Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15953
Title: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินในในการวางแผนขนส่งสินค้า กรณีศึกษา : ธุรกิจค้าปลีกระดับประเทศ
Other Titles: A geographic information systems for distribution planning case study : national retailers
Authors: หรรษา แสงมีน
Advisors: กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kamonchanok.s@chula.ac.th
Subjects: ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
การขนส่งทางบก
การขนส่ง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ไว้สำหรับวิเคราะห์ความเหมาะสมของร้านใหม่ลงในเส้นทางที่เหมาะสมในการขนส่งสินค้าตามหมายกำหนดการ โดยแสดงผลข้อมูลเส้นทางเดินรถเป็นแผนที่ช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้เพื่อให้มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ที่สามารถเข้าถึงง่าย (User friendly) และเกิดความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาขึ้นเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระบวนการแก้ปัญหาเส้นทางแบบศึกษาสำนึก (Heuristics) และระบบสานสนเทศทางภูมิศาสตร์ โดยแบ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ออกเป็นสองส่วนย่อย ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์จัดกลุ่มร้านสะดวกซื้อ ด้วยวิธีการแก้ปัญหาเส้นทางแบบศึกษาสำนึก (Heuristics) โดยคำนึงความสามารถในการบรรทุกสินค้าของรถขนส่ง ปริมาณที่ร้านสะดวกซื้อสั่งของ และขอบเขตพื้นที่ในการรับส่งสินค้า ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์หาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการขนส่งสินค้าโดยใช้เทคนิคของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การพิจารณาผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่พัฒนาขึ้นกับผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดเส้นทางการขนส่งระบบเดิม พบว่าผลที่ได้จากระบบสนับสนุนการตัดสินใจสอดคล้องกับสภาพการใช้งานจริงและสะดวกรวดเร็วในการวางแผนการขนส่งเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการแบบเก่า ระบบสนับสนุนการตัดสินใจยังสามารถลดระยะทางในการขนส่งลงได้ประมาณร้อยละ 4.86 และยังสามารถแสดงผลในด้านต่าง ๆ เช่น แผนที่ที่สามารถลงจุดร้านใหม่และแสดงข้อมูลทางระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ในส่วนของแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นนั้นสามารถลดจำนวนสายรถหลักที่ต้องใช้ในการขนส่งและต้นทุนในการขนส่งได้ประมาณร้อยละ 2.98 หรือประมาณ 5.37 ล้านบาทต่อปี
Other Abstract: The Objective of the study is intended to develop applications for analyzing the suitability of new stores in the right path in the shipping schedule. The presentation of data helps map a route decision. In addition to geographic information systems to (GIS) that can be easily accessible (User Friendly), and the convenience of working. Decision support system developed in a collaborative process between the solution paths of consciousness (Heuristics) and geographic information system build. The process of analysis divided into two subsections. The first grouping analyzed is a convenience store. With a solution path of consciousness (Heuristics), taking into account the ability of the cargo truck. Volume order of the convenience store. And scope of the delivery area. The second section analyzes the optimal routing of goods, using techniques of geographic information systems. Considering the results of a decision support system developed through the bristling from the routing transport legacy. Found that the outcome of a decision support system in line with actual conditions of use and convenience in transportation planning in comparison with traditional methods. Decision support system can reduce the transport distance to be 4.86 percent.It also can be displayed in areas such as maps to plot new stores and displays data in geographic information systems effectively as in the models developed that can reduce the number of master route is required to transport and the costs of delivering approximately 2.98 percent or about 5.37 million per year.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15953
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.363
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.363
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
hunsa_sa.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.