Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17628
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "เวคเตอร์" โดยวิธีสอนแบบผสมกับวิธีสอนแบบบอกให้รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: A comparison of mathematics learning achievement on "Vector" by mixed method and expository method of mathayom suksa four students
Authors: ละเมียด กรบงบชมาศ
Advisors: ยุพิน พิพิธกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง"เวคเตอร์"โดยวิธีสอนแบบผสมกับวิธีสอนแบบบอกให้รู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยวิธีสอนแบบผสม ผู้วิจัยทดลองสอนนักเรียนจำนวน 69 คน ของโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคมโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองจำนวน 35 คน เรียนโดยวิธีสอนแบบผสม และกลุ่มควบคุมจำนวน 34 คน เรียนโดยวิธีสอนแบบบอกให้รู้ ใช้เวลาสอน 10 คาบๆ ละ 50 นาที เมื่อเรียนจบบทเรียนทั้งหมดแล้วให้นักเรียนทำแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.67 แล้วนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของทั้งสองกลุ่มมาทดสอบค่า ซี (Z-Test) หลังจากนั้นให้นักเรียนกลุ่มทดลองทำแบบสอบวัดความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนโดยวิธีสอนแบบผสม แล้วนำมาหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง"เวคเตอร์" โดยใช้วิธีสอนแบบผสมกับวิธีสอนแบบบอกให้รู้แตกต่างกันที่ระดับมีนัยสำคัญ 0.01 และจากผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยวิธีสอนแบบผสม ปรากฏว่านักเรียนจำนวนร้อยละ 91.43 เห็นว่าสอนโดย วิธีสอนแบบผสมทำให้มีการฝึกในด้านตอบคำถาม รองลงมานักเรียนจำนวนร้อยละ 88.57 เห็นว่าการเรียนแบบนี้เข้าใจบทเรียนดีขึ้น มีโอกาสได้ร่วมกิจกรรมการสอน และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to compare mathematics learning achievement of Mathayom Suksa four students on "Vector" by Mixed method and expository method. In addition, the researcher also studied the students' opinions towards mixed method. Sixty nine students of Chanpradittaramvithyakom School were divided into two groups. The experimental group consisted of thirty five 'students taught by mixed method and the control. group consisted of thirty four students taught by expository-method.- he total time spent in teaching was ten periods, fifty minutes each. After accomplishing the entire lesson, the students had an achievement test which the reliability was 0.67 Then the scores of both groups were analyzed by using Z- test. After that the questionnaire concerning the students' opinions towards mixed method was investigated in the experimental group the data was analyzed by using percentage. The result of this research can be concluded that the mathematics learning achievement of Mathayom Suksa four students on "Vector" by mixed method and expository method was statistically significant differences at the level of 0.01. The results of the analysis concerning the students' opinions towards mixed method were concluded that 91.43 % of the students showed that mixed method helped them to practice in answering the questions. In addition, 88.57 % of the students agreed that mixed method helped them to. understand the lesson better, having a chance in co - operating the activities and exchange ideas.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17628
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lamiad_Ko_front.pdf326.38 kBAdobe PDFView/Open
Lamiad_Ko_ch1.pdf391.43 kBAdobe PDFView/Open
Lamiad_Ko_ch2.pdf901.33 kBAdobe PDFView/Open
Lamiad_Ko_ch3.pdf399.22 kBAdobe PDFView/Open
Lamiad_Ko_ch4.pdf340.03 kBAdobe PDFView/Open
Lamiad_Ko_ch5.pdf258.39 kBAdobe PDFView/Open
Lamiad_Ko_back.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.