Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17607
Title: | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้อาเซียน : การสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน |
Other Titles: | ASEAN economic cooperation : food and energy security reserve |
Authors: | พรรณพิมล สุวรรณพงศ์ |
Advisors: | วินิตา ศุกรเสพย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้อาเซียน เรื่องการสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ในฐานะที่การสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก “ปฏิญญาว่าด้วยความสมานฉันท์แห่งอาเซียน” พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในยุคปัจจุบันของอาเซียนและตามหลักการแห่งปฏิญญาดังกล่าว ความร่วมมือทางด้านอาหารและพลังงานอาเซียนให้ความสำคัญแก่ผลิตภัณฑ์ขั้นมูลฐาน 2 ชนิด คือข้าวและน้ำมัน ในแง่การสนองความต้องการแก่สมาชิก โดยอาเซียนได้มีความตกลงเรื่องการสำรองเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และจัดตั้งกองทุนสำรองข้าวในยามฉุกเฉิน ในปี พ.ศ.2522 และต่อมาอาเซียนก็ได้มีความตกลงเรื่องการแบ่งปันน้ำมันในยามฉุกเฉินในปีพ.ศ.2526 ทั้งนี้เพราะประเทศไทยเห็นว่า โดยหลักการแล้วการสำรองอาหารและพลังงานควรจะทำควบคู่กันไป ดังนั้น เมื่อมีการสำรองเพื่อความมั่นคงในด้านอาหารเกิดขึ้นแล้ว ก็ควรที่จะมีการสำรองเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานเกิดขึ้นด้วย การศึกษาเรื่องนี้จึงตั้งสมมติฐานไว้ว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนเรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในด้านอาหารและพลังงาน กรณีความสำเร็จของโครงการสำรองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารซึ่งมีทุนจัดตั้งกองทุนสำรองข้าวในยามฉุกเฉิน จะเป็นแนวทางผลักดันให้เกิดการสำรองพลังงานเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยการจัดตั้งกองทุนสำรองน้ำมันได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กัน 1. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาสำรอง รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์นั้นในตลาดโลก 2. อัตราเฉลี่ยของผลประโยชน์ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้รับอยู่ในระดับเสมอภาคกันหรือไม่ 3. บรรยากาศทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (พ.ศ. 2519 - พ.ศ.2526) 4. บรรยากาศเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร ตามแนวความคิดภูมิภาคนิยม และอยู่ในกรองทฤษฎีการรวมตัวกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในทัศนะของ Karl W. Deutsch ที่ว่า การรวมตัวกันของประชาชาติต่างๆ ในทางสันติจะนำไปสู่ Security Community โดยกล่าวถึงภารกิจของ Integration 4 ประการด้วยกัน คือ เพื่อรักษาสันติภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งระดับความสามารถเอนกประสงค์ที่สูงขึ้น เพื่อปฏิบัติภารกิจเฉพาะบางประการให้สำเร็จลุล่วงไป และเพื่อให้ได้ภาพพจน์ใหม่ของตนเอง ซึ่งภารกิจเหล้านั้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการ คือ การติดต่อเกี่ยวข้องกันของสมาชิกที่รวมตัวกันนั้นมีปริมาณหรือความสำคัญโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ มากน้อยเพียงใด ความสอดคล้องของผลประโยชน์และค่านิยมร่วมกัน เงื่อนไขของความสามารถที่จะตอบสนองซึ่งกันและกัน และการมีเอกลักษณ์หรือความผูกพันร่วมกันอย่างกว้างๆ จากการศึกษาเรื่องนี้ได้ข้อสรุปว่า การสำรองพลังงานไม่ใช่เรื่องที่จะได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยง่ายเหมือนการสำรองอาหาร และอาเซียนไม่สามารถจัดตั้งกองทุนสำรองน้ำมันขึ้นในลักษณะเดียวกันกับกองทุนสำรองข้าวได้ เพียงแต่ได้มีการตกลงในเรื่องการแบ่งปันน้ำมันในยามฉุกเฉินขึ้นเพื่อเป็นทางออกในเรื่องความร่วมมือในด้านพลังงานของอาเซียน ทั้งนี้ เนื่องมาจากสาเหตุ คือ 1. ลักษณะของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด คือ ข้าวและน้ำมัน มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแตกต่างกัน รวมถึงอุปสงค์และอุปทานของข้าวและน้ำมันในตลาดโลกก็แตกต่างกันด้วย 2. อัตราเฉลี่ยของผลประโยชน์ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้รับในเรื่องการสำรองพลังงานนั้น ประเทศสมาชิกมองเห็นต่างกัน คือประเทศผู้ผลิตน้ำมันมองว่าตนเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์มากกว่า หากจะต้องนำน้ำมันที่สำรองไว้ที่กองทุน แทนที่จะได้นำไปใช้ในการเพิ่มพูนรายได้แก่ประเทศ 3. บรรยากาศทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา คือ ในช่วง พ.ศ. 2519 - พ.ศ.2526 ในช่วงพ.ศ.2519 – 2523 ผลิตภัณฑ์น้ำมันมีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจ และเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมันจนกระทั่งน้ำมันมีราคาสูง มีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศผู้นำเข้าน้ำมันอย่างมาก ทำให้มีการเรียกร้องให้เกิดการสำรองพลังงานขึ้นโดยเร็วในอาเซียน เพื่อเป็นหลักประกันเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน แต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเห็นว่า ตนจะเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์ จึงไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ สำหรับความคิดในเรื่องนี้ จนกระทั่งในช่วงปลายของการศึกษา คือพ.ศ.2525 เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาดและราคาตกลง ทั้งนี้เพราะประเทศผู้ผลิตน้ำมันต่างเร่งผลิตน้ำมันจนมากเกินความต้องการใช้ในโลก และวิกฤตการณ์พลังงานในช่วงแรกทำให้เกิดมาตรการประหยัดพลังงานขึ้น และได้มีการจัดหาพลังงานในรูปอื่นขึ้นมาใช้ทดแทนพลังงานน้ำมัน ความร่วมมือในเรื่องพลังงานของอาเซียนจึงได้ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง คือมีการตกลงแบ่งปันน้ำมันในยามฉุกเฉิน และมีการผนวกระบบเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือประเทศผู้ผลิตน้ำมันอาเซียน กรณีเกิดภาวะล้นตลาดขึ้นด้วย 4. บรรยากาศเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน จากการศึกษาพบว่า ระยะเวลาที่ทำการศึกษา ซึ่งอาเซียนเพิ่งจะหันมาให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่อกันมากขึ้นนั้น ยังเป็นระยะเวลาที่ไม่นานพอที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่าอาเซียนประสบผลสำเร็จหรือไม่ เพราะโครงการความร่วมมือหลายโครงการเพิ่งจะอยู่ในระยะเริ่มดำเนินงานในรูปแบบเดี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสำรองข้าวในยามฉุกเฉิน และการแบ่งปันน้ำมันในยามฉุกเฉินเช่นกัน อย่างไรก็ดี เมื่อมองในระยะยาวแล้ว ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายใต้อาเซียนนี้นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของอาเซียนต่อไปภายหน้า โดยความคิดที่ว่า ผลประโยชน์ของชาติควรหลีกทางให้กับผลประโยชน์ในภูมิภาคซึ่งเป็นผลประโยชน์ระยะยาว ชาติอาเซียนจึงควรจะมีความจริงใจต่อกัน และร่วมมือกันเท่าที่พันธมิตรจะพึงกระทำต่อกัน เพื่อให้สมาคมอาเซียนเป็นเสาหลัก ที่พยุงไว้ทั้งการดำเนินนโยบายต่างประเทศและการพัฒนาเศรษฐกิจของบรรดาสมาชิก ทั้งนี้เพื่อให้สมาคมอาเซียนเป็นประชาคมแห่งความมั่นคงต่อไปในภายหน้า |
Other Abstract: | This study is on ASEAN Food Security Reserve and on energy cooperation. It is, therefore, within the scope of ASEAN economic cooperation. Both projects are regarded as important means to implement the Declaration of ASEAN Concord, 1976 (2519), which marks the beginning of a new era of ASEAN cooperation. According to that Declaration, cooperation in the fields of food and energy accords particular importance to two basic commodities, rice and petroleum. ASEAN members have concluded an agreement on ASEAN Food Security Reserve and set up ASEAN Emergency Rice Reserve in 1979 (2522). Then in 1983 (2526), ASEAN concluded an agreement on ASEAN Emergency Petroleum Sharing Scheme. In principles, Thailand considers that the establishment of ASEAN Emergency Rice Reserve must be done in parallel to that of energy. It is hypothesized that the success of ASEAN economic cooperation in the field of food security reserve with the establishment of ASEAN Emergency Rice Reserve will lead to push towards the establishment of an energy reserve for the region’s economic security. This possibility largely depends on : 1) The nature of the commodities to be reserved including their supply and demand in world market. 2) Equality in the average rate of benefit accrued to each member country. 3) The international economic atmosphere during the period covered in the study (1976 – 1983 or 2519 – 2526) 4) The atmosphere of economic cooperation among ASEAN member states. This thesis will be based on an analytical study of documents with regards to regionalism and within the theoretical framework of Karl W. Deutsch’s Integration Theory that is “peaceful integration of nation states would lead to the security communities.” The conclusions derived from this study are : energy security reserve which is not similar to food reserve cannot be achieved. : ASEAN Petroleum Reserve takes a different pattern to that of the ASEAN Rice Reserve. The only agreeable means is the ASEAN Emergency Petroleum Sharing Scheme. The reasons are as follows : 1. There is a disparity between the two commodities, rice and petroleum, in the process of economic development, and the difference in their demand and supply in world market. 2. ASEAN members take a different perception on benefit accrued to each commodity : petroleum producing countries consider that the creation of petroleum reserved will be to their disadvantages. 3. International economic atmosphere during 1976 – 1983 (2519 – 2526) has been initially governed by oil shortage which leads to an increase in the price of petroleum. The increase has tremendously affected ASEAN oil importing countries who consequently urged for the earliest creation of an ASEAN energy reserve to guarantee a security for energy supply. However, ASEAN oil producing countries did not respond positively until early 1982 (2525) when an oil glut led to a sharp decrease in the price of petroleum. ASEAN cooperation in the field of energy was eventually realized in the form of ASEAN Emergency Petroleum Sharing Scheme, with a supplementary scheme to assist ASEAN oil producing countries in the event of an oversupply. 4. The atmosphere of ASEAN economic cooperation, which is still at its initial stage, can not yet provide a guarantee for the smooth functioning of both food and energy security reserve. In the long run, both projects can contribute to the strengthening of ASEAN economic interdependence which supports the theory of regionalism. In any case, ASEAN members have yet to develop their mutual trusts in order to uphold the Association of South East Asian Nations as their pillar of foreign policy and economic development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17607 |
ISBN: | 9745624284 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punpimol_Su_front.pdf | 639.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_ch1.pdf | 490.69 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_ch2.pdf | 709.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_ch3.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_ch4.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_ch5.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_ch6.pdf | 584.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpimol_Su_back.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.