Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/157
Title: ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์
Other Titles: Factors determining choice of buying computer
Authors: ธนภัทร์ หวนสุริยา, 2521-
Advisors: จิตติภัทร เครือวรรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Jittapatr.K@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย
คอมพิวเตอร์
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ ประการแรก คือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ระหว่างคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (PC or Desktop) กับคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว (Notebook or Laptop) ประการที่สอง คือ เพื่อศึกษาการเลือกร้านค้าของผู้บริโภคคอมพิวเตอร์ทั้งสองประเภท โดยให้ผู้บริโภคในแต่ละประเภทเลือกร้านค้า ระหว่าง ร้านขายคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งขายทั้งชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป กับร้านคอมพิวเตอร์ที่ขายเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปแบบ Brand Name การศึกษาจะเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามผู้บริโภคจำนวน 359 ตัวอย่าง ผู้ประกอบการ 120 ตัวอย่าง ในกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2545 โดยใช้แบบจำลองลอจิตในการวิเคราะห์ข้อมูล จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่กำหนดการเลือกซื้อระหว่างคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คือ เพศ อาชีพ รายได้ ลักษณะการจ่ายเงิน (สดหรือผ่อน) ราคาคอมพิวเตอร์ และลักษณะการซื้อ (ซื้อเป็นเครื่องแรกหรือไม่) โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคมีความน่าจะเป็นที่จะซื้อคอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้วเพิ่มขึ้น ได้แก่ เพศหญิง ต้องการจ่ายเงินผ่อน ตั้งใจจะซื้อคอมพิวเตอร์ในราคาสูง และไม่ได้ซื้อคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก ในแบบจำลองแต่ละกลุ่มอาชีพนั้นปัจจัยแต่ละตัวจะมีความสำคัญต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ผู้บริโภคกลุ่มที่มีรายได้ประจำที่แน่นอน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชน ราคาจะมีนัยสำคัญในการเปลี่ยนการเลือกซื้อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเป็นคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว ในขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มอื่นราคาจะไม่ผลต่อการเลือกซื้อ เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบอีกว่าในกลุ่มผู้บริโภคมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท ผู้บริโภคจะไม่เปลี่ยนการบริโภคจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะเป็นคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว แม้จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่การเลือกประเภทคอมพิวเตอร์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายตัว แต่ในการเลือกร้านคอมพิวเตอร์แล้ว พบว่ามีตัวแปรเพียง 2 - 3 ตัวเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติในการอธิบาย กล่าวคือ เพศ รายได้ และรูปแบบการจ่ายเงิน โดยไม่ว่าจะเป็นกลุ่มบริโภคคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือกลุ่มผู้บริโภคคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคมีความน่าจะเป็นเพิ่มขึ้นที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ร้านขายคอมพิวเตอร์ Brand Name คือ เพศหญิง และการจ่ายเงินผ่อน นอกจากเป็นกลุ่มผู้บริโภคคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะนั้นมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนจากการซื้อคอมพิวเตอร์ร้านทั่วไปเป็นเป็นร้านคอมพิวเตอร์ Brand name เพิ่มขึ้น เมื่อผู้บริโภคมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ในกลุ่มผู้บริโภคคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วแนวโน้มในการเลือกร้านคอมพิวเตอร์ตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นไม่ชัดเจน จากผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคที่แตกต่างกันจะมีความหลากหลายทั้งในการเลือกประเภทคอมพิวเตอร์และการเลือกร้านขายคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันดัวย ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการทำตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศควรที่จะแบ่งกลุ่มย่อยให้ชัดเจน ยิ่งกว่านั้นหากรัฐบาลจะสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือสนับสนุนการบริโภคคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น "คอมพิวเตอร์เอื้ออาทร" ควรจัดให้คอมพิวเตอร์หลายระดับ หลายราคาเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มอย่างทั่วถึง
Other Abstract: This thesis has 2 purposes. The first is to study factors governing computer buyers' behavior in purchasing Personal Computer (Desktop) or Notebook Computer (Laptop). The second is to explore the factors influencing buyers in choosing the type of store to purchase their computers, either a general computer store (which sells everything from computer parts to readily assembled computers) or a computer store that carries only brand-name PCs and Notebook computers. The results have been drawn from the data obtained by questionnaires distributed to 359 computer buyers and 120 computer distributors in Bangkok during April - June 2002 and analyzed by the Binary Logit Model. The findings indicate that major factors stipulating consumers to choose between Personal or Notebook computers are gender, term of payment, price of the computer, income, whether this is a first computer purchase, and occupation. In addition, a probability to purchase a notebook computer is increasing if a buyer is female, uses of installation payment, intends to buy high price computer, and is not buying a first computer. It has also been observed that those who have fixed monthly income are usually more concerned on prices in choosing a computer. Finally, those whose monthly incomes are below 30,000 baht will not alter their choices even if their incomes rise. In choosing the place to purchase their computers, only a few variables have been observed to be significantly influential to computer buyers. The most important ones are income and gender, followed by term of payment. In particular, a probability of choosing a computer store that carries only brand name PCs and Notebooks is to increase if a buyer is female and uses installation (credit term) of payment. In addition, PC buyers tend to change from purchasing their computer at a general computer store to a brand name one as their income rises. Such a behavior has not been observed among notebook computer buyers, though. The study clearly indicates that there are different groups of computer buyers in the market. It thus implies that producers should carefully separate their target groups in order to maximize their operation effectiveness. Furthermore, if the government wants to support the "learning by IT" scheme, such as a "Computer for the Mass" project, it should consider having computers with a variety of configurations in order to satisfy the needs of different groups of computer buyers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/157
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1302
ISBN: 9741734557
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1302
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanaphat.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.