Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15720
Title: โมเดลเชิงสาเหตุของการปฎิบัติงานแบบกลุ่ม : อิทธิพลของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่ม บุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง และปฏิสัมพันธ์
Other Titles: The Causal model of team-based performance : the mediating effects of five-factor personality via teamwork knowledge, trait procrastination, and their interaction
Authors: กุลชนา ช่วยหนู
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: การทำงานเป็นทีม
การประเมินบุคลิกภาพ
การผัดวันประกันพรุ่ง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม โดยมีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่ม บุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่มกับบุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง และ (2) ศึกษาและเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่ม บุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่มกับบุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง ที่มีต่อการปฏิบัติงานแบบกลุ่มทำงานโครงการ ภายใต้บริบทของกลุ่มทำงานโครงการ ตัวอย่างคือครูระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1-4 ที่เข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยในชั้นเรียนจำนวน 104 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 525 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชิ้น ได้แก่ (1) มาตรวัดการปฏิบัติงาน (2) มาตรวัดความรู้ ทักษะ และความสามารถที่จำเป็นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่ม (3) มาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ และ (4) มาตรวัดบุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง ผลการวิจัยพบว่า (1) โมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุของการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม โดยมีบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลส่งผ่านความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่ม บุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่มกับบุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2) บุคลิกภาพทั้งห้าองค์ประกอบมีอิทธิพลทางอ้อมรวมและอิทธิพลรวมต่อการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่มมีอิทธิพลทางตรงต่อการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (4) บุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่งมีอิทธิพลทางตรงต่อการปฏิบัติงานแบบกลุ่ม แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ (5) อิทธิพลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบกลุ่มกับบุคลิกลักษณะผัดวันประกันพรุ่ง ส่งผลให้อิทธิพลของบุคลิกภาพทั้งห้าองค์ประกอบ ที่มีต่อการปฏิบัติงานแบบกลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01.
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to develop and to validate the causal model of team-based performance mediating effects of five-factor personality via teamwork knowledge, trait procrastination, teamwork knowledge-trait procrastination interaction and (2) to investigate and to compare effects size, both direct and indirect effects, of five-factor personality, teamwork knowledge, trait procrastination, teamwork knowledge-trait procrastination interaction to team-based performance under Thai project team context. Participants were 525 primary school teachers, prathomsuksa 1-3, from Nakhon Si Thammarat Education Service Area Office 1 - 4 who were trained in the classroom action research methodology course. There were 4 research instruments: (1) Performance scale (2) The Knowledge, Skill, and Ability scale (3) Big Five scale (4) Trait Procrastination scale. Findings are as follows: (1) The causal model of team-based performance fits the empirical data. (2) Indirect and total effect of each five personality factors to team-based performance are significantly different from zero at alpha level .01. (3) Direct effect of teamwork knowledge to team-based performance is insignificantly different from zero. (4) Direct effect of trait procrastination to team-based performance is insignificantly different from zero. (5) Effect of each five personality factors to team-based performance is significantly decreased by level of teamwork knowledge-trait procrastination interaction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15720
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1400
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1400
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunchana_ch.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.