Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15744
Title: | การบริหารจัดการสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด |
Other Titles: | The management of Ko-Kret community radio |
Authors: | สุธิดา อภิโชคเจริญชัย |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | วิทยุชุมชน -- ไทย -- เกาะเกร็ด (นนทบุรี) สถานีวิทยุ -- ไทย -- เกาะเกร็ด (นนทบุรี) รายการวิทยุ |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาโครงสร้างและการบริหารของสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด 2) ศึกษาเนื้อหาและลักษณะการผลิตรายการของสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด 3) ศึกษาพฤติกรรมการรับฟังวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด FM 105.75 โดยดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ และการใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างเชิงอำนาจของสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ดเป็นแบบบนลงล่าง ซึ่งคณะกรรมการทำหน้าที่วางแผนนโยบาย เนื้อหารายการและผังรายการจาก และส่งมอบให้หัวหน้าสถานีวิทยุชุมชนเป็นคนรับนโยบายไปควบคุมการทำงานของแต่ละฝ่าย การบริหารของสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด มีลักษณะการบริหารแบบธุรกิจในครอบครัว (Family business) โดยคณะผู้บริหารเป็นสมาชิกในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดกับประธานกรรมการสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด รูปแบบและเนื้อหารายการของสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด อยู่ภายใต้การกำหนดโดยที่ประชุมคณะกรรมการภายใต้กรอบนโยบายของกรมประชาสัมพันธ์ ทางสถานีไม่มีการกำหนดเนื้อหาในบทวิทยุแบบตายตัว จะให้แนวทางในการนำเสนอเนื้อหากับผู้ดำเนินรายการ และเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชน แหล่งข้อมูลของสถานีวิทยุชุมชนเกาะเกร็ด มาจากคนในชุมชน และหน่วยงานรัฐ เนื้อหารายการบันเทิงปรากฎสูงสุด คิดเป็น 51% และรูปแบบรายการ เพลงและพูดคุยปรากฎสูงสุด คิดเป็น 59% ผลจากการสำรวจพบว่า ผู้ฟังวิทยุชุมชนเกาะเกร็ดมีจำนวน 67% ได้รับประโยชน์ในระดับมาก ประโยชน์ที่ได้รับมากที่สุดคือ วิทยุชุมชนทำให้ไม่เหงา ระดับการมีส่วนร่วมของผู้ฟังโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมในระดับการเป็นผู้ฟังมากที่สุด |
Other Abstract: | To investigate Ko-Kret community radio structure and management, Ko-Kret community radio programs content and production, and Ko-Kret community radio listeners’ behavior. Both qualitative and quantitative research with multiple methodology as document study, non-participant observation, in-depth interview was conducted with Ko-Kret community radio staffs. Questionnaires were collected from community members. The results are as follow: 1. Ko-Kret community radio station structure authority is vertical. Management committee specifies all policies of station for controlling staffs. Ko-Kret management characteristic is Family business due to committee is relative person with station owner. 2. Programs format and content of Ko-Kret community radio is specified by management committee. But Ko-Kret radio station has flexible format that can change and adjust so all audiences’ comments can affect program content. Entertainment content is highest proportion of all content types with 51% and music and talk format is highest proportion of all format type with 59%. Information source is from people in Ko-Kret community and state agency. Results from questionnaires indicate that 67% of samples listen to Ko-Kret community radio, the benefit level from listeners is good and participation class is moderately. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15744 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1436 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.1436 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sutida_ap.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.