Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16162
Title: การสื่อความหมายด้วยท่าเต้นประกอบเพลงจากรายการโทรทัศน์
Other Titles: The signification of dance movements accompanying songs presented in a selected television program
Authors: ธิดา วารีแสงทิพย์
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
การเต้นรำ
การเคลื่อนไหว
ดนตรีกับการเต้นรำ
การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด
ภาษาท่าทาง
รายการโทรทัศน์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อเข้าใจถึงความสำคัญและความจำเป็นของการใช้ท่าเต้นเข้ามาประกอบกับบทเพลง ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการสื่อความหมายที่ปรากฏซึ่งถูกเข้ารหัสเป็นสัญญะต่างๆ ในท่าเต้นประกอบเพลง และเพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างท่าเต้นประกอบเพลงและบทเพลง โดยท่าเต้นประกอบเพลงที่ปรากฏจะอธิบาย ขยาย หรือขัดแย้งกับบทเพลง ผลการวิจัยสรุปว่า ท่าเต้นประกอบเพลงที่ปรากฏซึ่งนำเสนอไว้ในรายการ OOPS! Television ตอน 50 ท่าเต้นแดนซ์สุดมันส์เขย่าบัลลังก์วงการ ที่คัดสรรมาทำการศึกษานั้น ทำหน้าที่หลากหลายด้วยกัน ได้แก่ (1) เป็นข้อความ (2) เป็นรหัส (3) เป็นบริบท และ (4) เป็นตัวกลางหรือช่องทางการติดต่อโดยซ่อนข้อความที่มีอยู่แล้วในบทเพลงเอาไว้ในท่าเต้น เพื่อช่วยอธิบายและ/หรือขยายข้อความที่เป็นใจความสำคัญให้ผู้ชมเข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งสร้างสีสันและความสนุกสนานให้กับผู้ชม จนสามารถจัดความน่ารำคราญของการส่งข้อความซ้ำๆ ลงไปได้ ทั้งนี้กระบวนการสร้างความหมายเกิดขึ้นภายในจิตของผู้ชมแต่ละคน ท่าเต้นที่เห็นเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดภาพซึ่งเป็นได้ทั้งสัญญะประเภทเครื่องหมาย ภาพ และดัชนี โดยทั้งหมดเกิดขึ้นภายในสมอง โดยปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน องค์ประกอบของภาพและเสียง ประกอบกับประสบการณ์จะนำไปสู่ความหมายหนึ่งเดียวที่เกิดจากความเข้าใจร่วมกันของผู้ชม ศิลปะของการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายไปตามจังหวะดนตรีหรือท่าเต้นประกอบเพลงนี้จึงถูกสร้างสรรค์มาเพื่อใช้เป็นอีกหนึ่งช่องทางการสื่อสารความหมายได้อย่างมีสุนทรียะและมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This qualitative reearch is focusing on "dance movements" using in music videos and/or in live concerts which have been selected and ranked in a selected television program. The purpose is to understand the signifcance of the use of dance movements created for songs; to understand the process of interpret meaning; and to understand the relationship between dance movements and songs in which dance movements would describe, amplify, or contradic with messages in the songs. The study indicates that dance movements in this selected television program besides themselves drive several functions:(1)message (2)code (3)context and (4)contact. The message hidden in the dance pieces already existed in the song; thus, dance movements purposely describe and/or amplify the keyword(s) of songs and that message would be obviously revealed by the audiences. However, this occurrence of redundancy vanish annoyances of the repetition. On the other hand, these pieces of art color its work and buildup pleasure to audiences. The process of interpreting meaning occurs in each audience's conscious mind Dance movements that individuals observed can perform symbol, icon, and index signs in the interpretant stage in their mind along with external and internal elements; visual and audio; and experiences lead to a common meaning. The art of body movements along the rhythm so called dance mevements accompanying songs in this research are created to be a channel of conveying meaning aesthetically and effectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16162
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.729
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.729
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tida_wa.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.