Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17564
Title: ระบบการให้เกียรติที่สะท้อนจากคำขึ้นต้น คำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 คำลงท้าย และคำรับในราชาศัพท์ไทย
Other Titles: The honorific system reflected in salutation, first- and second-person pronouns, closing terms and responding particles in Thai royal vocabulary
Authors: สุวดี นาสวัสดิ์
Advisors: กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Kingkarn.T@chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- ราชาศัพท์
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ระบบการให้เกียรติที่สะท้อนจากคำขึ้นต้น คำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 คำลงท้าย และคำรับในราชาศัพท์ไทย 2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างคำขึ้นต้นคำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 คำลงท้าย และคำรับในราชาศัพท์ไทย 3) เพื่อวิเคราะห์คำสรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ 1 และ 2 ในภาษาไทย โดยเปรียบเทียบกับคำสรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ 1 และ 2 ในภาษาเอเชียอื่นๆ ซึ่งมีชุดคำดังกล่าว งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลราชาศัพท์ไทยจากหนังสือราชาศัพท์ของสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ส่วนข้อมูลภาษาอื่นได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า คำขึ้นต้น คำสรรพนามบุรุษที่ 1และ 2 คำลงท้าย และคำรับในราชาศัพท์ไทย เป็นรูปภาษาแสดงการให้เกียรติแก่ผู้พูดด้วยแบบสัมพันธ์กับเป้าหมายของการให้เกียรติ โดยคำในแต่ละชุดข้อมูลมีระดับการให้เกียรติลดหลั่นลงไปตามฐานันดรศักดิ์ของคู่สนทนา ในจำนวนนี้คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์จะมีลักษณะที่แสดงความยกย่องเป็นพิเศษและแตกต่างจากคำที่ใช้กับคู่สนทนาซึ่งมีฐานันดรศักดิ์รองลงไปอย่างชัดเจน คำราชาศัพท์ในแต่ละชุดที่ทำการศึกษาประกอบด้วยวลีหรือประโยค ซึ่งกลายเป็นคำเพราะการใช้ซ้ำจนเป็นแบบแผน นอกจากนี้ในการเปรียบเทียบคำสรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 ที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ในภาษาไทยและภาษาเอเชียอื่นพบว่า คำสรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาไทย ภามาเลย์ และภาจีนโบราณมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือเป็นคำอ้างถึงผู้พูดอย่างถ่อมตน คำสรรพนามบุรุษที่ 2 ในภาษามาเลย์เป็นคำอ้างถึงพระมหากษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา ส่วนคำสรรพนามบุรุษที่ 2 ในภาษาไทยและภาษาจีนโบราณเป็นคำอ้างถึงพระมหากษัตริย์อย่างอ้อม
Other Abstract: The purposes of the present study are 1) to analyze the honorific system reflected in salutation, first- and second-person pronouns, closing terms and responding particles in Thai royal vocabulary, 2) to analyze the word formation of these words and 3) to analyze first- and second-person pronouns in Thai royal vocabulary by comparing with those in other Asian languages. The Thai data in this study are drawn from the A Rajasap (Thai Royal Vocabulary)D authorized by the National Identity Board whereas the data in Malay and Classical Chinese are drawn from interviewing and related literatures. It has been found that the Thai Royal vocabulary of salutation, first- and second-person pronouns, closing terms and responding particles are addressee honorifics associated with target of respect. Each set of the vocabulary expresses degree of respect according to royal ranking of interlocutor, i.e. linguistic expressions for King obviously distinguish from linguistic expressions for lower royal ranking. One royal vocabulary is composed of phrases or sentences by means of lexicalization which is a linguistic phenomenon under routinization mechanism. In addition, in comparing the Thai royal first- and second-person pronouns with those in Malay and Classical Chinese, it has been found that the first-person pronouns of those languages are similarly humbling forms. The second-person pronouns in Malay are direct referent whereas those in Thai and Classical Chinese are indirect referent
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17564
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1249
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1249
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwadee_Na.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.