Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15148
Title: | การศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกระเบื้องดินเผาในจังหวัดสงขลา |
Other Titles: | A study of local wisdom transmission of making tile ceramic in Songkhla Province |
Authors: | อุษณีย์ เสือดี |
Advisors: | สุลักษณ์ ศรีบุรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sulak.S@chula.ac.th |
Subjects: | ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- สงขลา หัตถกรรม -- ไทย -- สงขลา กระเบื้อง การเรียนรู้ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกระเบื้องดินเผาในจังหวัดสงขลา ในด้าน 1. ความเป็นมาของการถ่ายทอด 2. กระบวนการถ่ายทอด 3. ผลที่เกิดจากการถ่ายทอด 4. ปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอด กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ช่างพื้นบ้าน จำนวน 4 คน และครูศิลปศึกษา ในจังหวัดสงขลา จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถาม และแบบสังเกต ผู้วิจัยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยและอภิปรายในรูปความเรียง และแสดงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ด้วยตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นมาของการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกระเบื้องดินเผาในจังหวัดสงขลา เกิดจากช่างพื้นบ้านมีความใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม การได้คลุกคลีคุ้นเคยทำให้เกิดการเรียนรู้ซึมซับไปในตัว ช่างต้องการสืบทอดงานอันเป็นมรดกของท้องถิ่น และครอบครัวมีความภูมิใจในวิชาชีพของบรรพบุรุษ และมีความต้องการปัจจัยในการดำเนินชีวิต อันเป็นแรงผลักดันให้มีความต้องการที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำกระเบื้องดินเผา 2. กระบวนการถ่ายทอด มีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ปฏิบัติได้จริง และรู้คุณค่าของงาน รูปแบบการเรียนรู้ คือการลงมือกระทำจริง การฝึกฝนด้วยตนเอง การฝึกจากผู้รู้ ผู้ชำนาญ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดความรู้ภายในชุมชน ผ่านการบอกเล่า สาธิต และผ่านสื่อมวลชน ขั้นตอนการถ่ายทอด ผู้สอนและผู้เรียนต้องมีความพร้อมทางด้านจิตใจที่ดี เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ สถานที่สะดวกต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญโดยใช้ระยะเวลาเป็นปี เทคนิคการถ่ายทอดคือ การทำให้ผู้เรียนมีความศรัทธาต่อวิชาชีพ การจูงใจให้เกิดความสนใจ การให้กำลัง การชี้แนะข้อผิดพลาด และการปลูกฝังคุณธรรมในการทำงาน บรรยากาศในการถ่ายทอดเป็นไปในแบบครอบครัว สื่อการสอนคือวัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งต้องมีความพร้อม มีการประเมินผลจากผลงานที่มีคุณภาพ และพฤติกรรมขณะปฏิบัติงาน 3. ผลที่เกิดจากการถ่ายทอด คือช่างมีความรู้ ความชำนาญ มีความภูมิใจ และผูกพันกับชุมชนและครอบครัว สามารถสืบทอดการทำงานต่อจากบรรพบุรุษ ชุมชนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ของท้องถิ่น สังคมภายนอกให้การยอมรับและยกย่อง ช่างมีคุณธรรมและมีหลักการในการดำเนินชีวิตที่ดี 4. ปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอด คือ ผู้ถ่ายทอดส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ผู้รับการถ่ายทอดขาดความสนใจและไม่เห็นคุณค่า เนื่องด้วยความเจริญทางด้านเทคโนโลยีมีมากขึ้น วัตถุดิบในการผลิตขาดแคลนและราคาแพง และการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีความต่อเนื่องและจริงจัง ในการสำรวจความคิดเห็นของครูศิลปศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นด้วยมากที่สุด เกี่ยวกับแนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกระเบื้องดินเผาในจังหวัดสงขลา ในด้านความเป็นมาของการถ่ายทอด กระบวนการถ่ายทอด และผลที่เกิดจากการถ่ายทอด และมีระดับความคิดเห็นด้วยมากในด้านปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอด. |
Other Abstract: | To study 1. The background of local wisdom transmission 2. the transmission process 3. The transmission result 4. the transmission problem. The sample of this research were 4 practitioners and 44 art teachers in Songkhla province. The research instrument was the structure interview form, the questionnaire, and the observation form. Data were collected and analyzed by means of percentage, arithmetic means, standard deviation, and content analysis technique. The research conclusion and discussion were presented by description and explanation with table and frequency. The research findings were found that 1. the background of the tile ceramic local wisdom transmission in Songkhla province, the practitioners familiarized with social and culture surrounding, by involving that led them learn and absorb automatically, the practitioners need to transmiss the local heritage, their families were pround of their professional career, and for the reason of earning money for their living pushed them to transmiss their local wisdom to the next generation. 2. the purpose of transmission process was to make the learners get knowledge with the real practice and realized to the value of working, the learning model was to learning by doing, self-practicing, learned directly from the expertist and the experienced practitioners. The transmission in the communication was make by telling, demonstrating, and passing through the learnes by using mass media. For the step of transmission, practitioners and learners should be willing with their mind and their attitude to learn both theory and practice, the earning pace should be convenience, the learners should practice until they had skill for almost a year. The transmission techniques was to make the earners faithfully believe in the profession by motivating their interest with cheerful and guided their fales, enhancing working ethics. The atmosphere of transmission should be like working with the same family, the tools and working instruments should be well prepared and ready to use. The working assessment was as to the quality of working product and working behavior. 3. The result of transmission there were the practitioners who were knowledgeable, skillfull, had pride, and had close relationship to their family and community. The learners capable to transmiss form the elder generation, community became local learning resource, which were accepted and admired by the outsider, the practitioners had ethics and principles for their livings. 4. The problems and obstracles of transmission, the learners were not interesting in this profession which was unvaluable to them, and due to the advance of technology which the materials were expensive, and also without continuing from the involving institution. Surveying of art teacher's opinion, it was found that most of art teacher strongly agreed at the highest level of the transmission process, and the result of transmission, and most of art teacher's strongly agreed at the high level of the problem and obstacle of the transmission. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15148 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.667 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.667 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
utsanee.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_ch1.pdf | 2.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_ch2.pdf | 13.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_ch3.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_ch4.pdf | 7.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_ch5.pdf | 6.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_ref1.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_app.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
utsanee_vita.pdf | 576.82 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.