Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16152
Title: ทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีภาวะอ้วนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Attitude and weight control behavior among obese students in expanded secondary schools under jurisdiction of Bangkok, Metropolis
Authors: จิรยุทธ โสมขันเงิน
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Suchitra.Su@Chula.ac.th
Subjects: การควบคุมน้ำหนัก
การลดความอ้วน
น้ำหนักตัว
เด็ก -- การเจริญเติบโต
โรคอ้วน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีภาวะอ้วนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครตามตัวแปรเพศ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีภาวะอ้วน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 367 คน เป็นชาย 188 คน เป็นหญิง 179 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าดัชนีความสอดคล้องภายในเครื่องมือเท่ากับ 0.84 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า “ที” (t-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีภาวะอ้วนมีทัศนคติต่อการควบคุมน้ำหนักด้านการควบคุมอาหารอยู่ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติต่อการควบคุมน้ำหนักด้านการมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับดี เปรียบเทียบตามตัวแปรเพศไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีภาวะอ้วนมีพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักด้านการควบคุมอาหารและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักด้านการมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับพอใช้ เปรียบเทียบตามตัวแปรเพศพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการควบคุมน้ำหนักและพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักด้านการควบคุมอาหาร ในภาพรวมพบความสัมพันธ์ระดับต่ำ (r = 0.151) เมื่อจำแนกตามเพศนักเรียนชายพบความสัมพันธ์ระดับธ์ต่ำ (r = 0.211) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ในนักเรียนหญิง (r = 0.098) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย ในภาพรวมไม่พบความสัมพันธ์ (r = 0.088) เมื่อจำแนกตามเพศนักเรียนชายพบความสัมพันธ์ระดับต่ำ (r = 0.175) แต่ไม่มีความสัมพันธ์ในนักเรียนหญิง (r = 0.021) สรุปได้ว่า ทัศนคติของนักเรียนที่มีภาวะอ้วนต่อการควบคุมน้ำหนักอยู่ในระดับค่อนข้างดีส่วนพฤติกรรมการควมคุมน้ำหนักอยู่ในระดับพอใช้ ดังนั้นโรงเรียนควรจัดโปรแกรมส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักและจัดกิจกรรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนชายและนักเรียนหญิงต่อไป
Other Abstract: The purposes of this survey research were to study the weight control attitude and behavior as well as the relationship between attitude and behavior among obese students in expanded secondary schools under the jurisdiction of Bangkok Metropolis under the influence of genders. The samples were 367 obese students, 188 males and 179 females, who studied in first, second and third year of secondary schools in 2009 academic year. Sample selection was achieved by specific randomization. The questionnaire was employed as a research tool in this study. The index of item objective congruence (IOC) was 0.84 and its reliability was 0.82. The obtained data were analyzed in term of percentages, means, standard deviations, T-test and Pearson’s coefficient were also applied. The results indicated : 1. The attitude toward weight control under the aspect of diet control of obese students was found to be in moderate level, while the attitude toward weight control regarding physical activities was found at good level. The differences between genders were not statistically significant at .05 level. 2. The weight control behavior under the aspects of diet control and physical activities of obese students were at fair level. Significantly differences between genders were also found at .05 level. 3. Attitude toward weight control under the aspect of diet control and the behavior of diet control were not highly correlated (r = 0.151). The correlation coefficient for male students was 0.211. 4. There was no correlation between the attitude toward weight control regarding physical activities and the behavior regarding physical activities (r = 0.088). Considering the effect of sexes, there was a low correlation between the attitude toward weight control regarding physical activities and the behavior regarding physical activities for male students (r = 0.175). In conclusion, obese students attitude toward weight control was found to be at pretty good level and weight control behavior was found to be at fair level. As a result, the school should promote weight control programe and activities that suitable for the obese male and female students.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16152
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.374
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.374
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirayut_so.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.