Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14835
Title: พฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการสืบทอดภาษาจีนของชาวจีนในเขตชุมชนชาวจีนกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Communication behavior for original language transmission of Chinese community in Bangkok
Authors: ธนทรัพย์ มีทรัพย์
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสารกับวัฒนธรรม
การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
ชาวจีน
สื่อมวลชนกับภาษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในบริบทต่าง ๆ 2) พฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการสืบทอดภาษาจีน ของชาวจีนในชุมชนชาวจีนย่านเยาวราช ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวชาวจีนในชุมชาวจีนย่านเยาวราช จำนวน 10 ครอบครัว ครอบครัวละ 3 รุ่น ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนในบริบทชีวิตประจำวันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนภายในและภายนอกครอบครัวโดยมีทั้งรูปแบบการพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนที่เป็นกิจจะลักษณะ และพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนที่ไม่เป็นกิจจะลักษณะ มีทั้งพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนล้วน ๆ และพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนปนไทย ผ่านรูปแบบประโยคซึ่งมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ 2.พฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนขึ้นอยู่กับทักษะทางภาษาจีนของแต่ละคน จะมีความจริงจังในการสื่อสารภาษาจีนกันมากที่สุดคือ ระหว่างสมาชิก รุ่น 1 กับ รุ่น 1 รองลงมาก็คือ สมาชิกรุ่น 1 กับ รุ่น 2 ส่วนพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนระหว่างรุ่น 1 กับสมาชิกรุ่น 3 ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนปนไทย และอาจจะไม่มีพฤติกรรมการสื่อสารภาษาจีนระหว่างรุ่น ระหว่างสมาชิกรุ่นที่ 2 กับสมาชิกรุ่นที่ 3 ใน บางครอบครัว 3. พฤติกรรมการสื่อสารเพื่อการสืบทอดภาษาจีนของกลุ่มตัวอย่าง มีทั้งเกิดขึ้นในครอบครัวและนอกครอบครัว ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การสืบทอดแบบทางตรงและทางอ้อม ยกตัวอย่างเช่น การปฏิบัติตนเองเป็นต้นแบบ การสอน การบังคับ การใช้ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน การรับสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาจีน การโน้มน้าวใจเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของภาษาจีน
Other Abstract: The objectives of this qualitative research are to study the Chinese language usage in daily life, and Chinese language transmission of Chinese community in China town. The research employs in-depth interviews of ten families which must consist of three generations. The results are shown as this following: 1. There are two kinds of the Chinese language usage in daily life: the usage for communication inside family and the usage for communication outside family which are intended and unintended communication. Each family speaks original language when communicates inside family. The sentence substances involve daily life and occupational communication. 2. Chinese language usage depends on each individual's skills. Only Chinese language is used within the first generation. Most families use only Chinese language for communication between the first generation and the second generation. While others use both Chinese and Thai language. 3. Chinese language is transmitted through direct and indirect communications behaviors. Each family employs different methods to transmit the Chinese language. For instance, speaking Chinese to set on example, teaching family members to speak Chinese, forcing them to speak Chinese in family communication, exposing Chinese media and emphasizing the important of Chinese language.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14835
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.548
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.548
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanasup_Me.pdf12.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.