Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15518
Title: การวิเคราะห์คอนตินเจนซีโดยการใช้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมและดัชนีสมรรถนะ
Other Titles: Contingency analysis using genetic algorithm and performance index
Authors: อนุวัตร อภิวัฒนานนท์
Advisors: โสตถิพงศ์ พิชัยสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: sotdhipong@hotmail.com, sot@energy1.ee.chula.edu
Subjects: ระบบไฟฟ้ากำลัง
ระบบไฟฟ้าล้มเหลว
จีเนติกอัลกอริทึม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์คอนตินเจนซีเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบของคอนตินเจนซีที่มีต่อระบบไฟฟ้า โดยพิจารณาทั้งกำลังไฟฟ้าและแรงดันบัส เพื่อให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของคอนตินเจนซี ทั้งนี้นิยมใช้ดัชนีสมรรถนะเนื่องจากสะดวกและรวดเร็วในการประมวลผล โดยใช้ขนาดและมุมเฟสของแรงดันบัสจากเอซีเพาเวอร์โฟลว์ แต่อย่างไรก็ตามหากระบบไฟฟ้ามีขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลต่อระยะเวลาในการประมวลผล วิทยานิพนธ์ฉบับนี้อาศัยหลักการจำลองคอนตินเจนซี ด้วยการฉีดกำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟชดเชยเข้าที่บัสที่เกิดคอนตินเจนซี ซึ่งปริมาณกำลังไฟฟ้ารีแอกทีฟชดเชย จะสัมพันธ์กับขนาดแรงดันบัสที่เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดคอนตินเจนซี โดยสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวในรูปของปัญหาค่าเหมาะสม เฉพาะที่แบบไม่เชิงเส้นเพื่อหาขนาดแรงดันบัสหลังจากเกิดคอนตินเจนซี โดยพิจารณาเฉพาะบัสที่เกิดคอนตินเจนซีและบัสข้างเคียงเป็นหลัก ทำให้ลดระยะเวลาการประมวลผล และเหมาะสมสำหรับใช้วิเคราะห์กับระบบไฟฟ้ากำลังขนาดใหญ่ ทั้งนี้ได้นำเสนอการแก้ปัญหาค่าเหมาะสมโดยใช้ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมจุลภาค เพื่อสนับสนุนการประมวลผลแบบออนไลน์ เนื่องจากสามารถลู่เข้าสู่คำตอบได้แม้ว่าจะใช้จำนวนประชากรเพียงเล็กน้อย จากผลการทดสอบกับระบบทดสอบ IEEE 30 บัส IEEE 57 บัส และระบบไฟฟ้าภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ.
Other Abstract: Contingency Analysis is usually recognized for study of severity level of contingency which causes line overloading or bus voltage violation. Performance Index is generally used for analysis because of high calculation speed. However, the computation time is increased when considering a large-scale power system. This thesis proposes contingency simulation method by using reactive power compensation which relates to the change of bus voltage magnitudes. This relation can be formulated as a local nonlinear constrained optimization problem for a bounded network consisting of the affected bus and its neighboring buses. Therefore, the proposed method does not require excessive computation time and suitable for a large-scale power system. In addition, the micro-genetic algorithm is used for solving optimization in order to reach post outage bus voltage magnitudes, for which the algorithm usually converges with a few populations and suitable for online processing. The proposed method is applied to IEEE 30-bus, 57-bus and the southern of Thailand system with satisfactory results.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15518
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.778
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.778
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anuwat_ap.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.