Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17473
Title: การเปรียบเทียบผลการสอนวิชาคณิตศาสตร์หน่วย "ร้อยละ" โดยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์และวิธีการสอนแบบธรรมดา ในชั้นประถมศึกษาปีที่ ห้า
Other Titles: Comparison of the results of teaching mathematics unit on "percent" through the group process method and the conventional method in prathom suksa five
Authors: พัชรี เอี่ยมทัศน์
Advisors: ทิศนา แขมมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tisana.K@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มิวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสัมฤทธิผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับวิธีการสอนแบบธรรมดา และศึกษาพัฒนาการด้านทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ และด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และวิธีการสอนแบบธรรมดา สมมติฐานของการวิจัย สัมฤทธิผลในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่สอนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบธรรมดาให้ผลแตกต่างกัน และทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ ทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนกลุ่มที่สอนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น วิธีดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ศึกษาทฤษฎี และวิธีการเรียนการสอนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ หลังจากนั้นจึงได้สร้างหน่วยการสอนขึ้นทดลองใช้ 1 หน่วย เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหน่วยการสอนที่จะใช้ทดลองจริง จำนวน 6 หน่วย ต่อมาผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบขึ้น 2 ชุด คือ แบบสอบสัมฤทธิผลทางการเรียน และแบบวัดทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ แล้วทำการวิเคราะห์ปรับปรุงจนมีคุณภาพเชื่อถือได้ และได้นำแบบวัดทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของ ฉันทนา ภาคบงกช ที่ใช้สอนในหน่วย “วันสำคัญของชาติ” มาทดลองใช้ และหาความเที่ยงชนิดความคงที่ภายใน ผู้วิจัยได้นำแบบสอบทั้ง 3 ชุด ไปทดสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนการทดลองสอน ต่อมาผู้วิจัยได้ทำการสอนนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มด้วยวิธีการสอน 2 แบบ คือ กลุ่มหนึ่งสอนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เรียกว่ากลุ่มทดลอง อีกกลุ่มหนึ่งสอนด้วยวิธีการสอนแบบธรรมดา เรียกว่ากลุ่มควบคุม นักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม เหมือนกันโดยมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการทดสอบค่า F (F-test) เมื่อทำการสอนเป็นเวลา 5 สัปดาห์แล้ว ผู้วิจัยได้ทดสอบสัมฤทธิผลทางด้านการเรียน ทัศนคติต่อคณิตศาสตร์ และ ทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนด้วยแบบสอบชุดเดิม ผลการวิจัย ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการทดลองสอน ปรากฎว่าจากการทดสอบหลังสอน ความแตกต่างของสัมฤทธิผลในการเรียนระหว่างนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ไม่มีนัยสำคัญแต่จากการทดสอบหลังการสอน 1 เดือน ผลปรากฎว่าความแตกต่างของสัมฤทธิผลในการเรียนระหว่างนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีนัยสำคัญทางด้านทัศนคติต่อคณิตศาสตร์และทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียน กลุ่มที่สอนด้วยวิธีกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนพัฒนาการต่อคณิตศาสตร์ และทัศนคติด้านมนุษยสัมพันธ์ของนักเรียนกลุ่มที่สอนด้วยวิธีสอนแบบธรรมดา ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01
Other Abstract: Purposes: The purpose of this study was to compare the students’ achievements resulting from learning Mathematics through the Group Process Method and the Conventional Method. Another objective was to study the development of students’ attitudes towards learning Mathematics and students’ human relations skills after learning Mathematics through the Group Process Method and the Conventional Method. Procedures: First, the researcher studied the theories and principles of teaching through the Group Process Method. Then, six Mathematics Units were designed, tried out, and improved for field-testing. The researcher constructed two sets of tests: an achievement test, and an attitude test for measuring students’ attitudes towards learning Mathematics. The researcher also used the attitude test of Miss Chantana Parkbonkoch for measuring students’ human relations skills. These three tests were statistically reliable. After the students were pre-tested, the researcher taught two groups of students by two different methods of teaching. The Group Process Method was used with the experimental group and the Conventional Method was used with the control group. The two groups of students were considered comparable by Means and Standard Deviation of the Mathematics scores they had made in their last examination. After five weeks of teaching, the students’ achievements and attitudes were determined by the three tests mentioned above. Results: The results of the experiment indicated that there was no significant difference between the achievements of the students in both groups after teaching for five weeks. However, from the second post-tests which were done one month after the first post-tests, the analysis of the data indicated that there was significant difference between the achievements of the students in both groups. Concerning the students’ attitudes towards learning Mathematics and students’ human relations skill, the analysis of the data indicated significant difference at the .01 level of the experimental group while the control group showed no significant difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17473
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_Ae_front.pdf359.36 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Ae_ch1.pdf421.54 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Ae_ch2.pdf465.51 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Ae_ch3.pdf395.95 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Ae_ch4.pdf465.53 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Ae_ch5.pdf331.31 kBAdobe PDFView/Open
Patcharee_Ae_back.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.