other Titles: | Quality of life and associated factors of non-insulin dependent diabetes mellitus patiens in Somdejphraputthalertla Hospital, Samutsongkram province |
Authors: | จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล |
Advisors: | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | เบาหวาน -- ผู้ป่วย คุณภาพชีวิต |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการเจ็บป่วยและปัจจัยทางจิตสังคม วัสดุและวิธีการ ศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม 2551 จำนวน 395 ราย โดยการตอบแบบสอบถามทั้งหมด 5 ชุด ได้แก่ 1) แบบสอบถามส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย 2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย 3) แบบสอบถามอาการวิตกกังวลและอาการซึมเศร้าในโรงพยาบาลฉบับภาษาไทย 4) แบบสอบถามความสัมพันธ์และหน้าที่ในครอบครัว 5) แบบสอบถามการปรับตัวและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง นำเสนอคุณภาพชีวิตเป็นค่าเฉลี่ยและระดับคุณภาพชีวิตเป็นค่าร้อยละ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้การทดสอบไคสแควร์และวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก เพื่อหาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ย 84.6+-10.0 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.8) อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตได้แก่ ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า การปรับตัวและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความสัมพันธ์และหน้าที่ในครอบครัว เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ จำนวนรายได้ ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาในการเจ็บป่วย อาการทางกายของโรคเบาหวานที่รบกวนและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (p <0.05) ผลการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก พบว่า ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ การไม่มีภาวะวิตกกังวล การปรับตัวและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ดีความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัวที่ดี การศึกษาสูงกว่าระดับประถมศึกษา และการไม่มีอาการอ่อนเพลียไม่มีแรง (p < 0.05) สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินมีคะแนนคุณภาพชีวิตเฉลี่ย 84.6+-10.0 ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 86.8) อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยทางจิตสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนายคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน |
Other Abstract: | Objectives: To identity the quality of life and associated factors of non-insulin dependent diabetes mellitus (NIDDM) patients. Associated factors included personal, clinical and psychosocial factors. Material and Method: Three hundred ninety-five non-insulin dependent diabetes mellitus patients, age above 18 years old from the Diabetes Mellitus (DM) Clinic of the Outpatient Department, Somdejphraputthalertla Hospital, Samutsongkram Province, were recruited into study from September to October 2008. All samples completed five questionnaires: 1) Demographic and data history form, 2) World Health Organization Quality of Life Brief-Thai Questionnaire (WHOQOL-BREF-THAI), 3) Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS), 4) Family Relationship and Functioning Questionnaire, 5) Problem and Conflict Solving Questionnaire. The quality of life was presented by mean and percentage. The associated between demographic clinical and psychosocial factors and quality of life was analyze by chi-square test. Logistic regression was performed to identity the predictors of patients' quality of life. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Results: The mean QOL score of NIDDM patients was 84.6+-10.0. Most of them (86.8%) had moderate level of quality of life. Factors associated with their quality of life were anxiety, depression, family relationship and function, problem and conflict solving, sex, age, education, occupation, income, duration of illness, presence of disturbing symptoms and complication (p < 0.05). By logistic regression analysis, the significant predictors of good quality of life were absence of anxiety, good family relationship and functioning, good problem and conflict solving, above primary school education and absence of fatigue (p < 0.05). Conclusion: The mean QOL score of NIDDM patients was 84.6+-10.0. Most of them (86.8%) had moderate level of quality of life. The psychosocial factors were strong predictors good quality of life in NIDDM patients. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14721 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.606 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.606 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jinnapat_th.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.