Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16723
Title: | บทบาทของโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรากับการเป็นสื่อเพื่อสันติภาพ กรณี เหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Other Titles: | Role of the Southern news desk, Isara Institute as peace journalism : in the case of insurgency in three southernmost provinces |
Authors: | วิชญวาณี ชูนุ้ย |
Advisors: | พิรงรอง รามสูต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pirongrong.R@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อข่าวและการเขียนข่าว หนังสือพิมพ์ การก่อความไม่สงบ -- ไทย (ภาคใต้) ไทย (ภาคใต้) -- ปัญหาและข้อพิพาท |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษา 1) บทบาทของการเป็นสื่อเพื่อสันติภาพของโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา 2) พัฒนาการ กระบวนการในการดำเนินงานของโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา 3) ลักษณะรูปแบบเนื้อหาที่นำเสนอ รวมถึงวิเคราะห์เนื้อหาข่าวที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 เหตุการณ์ที่ปรากฏในโต๊ะข่าวภาคใต้ เว็บไซต์สถาบันอิศรา (www.isranews.org) และสื่อหนังสือพิมพ์กระแสหลัก 3 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์คมชัดลึก และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 4) วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เปิดรับเว็บไซต์ต่อการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของเว็บไซต์ โดยใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวของเว็บไซต์สถาบันอิศรา และหนังสือพิมพ์ตามกรอบแนวคิดลักษณะสื่อเพื่อสันติภาพ ผลการวิจัยพบว่า โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา มีพัฒนาการตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงช่วงที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคเรียนรู้ร่วมกัน ยุคปรับโครงสร้าง และยุคสานต่อแนวคิด มีบทบาทการเป็นสื่อเพื่อสันติภาพโดยการเปิดพื้นที่ข่าวที่ไม่เน้นความรุนแรง และนำเสนอเรื่องราวในสามจังหวัดชายแดนใต้ทุกแง่มุม เพื่อลดอคติและสร้างความเข้าใจของคนในสังคม ส่วนปัจจัยที่จะส่งผลต่อบทบาทดังกล่าวคือ ทักษะทางวิชาชีพของผู้ปฏิบัติงาน ความเข้าใจในพื้นที่ของผู้ปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือของสื่อและเครือข่ายต่างๆ การให้ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่รัฐ และความไว้วางใจของคนในพื้นที่ ในด้านการนำเสนอเนื้อหาของโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ได้นำเสนอข่าวที่มีความสอดคล้องกับแนวทางสื่อเพื่อสันติภาพ แตกต่างจากการนำเสนอของหนังสือพิมพ์กระแสหลัก ซึ่งการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ไม่สนับสนุนแนวทางของสื่อเพื่อสันติภาพมากที่สุด ส่วนการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์คมชัดลึก แม้ไม่ได้นำเสนอข่าวที่สนับสนุนแนวทางของสื่อเพื่อสันติภาพ แต่มีความพยายามในการนำเสนอข่าวที่จะช่วยลดความขัดแย้ง ในด้านของผู้เปิดรับเว็บไซต์โต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ผู้รับสื่อมีความพึงพอใจในการใช้ประโยชน์ มีความเชื่อถือต่อเนื้อหา และมีความเห็นสอดคล้องว่าการนำเสนอข่าวของโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา มีแนวโน้มที่จะสร้างความเข้าใจและช่วยคลี่คลายปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ |
Other Abstract: | To 1) study whether the Southern News Desk, Isara Institute performs the role of peace journalism; 2) study the development, news production process at the Southern News Desk, Isara Institute; 3) analyze content of news about the insurgency in three Southernmost provinces as presented in the website (www.isranews.org), and in three mainstream newspapers - Matichon, Khom Chad Leuk and Thai Rath using peace journalism concept as analytical framework; 4) to study the opinions of website users about the role of the website as peace journalism. According to the findings, the development of the Southern News Desk, Isara Institute can be divided into three periods - mutual learning, restructuring, extension of ideas. The Southern News Desk, Isara Institute clearly exhibits a role of peace journalism by providing space for non-violent news, insightful and well-rounded storytelling, with an aim to reduce prejudice and create better understanding about the area. Factors which were found to influence the websites peace journalism performance include professional skills, understanding about the situation in the South, co-operation received from other media, civic networks and authorities, as well as trust by the community. When analyzed with the peace journalism model, the reporting in Southern News Desk, Isara Institute’s news has been consistent with the peace journalism concept, distinctively from news in selected mainstream media. Thai Rath was found to have the least proportion of peace journalism reporting while Kom Chad Leuk and Mati Chon were found to be more supportive of peace journalism in their reporting by presenting news that would help resolve conflict. As for the users of the website, they were found to satisfactory with the website which they view as reliable and well-positioned to create understanding and resolve conflict in the three Southernmost provinces. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16723 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.397 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2009.397 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
witchayawanee_ch.pdf | 6.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.