Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17644
Title: | บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Roles of student advisors in teachers colleges in Bangkok metropolis |
Authors: | ละออ ชุติกร |
Advisors: | อมรชัย ตันติเมธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Amornchai.T@chula.ac.th |
Subjects: | อาจารย์มหาวิทยาลัย |
Issue Date: | 2521 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัญหาของอาจารย์ที่ปรึกษาในการปฏิบัติงานด้านการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย มาจากกลุ่มบุคลากรในวิทยาลัยครูในกรุงเทพมหานคร 6 แห่ง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหาร ใช้ประชากรร้อยละ 100 อาจารย์ที่ปรึกษาใช้ตัวอย่างประชากรร้อยละ 50 และนักศึกษา ใช้ตัวอย่างประชากรร้อยละ 5 ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารวิทยาลัยครู 145 คน อาจารย์ที่ปรึกษา 182 คน และนักศึกษา 498 คน รวมตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 825 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งครอบคลุมบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งในด้านคุณลักษณะ หน้าที่และความรับผิดชอบ การดำเนินงานในการจัดการให้คำปรึกษา ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะ โดยการส่งแบบสอบถามทั้งสิ้น 825 ฉบับ ได้รับเงินคืน 726 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 88.00 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัย 1. อาจารย์ที่ปรึกษามีคุณลักษณะที่เหมาะสม กล่าวคือควรมีอายุระหว่าง 30-34 ปี มีวุฒิทางการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์การสอนในวิทยาลัยครูเกินกว่า 3 ปี ควรเป็นผู้ที่วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษามีอารมณ์มั่นคง หนักแน่น และมีความสามรถในด้านมนุษยสัมพันธ์ 2. อาจารย์ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการอบรมดูแลความประพฤติของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง และปฏิบัติค่อนข้างน้อยในด้านการร่วมมือประสานงาน 3. งานที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรปฏิบัติมากกว่างานอื่นๆ คือ การให้ความรู้เข้าใจแก่นักศึกษาในเรื่องหลักสูตรและแผนการเรียน การเลือกวิชาและการลงทะเบียนเรียนวิธีการเรียนและการแก้ปัญหาทางการเรียน การเปลี่ยน ถอน เพิ่มวิชาเรียน หรือการลาพักการเรียน และการให้คำแนะนำช่วยเหลือนักศึกษาที่เรียนอ่อนให้ปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้นส่วนงานอื่นๆ นั้นก็ควรปฏิบัติให้มากขึ้นกว่าเดิม 4. การดำเนินงานในการจัดการให้คำปรึกษา ควรพิจารณาคัดเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาโดยให้ภาคต่างๆ เป็นผู้คัดเลือกอาจารย์ในแต่ละภาคเสนอให้ฝ่ายวิชาการพิจารณา ควรเตรียมการก่อนที่จะให้อาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติหน้าที่โดยการจัดสัมมนา และควรมีการจัดสัมมนาอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัยครูเดียวกันและกลุ่มวิทยาลัยครูด้วยกัน อาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคนควรรับผิดชอบนักศึกษา 10-15 คน จนจบการศึกษาแต่ละระดับ 5. เรื่องที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาคือ การที่นักศึกษาส่วนมากไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของชั่วโมงโฉมรูม อาจารย์ที่ปรึกษามีงานด้านการสอนและงานพิเศษอื่นๆ มาก ทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะให้คำปรึกษาแนะแนวแก่นักศึกษาได้เพียงพอ และอาจารย์ที่ปรึกษาไม่สามารถรู้จักนักศึกษาได้ทั่วถึง เพราะไม่มีโอกาสได้สอนนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลเลย |
Other Abstract: | The Purposes of the Study 1. To study the role and responsibilities of student advisors in Teachers Colleges in Bangkok Metropolis. 2. To study the problems of student advisors. 3. To compare the opinions of college administrators, student advisors and student about the role and responsibilities of student advisors in Teachers Colleges in Bangkok Metropolis. Methods and Procedures Samples used in this study, consisted of three groups of respondents from 6 Teachers Colleges in Bangkok Metropolis : all of the administrators from the colleges participated in the study, the other groups were 50 percents of student advisors and 5 percents of student teachers which were picked up from those colleges by way of simple random sampling. As a result, there were 145 administrators, 182 student advisors and 498 student teachers as simples of the study. The instrument used in this study was constructed in questionnaires, were concentrated on the student advisors' role which was divided into several areas as : traits, functions and responsi¬bilities, advisory program, problems and conflicts, and recommendations. Out of 825 samples, 726 or 88.00 percents respondents responded. Percentage, mean and standard deviation were used to analyze the data. Findings Significant findings can be summarized as follows: 1. Student advisors should have the following characteristics: 30-34 years of age, with academic attaiment of bachelor degree, and teaching experience in a Teachers College of over 3 years. They should behave decently, be open-minded enough to listen to what the students may have to say, of matured temperament and competent in the filed of human relations. 2. Regarding to academic affair and discipline, student advisors did their duties in medium degree but rather low in cooperation task. 3. The major functions of student advisors that should be concentrated more were, to inform and advise the students about the curriculum and study plans, courses selection and registration, study¬ing and leaves of absence, and assistance to slow learning students. Other functions should also be stepped up. 4. According to the advisory program, student advisors selection should be administered under the recommendation of the academic department. Seminar session should be provided as a prepara¬tion for student advisors before they were put on duty. Preparation should be effected in advance of advisor' taking up the job by way of seminars. Seminar sessions should be arranged both within and between colleges. Each student advisor should be responsible for 10-15 students through their graduation. 5. The important problems of student advisors were : most students were not interested in Home Room Program, student advisors had not enough time for students because they had to do both teaching and other extra functions, student advisors could not know all of their advisees well because they had no opportunities to teach them all. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17644 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
La-or_Ch_front.pdf | 408.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
La-or_Ch_ch1.pdf | 430.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
La-or_Ch_ch2.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
La-or_Ch_ch3.pdf | 382.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
La-or_Ch_ch4.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
La-or_Ch_ch5.pdf | 692.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
La-or_Ch_back.pdf | 544.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.