Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16486
Title: สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาแบบพึ่งตนเอง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน
Other Titles: State and problems of educational management of self-reliance elementary schools under the jurisdiction of the Office of Mae Hong Son Provincial Primary Education
Authors: ชัยวัฒน์ อาษานอก
Advisors: แรมสมร อยู่สถาพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Ramsamorn.y@chula.ac.th
Subjects: โรงเรียนประถมศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษาแบบพึ่งตนเอง
การพึ่งตนเอง
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาแบบพึ่งตนเอง สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการโรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียน รวมทั้งสิ้น 74 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมด 4 ชุด คือ แบบศึกษาเอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และการพรรณาในรูปของความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ในด้านการจัดระบบโครงสร้างของโรงเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่จัดโครงสร้างทางการบริหารโรงเรียนในลักษณะของโรงเรียนขนาดใหญ่ ส่วนมากมีนักเรียนเพศชาย และเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง โรงเรียนทั้งหมดได้รับงบประมาณจากการจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด และมีปัญหาในด้านอาหารและเครื่องนุ่งห่มสำหรับนักเรียน 2) ในด้านนโยบายการจัดการศึกษาแบบพึ่งตนเอง โรงเรียนส่วนใหญ่รับนโยบายมาจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด โดยมีหลักการ คือ มุ่งเปิดโอกาสให้เด็กในวัยเรียนทุกคนเข้ารับการศึกษาอย่างครบถ้วน โรงเรียนทั้งหมดจะมีปัญหาโดยขาดเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครูศึกษา 3) ในด้านการปรับและจัดทำหลักสูตรสำหรับโรงเรียนแบบพึ่งตนเอง โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ดำเนินการปรับและจัดทำหลักสูตรสำหรับโรงเรียนแบบพึ่งตนเอง 4) ในด้านการนำหลักสูตรไปใช้ โรงเรียนส่วนใหญ่จัดเตรียมบุคลากร โดยจัดครูเข้ารับการอบรมหรือสัมมนา ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของนักเรียนในด้านการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน วัดและประเมินผลโดยการทดสอบ และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรประเภทกิจกรรมการทำสวนผัก และกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ 5) ในด้านบริการที่ทางโรงเรียนจัดให้สำหรับนักเรียน โรงเรียนทั้งหมดจัดบริการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และบริการอาหารกลางวัน ส่วนโรงเรียนบางโรงจัดบริการตัดผมนักเรียน บริการห้องสมุดโรงเรียนและบริการความก้าวหน้าทางวิชาการ 6) ในด้านสภาพแวดล้อมทั่วไปของโรงเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเขาและเชิงเขา มีสิ่งอำนวยความสะดวกและการหาเลี้ยงชีพประเภทบ้านพักนักเรียน ห้องน้ำนักเรียน สถานที่สำหรับปลูกพืชผักสวนครัว สถานที่สำหรับปลูกไม้ผล สถานที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ และเครื่องมือการเกษตร 7) ในด้านการดำรงชีวิตประจำวันภายในโรงเรียน ครูผู้สอนส่วนใหญ่จัดระบบโครงสร้างการปกครองในบ้านพักออกเป็นฝ่ายต่างๆ เช่น จัดให้มีประธานบ้านพัก รองประธานบ้านพัก และสมาชิกบ้านพัก ซึ่งส่วนมากมีวิธีวางแผนการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบประจำวันโดยการจัดทำแผนงานเพื่อนำไปปฏิบัติล่วงหน้า
Other Abstract: The purpose of this research was to study the state and problems of educational management of self-reliace elementary schools under the jurisdiction of the Office of the Mae Hong Son Provincial Primary Education. The population were administrators, academic teachers, teachers and students in total amounts of 74. The tools used were a Document Analysis Form, an Interview Form, and an Observation Form. The received data were analyzed by means, of descriptive statistics (percentage) and content analysis. The findings were as follow : 1) The majority of school organizational system management had been manipulated in the form of large school. Most of the students were Kareng boys. Every school was provided with budgets from the original office but still found that there were problems of food and apparel shortage. 2) Concerning the self-reliance education policy, the majority of the schools followed the Provincial Primary Office's. The main purpose was to create educational opportunities for children. The teacher's problem was the lack of concerning document. 3) For adjusting and creating the curriculum for self-reliance school, most of the schools did not work it out effectively. 4) Concerning the curriculum implementation, the majority of the schools prepared the staff by organizing seminars. Teachers prepared activities by emphasizing on the improvement of self-reliance learning, skills. The materials were taken from natural resources and environments in school. The progression was evaluated by tests and extra curriculum activities concerning agriculture such as vegetables and aminals. 5) Concerning services provided for students every school provided health services and lunch. Some schools provided hair-cutting service for students, library and acadamic innovations. 6) Concerning school general environments, the majority of the schools located on the mountains and hillside where the infrastructure were for living. The schools were arranged into students residents and toilets, vegatables and fruits areas, animal areas and agricuture materials. 7) Concerning daily life within school, most of the teachers administered the structure by dividing into departments such as the president, vice president and the members of the resident. Mostly, there were plans of actions and daily responsibility which were always planned in advance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16486
ISBN: 9746376438
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiwat_As_front.pdf786.7 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_As_ch1.pdf800.32 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_As_ch2.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_As_ch3.pdf827.77 kBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_As_ch4.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_As_ch5.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Chaiwat_As_back.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.