Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16050
Title: ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของงานโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ
Other Titles: Selected factors related to job effectiveness community hospitals, central region, as perceived by professional nurses
Authors: ปัทมา ภูพิพัฒน์ผล
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
สุวิณี วิวัฒน์วานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: yupin.a@chula.ac.th
suvinee@hotmail.com
Subjects: โรงพยาบาลชุมชน
ประสิทธิผลองค์การ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศองค์การและประสิทธิผลของงาน ความสัมพันธ์และตัวแปรพยากรณ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศองค์การกับประสิทธิผลของงาน และตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลของงาน โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 308 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศองค์การและประสิทธิผลของงาน โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และวิเคราะห์ความเที่ยงขอแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.91, 0.96 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์พหุคูณแบบเป็นขั้นตอนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศองค์การและประสิทธิผลของงาน โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับสูง (X-bar =4.15, 4.02 และ 4.22 ตามลำดับ) 2. ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านอายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน รายได้และตำแหน่งในการปฏิบัติงาน ไม่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของงานโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของงาน โรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .695 และ .175 ตามลำดับ) 4. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลขององค์การโรงพยาบาลชุมชนเขตภาคกลาง ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 คือบรรยากาศองค์การ โดยสามารถพยากรณ์ได้ 48.3% (R2=.483). และสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z ประสิทธิผลของงาน = .695 Z บรรยากาศองค์การ
Other Abstract: To study transformational leadership, organizational climate and job effectiveness to investigate the relationship between personal factors, transformational leadership, organizational climate and job effectiveness of community, hospitals, central region, as perceived by professional nurses. The sample was 308 professional nurses, who were randomly selected through multiple-stage sampling technique. Research instruments were questionnaires consisting of four parts; personal factors, transformational leadership, organizational climate, and job effectiveness. The control validity were tested by 5 experts. The Cronbach, s alpha coefficients were 0.91, 0.9 and 0.96 respectively. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson, s product moment correlation coefficients, and stepwise multiple regression. The major findings were as follows: 1. The Transformational leadership, organizational climate and job effectiveness of community hospitals, central region, as perceived by professional nurses, at the high level. (X-bar = 4.15 , 4.02, and 4.22). 2. Personal factors of professional nurses in terms of age, education, married status. experience, income and working position were not related to job effectiveness of community hospitals, central region, as perceived by professional nurses. 3.There were positive significantly related between transformational leadership, organizational climate and job effectiveness of community hospitals, central region, as perceived by professional nurses with the significant at the 0.05 level. (r = .695 and .175). 4. Variable that could significantly predicted of job effectiveness of community hospitals, central region, as perceived by professional nurses, significant was organizational climate, at 0.05 level. The predictors accounted for 48.3% of the variance (R2 = .483). The standardized score equation from the analysis was as follows: Z effectiveness = .695 Z organizatonal climate
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16050
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2106
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2106
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pattama_pu.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.